วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

5 เครือข่ายต่อต้านโรงไฟฟ้าใหม่ในแผน PDP

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4080

5 เครือข่ายต่อต้านโรงไฟฟ้าใหม่ในแผนPDP

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย หรือ PDP (Power Development Plan 2007) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้ความเห็นชอบในวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมานี้ว่า ในระหว่างการสัมมนาได้มีแกนนำต่อต้านโรงไฟฟ้า 5 กลุ่ม ได้แก่ เครือข่ายอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรม, กลุ่มต้านโรงไฟฟ้าหนองแซง จังหวัดสระบุรี, กลุ่มเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก, เครือข่ายต่อต้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน-นิวเคลียร์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร และกลุ่มพลังไท เข้ายื่นหนังสือต่อ นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน เพื่อให้ยุติก่อสร้างโรงไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (IPP) และโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)

ทั้งนี้ ข้อเสนอส่วนใหญ่ในที่ประชุมให้รับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) กับ ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก (VSPP) เข้าระบบมากขึ้น นอกจากนี้ยังเสนอ

ให้นำการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (demand side management : DSM) บรรจุอยู่ในแผน PDP ด้วย

สำหรับแนวทางการนำ DSM เข้ามาในแผน PDP ควรจะต้องมีการการประเมินตัวเลขทางเศรษฐกิจให้รอบคอบ เนื่องจาก PDP ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ใช้ตัวเลข GDP เติบโตที่ร้อยละ 2 เป็นฐาน ซึ่งตามความเป็นจริง GDP อาจต่ำกว่านี้มาก ทั้งนี้เพื่อให้การพยากรณ์มีความแม่นยำมากขึ้น

ขณะเดียวกันที่ประชุมยังได้มีการกล่าวถึงโรงไฟฟ้าใหม่ ที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ถูกระบุไว้ในแผน PDP มีข้อสงสัยว่า จะเป็นการเปิดทางให้บริษัทลูกของ กฟผ.คือ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO เข้ามาก่อสร้าง โดยไม่ผ่านขั้นตอนการประมูล และมีความเป็นไปได้หรือไม่ ในประเด็นผลประโยชน์

ทับซ้อนจากการที่ผู้บริหารกระทรวงพลังงานเป็นทั้งกรรมการใน กฟผ.และบริษัทเอกชนดังกล่าว

ในประเด็นนี้ผู้บริหารของกระทรวงพลังงาน กฟผ. และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้ชี้แจงว่า การนำโรงไฟฟ้าที่อำเภอขนอมเข้าระบบนั้น เพื่อมารองรับ

โรงไฟฟ้าขนอมชุดที่ 1 ที่สัญญาซื้อขายไฟฟ้าจะหมดอายุลงในปี 2559 เนื่องจากความต้องการไฟฟ้าในภาคใต้เพิ่มขึ้น

อย่างต่อเนื่อง ประมาณ 200 เมกะวัตต์/ปี นอกจากนี้ยังเพื่อมารองรับการใช้ก๊าซธรรมชาติจากโรงแยกก๊าซที่อำเภอขนอม เนื่องจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบริเวณดังกล่าวไม่ต้องก่อสร้างท่อก๊าซฯ และยังได้ก๊าซหุงต้ม (LPG) เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้เพิ่มเติมด้วย ขณะเดียวกันยังยืนยันว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะต้องผ่านการประมูล และการเจรจาต่อรองราคาเหมือนกับโครงการ IPP รายอื่นๆ ด้วย

หน้า 6 http://matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02inv02160252&day=2009-02-16§ionid=0203

ไม่มีความคิดเห็น: