วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551

วัดดอยสะเก็ด อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่




ภาพฝาผนังวัดดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่





http://www.ictforall.org/







ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน : Information and Communication Technology for All (ICT for All)
ผู้ประสานงานโครงการ นายทศพนธ์ นรทัศน์ (HS4HNL)
ตู้ ปณ.2 ปณฝ.ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10401
โทร. 08-1261-0726
e-Mail: webmaster@ictforall.org, hs4hnl@msn.com Website: www.ICTforALL.org

วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2551

การใช้ SOA เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศไทย

อบรม / สัมมนา > การใช้ SOA เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศไทย > รายชื่อผู้ร่วมโครงการ




รายชื่อผู้ร่วมโครงการ "การใช้ SOA เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศไทย "
ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง บริษัท E-mail Telephone Fax
1 p p aaaa ทดสอบ thongrin.yi@sipa.or.th 111 111
2 พงศ์ภัค ชีวกมล นักประมวลผลข้อมูล 8 การไฟฟ้านครหลวง pongpuk.c@mea.or.th 081-4413508
3 Bunyarit Poksuput Project Manager ThaiQuest bunyarit@thaiquest.com 02-6514747
4 Suwit Wimolsinlapawinyoo J2EE/Java Programmer DPR. computer omega-z@hotmail.com 085-8078657
5 Alongkot Parivudhiphongs General Manager Genxas Co., Ltd. alongkot@genxas.com 027193600 027193600
6 Rassarin Chinnachodteeranun Project Researcher AIT rassarin@ait.ac.th 085845533
7 Rassarin Chinnachodteeranun Project Researcher AIT rassarin@ait.ac.th 085845533
8 MULLICAH HONGRATH ASSISTANT VICE PRESIDENT THE GOVERNMENT SAVINGS BANK mullicah@gsb.or.th 022998000 ext 040708 022785951
9 Amornrudee Taweesaksakul Assistant Vice President Government Savings Bank amornrudeet@gsb.or.th 0896800424
10 nittaya saorerk assistant vice president government savings bank nittayas@gsb.or.th 02-2998000 ext. 040118
11 kaewkarn limreungwutthikul Vice President Government Savings Bank kaewkarnl@gsb.or.th 02-2999146
12 Dr.Sasiporn Usanavasin Director of Master of Science Program in Software Sripatum University sasiporn.us@spu.ac.th 084-6241828 02-579-1111 ext. 1159
13 Ms.Suwanit Rungratri Instructor Ratchaphat Pranakorn Sri Ayutthaya University suwanit_r@hotmail.com 081-9486735
14 RENU KITKASEM Senior Vice President Government Savings Bank renuk@gsb.or.th 022999130 - 1
15 ปาณิตา ธูสรานนท์ อาจารย์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ panita@it.dpu.ac.th 083-881-2489 02-589-1140
16 พงษ์ศักดิ์ ไผ่แดง อาจารย์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ pongsak@it.dpu.ac.th 081-692-2762 02-589-1140
17 โสภัชย์ ชวาลกุล นายสัตวแพทย์ ๘ วช กรมปศุสัตว์ sopat_c@yahoo.com 0891635131
18 เยาวเรศ จำจด รองผู้อำนวยการฝ่าย นาคารออมสิน yaovaresj@gsb.or.th 02-2999133, 0812568726 02-2999132
19 Thanakorn Yingyuen Deputy Managing Director DINI-IT company limited send2leader@gmail.com 089-512-4308
20 Weera Chidchob Manager Niva Technologies khamairdoy@hotmail.com 024278965 024272311
21 รุ่งโรจน์ เจริญชัยกรณ์ IT Manager SF Cinema City Co., Ltd. rungrote@sfcinemacity.com 02-611-7111 02-6260448
22 Krit Sae-Tan Senior Analyst AS&C svgrid@gmail.com 081-494-6067
23 สุดเขต เชยกลิ่นเทศ ผู้จัดการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักส่งเสริมเครือวิสาหกิจคอมพิวเตอร์ sutkhet_c@ccp.or.th 081-1741577 02-5647333
24 สุทธิพงศ์ สุวนิช Programmer, Software Developer Mobus Co.,Ltd jun@mobus.co.th 0860676740
25 Pramual Buddha IT Manager Mobile Game Motion Co.,Ltd. pramual@mogamo.com 0891113052
26 Pramual Buddha IT Manager Mobile Game Motion Co.,Ltd. pramual@mogamo.com 0891113052
27 กัลยาภัทร อุดมสิน Senior System Analyst V-Smart Co., Ltd. kalayaphat@v-smart.com 02-3199120-1#210 02-3199119
28 สรัลพร พุทธา นักศึกษา มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี mydreamwhite@gmail.com 0865547325 -
29 Dechawan Kerdbouthond Applicationv Aechitect The Government Savings Bank daychawan@hotmail.com 0867553444
30 Kesawan Teeraganond Government Officer GSB kesawan@hotmail.com 0897883888
31 Dr. Prapoj Srinurattiwong Managing Director Score Solutions Co.,Ltd prapoj@scoresolutions.co.th 02 9389622 02 9389623
32 Dr. Prapoj Srinuwattiwong Managing Director Scoresolutions prapoj@scoresolutions.co.th 02 9389622 02 9389623
33 Nattapol Bhumimas Director of Business Solutions Score Solutions Co.,Ltd nattapol@scoresolutions.co.th 02 9389622 02 9389623
34 Bundit Chuboonsub Operation Manager Score Solutions Co.,Ltd bundit@scoresolutions.co.th 02 9389622 02 9389623
35 Arun Yodyana Senior ICT Consultant NONE aruny.th@gmail.com 089-8876258 025326328
36 ปริญญา สิริเเสง นักศึกษา - Jnosis.S@hotmail.com 024633870
37 Mr.Triporn Nuchoy Programmer NSTDA Online Learning Project plyya@hotmail.com 08-5174-6808
38 ดนุพล สยามวาลา Chief Executive Office ICE Solution danupol@icesolution.com 0-2233-1484 0-2233-1481
39 นิพนธ์ แซ่เจีย Asst. Technology Consultant Manager ICE Solution nipon@icesolution.com 0-2233-1484 0-2233-1481
40 Prasert Aphinaiprasit IT Site Support Manager DHA Siamwalla Ltd. prasert@dhas.com 0-2237-0500
41 ประสงค์ ปราณีตพลกรัง อาจารย์ โรงเรียนนายเรืออากาศ prasongspu@yahoo.com 081-910-6125, 02-534-4484 02-991-5030
42 ดวงใจ จิตคงชื่น อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ luk_mai@hotmail.com 0-2954-7300 #385 0-2589-1140
43 ศรัณย์ อินทโกสุม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง kisarun@kmitl.ac.th 023264111 ต่อ 3617 023264341 ต่อ 284
44 ratchakoon pruengkarn Instructor Dhurakij Pundit University ratchakoon@hotmail.com 0894542007,029547300 ต่อ 670
45 Chana Prechamanitkul IT TISTR chanacom@yahoo.com 0-2577-9132
46 Kangsadan Keeratiwongwanit Manager Navakij Insurance Public Company kangsadan_k@navakij.co.th 02-6367900 ext.1834
47 Poramate Piansalaul Director Sripatum University Poramate.pi@spu.ac.th 089-8213824 02-5797925
48 Preechachan Choolikorn Senior Manager Advanced Research Group co.,Ltd. preechachan@ar.co.th 0-2682-6379 ,0-2682-6380 ต่อ 115 0-2682-6378
49 Preechachan Choolikorn Senior Manager Advanced Research Group co.,Ltd. preechachan@ar.co.th 0-2682-6379 ,0-2682-6380 ต่อ 115 0-2682-6378
50 อ.วฤษาย์ ร่มสายหยุด อาจารย์ มหาวิทยาลัยสยาม walisar@gmail.com 024570068 ext. 210 024573942
51 วิทิดา จงศุภชัยสิทธิ์ อาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี vithida@sit.kmutt.ac.th 024709898
52 แก่นจันทร์ ธรรมรักษ์ นักศึกษาและนักวิจัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง thkanchan@hotmail.com 0863100332 -
53 Anan Thitikul Acting Assistant Vice President PCC anan@pccth.com 0818438757, 022728692 026173697
54 สมิทธิ สุนทรนิทัศน์ ผู้จัดการ Simplflex smittis@gmail.com
55 ชัชวาลย์ ไพรรุ่งเรือง - - chatchavan2003@hotmail.com 0858195758
56 Nutthee Srihajak System Analyst EASYBUY PCL nutthee@easybuy.co.th 026329800 ext. 1526
57 อ.นลินรัตน์ วิศวกิตติ อาจารย์ มหาวิทยาลัยสยาม nalinrat.wit@gmail.om 024570068 ext. 210 024573962
58 Chaisak Chitcharoen Acting Director, BBA. (English Program) Kasem Bundit University chaisak34@yahoo.com 02-320-2777 ต่อ 1321 02-321-4444
59 นาย อภิลักษณ์ รัตนะเศรษฐี Programmer IBMSD gama_107@hotmail.com จคุ/ถตภถ
60 Watchara Chiamchit Programmer Analyst IBM Solution Delivery yoh300@hotmail.com 0819181743
61 จรรญา พรหมเพศ System Analyst True Touch chanya999@hotmail.com 089-9707127 026421779
62 วีรยุทธ บุญนิธิไพสิฐ System Analysis True Corporation rvdpop@hotmail.com 083 495 6757
63 Nongyao Pankong Lecturer Thuksin University nanny_kmutt@hotmail.com 0814437353
64 Monruedee Tupkwa Programmer Synesis Placement Solutions Co., Ltd. kanogporn@synesis.co.th 022841320 026835507
65 Rachadaporn Chumpasri Programmer Synesis Placement Solutions Co., Ltd. kanogporn@synesis.co.th 022841320 026835507
66 Pongsak Gransumran Application Engineer Consultant Fujtsu Systems Business(Tahiland) LTD. peter_conair@yahoo.com 089-7023345
67 Pattama Charoenporn Teacher Faculity of Science and Technology , Rajamankala U popattama@hotmail.com 089-2016872
68 ปรียานันท์ เชียร์สมสุข Programmer IBMSD annch@hotmail.com 089-8133775
69 Pornpan Phumcharoen Programmer analyst Teleinfomedia pornpan@teleinfomedia.net 0898876018 022628178
70 Pornsri Harinprakorn Programmer Analyst Teleinfo Media Pubilc Company Limited pornsrih@teleinfomedia.net 0892328855
71 Phattranit ธ้รยหีทฟสฟร Web Developer Teleinfomedia phattranit@teleinfomedia.net 02-2262-8159 02-2262-8178
72 Piyanuch Senpakdee Programmer TELEINFO MEDIA PUBLIC COMPANY LIMITED Piyanuch@teleinfomedia.net 022628157
73 Benjamaporn Kaewkum Programmer Teleinfomedia benjamapornk@teleinfomedia.net 0-2262-8160 0-2262-8899
74 นาย อภิชาติ หาจัตุรัส อาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม apichart.h@gmail.com 0863036104 025138052
75 ดรุณี สุทธนู โปรแกรมเมอร์ สมาร์ทไฟเดอร์ darunee29@hotmail.com 024226780 024226781
76 พนิดา ถาแก้ว senior programmer Smart Finder Co.,Ltd. pthakaew@hotmail.com 089 1091008 02 4226781
77 บุญฤทธิ์ บุญอินทร์ โปรแกรมเมอร์ สมาร์ท ไฟน์เดอร์ จำกัด boonrit@smartehotel.com 0894810672
78 Sobree Maenchi Java Developer Mobile Game Motion Co.,Ltd. sobree_sbr@hotmail.com +66840694490
79 Sorapak Pukdesree Lecturer Bangkok University sorapak@gmail.com 023503500 023503500
80 Waranya Poonnawat Assoc.Prof. School of Science and Technology, STOU staspwar@stou.ac.th 025048285 025034932
81 กตัญญู แสนเขื่อนแก้ว เจ้าหน้าที่อวุโส CPF katunyoo.s@cpf.co.th 0811858774
82 อัจฉรา จันศรี ผู้จักการแผนกระบบสารสนเทศ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร c_achara@hotmail.com 0863280185
83 นายธานี รักษาสุธี GIS Application Integrator ESRI (THAILAND) CO.,LTD. thanee.r@cdg.co.th 0-2678-0707 0-2678-0321-3
84 พัชราภรณ์ โพธิสิทธิ์ GIS Application Developer ESRI (THAILAND) CO.,LTD. patcharaporn.p@cdg.co.th 0-2678-0707 0-2678-0321-3
85 อุทัย กันยาประสิทธิ์ Programmer CPF aehcu@hotmail.com 0840189295 -
86 ธนวัฒน์ นิ่มตระกูล Programmer CPF tanawatt@hotmail.com 0866572209 -
87 ฐิติรัตน์ วิยะรัตน์ IT manager Pantainorasingh Manufacturer Co. Ltd. thitirat@pantainorasingh.com 0816379293 034-8144028
88 Kanyarat Lapphanasurakun Student KMUTT lookmeaw_kitten@hotmail.com 085-234-7770
89 Thanarat Chalidabhongse Assistant Prof KMITL
90 Sompoch Bunniyom Program Analyst GISSoft Co.,Ltd sompoch.b@gissoft.co.th 02-636-8450:414 02-6368324
91 Jutharat Doomklang Program Analyst GISSoft Co.Ltd. jutharat.d@gissoft.co.th 02-636-8450:408 02-636-8324
92 ทองปลิว จำเนียร Technical Team Leader Progress Software thongplew.j@kasikornbank.com 080-5950060 02-2672986
93 อนันตกุล อินทรผดุุง อาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร anantakul@gmail.com 089-8136171 025226637
94 Suwimol Chuachanwong Educator Freelance Chun1951@hotmail.com 08 3986 8084
95 นายชัยทศ จำเนียรกุล อาจารย์ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ chaiyatos@yahoo.com 0897979575
96 Saprung Suvapiromchote Executive Management (AVP) CPF IT CENTER Co., Ltd.. saprung@cpf.co.th 089 1180 890
97 ตรัสพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ ผศ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ trasapon@gmail.com 053-942024 Ext 205 053-942072
98 ศรีสุภา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา อาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ccspl@mahidol.ac.th 0850229502
99 มาลินี เทพเลิศบุญ TL bki malinee@bki.co.th 02-2857843
100 Vacharaporn Suriyabhivadh Associate Professor Chulalongkorn University Vacharaporn@acc.chula.ac.th 089 122 7144, 02 218 5660 02 218 5650 02 218 5652
101 ปิยพร นุรารักษ์ อาจารย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช stasnpiy@stou.ac.th 02-5048191, 0818300664
102 ภิรมย์ คงเลิศ อาจารย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช pirom.konglerd@gmail.com 025048191
103 Songsri Tangsripairoj Instructor Mahidol University Computing Center ccsts@mahidol.ac.th 023544333 023547333
104 จินดาพร ภูมิไชยา นักศึกษา มจธ. day_gril17@hotmail.com 0802987109
105 Jirasak Lertchaiyutthapong Instructor Udon Thani Rajabhat University jirasaklert@yahoo.com 0847438119 -
106 Jirasak Lertchaiyutthapong Instructor Udon Thani Rajabhat University jirasaklert@yahoo.com 0847438119 -
107 อรรถพล พาณิชย์จิระสกุล Programmer Krungthai Computer Services uttapon.panichjirasakul@kcs.co.th 089-043-5300
108 สุนันท์ นุชประมูล Managing Director Picture Cell CoLtd. nouchpramool@yahoo.com 0936033159
109 สุมนา ตรงตรานนท์ ผู้จัดการ บมจ.กรุงเทพประกันภัย sumana@bki.co.th 02 2857841 -
110 ศิริมา วรรณา ผู้ช่วยผู้บริหารทีม กรุงเทพประกันภัย SIRIMA@BKI.CO.TH 0891192313
111 Surakit Jirasant Programmer Bangkok Insurance PCL. surakit@bki.co.th 022857849
112 nattaya pikunkam อาจารย์ประจำ bangkok university netty_oui@hotmail.com 0897800060 023189944
113 ทรงวุฒิ แพสมหวัง อาจารย์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ songwutp@hotmail.com 0812978761
114 สิริรัตน์ มัชฌิมาดิลก คอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม sirirat.mu@spu.ac.th 025791111 # 2206 025791111 # 2196
115 จินดา บุญลาภทวีโชค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซัมมิท คอมพิวเตอร์ จำกัด jinda@summitthai.com 0-2238-0895-9 0-2236-7392
116 wanna yanwattana software engineering satyam wanna.yanwattana@gmail.com 0819861719
117 ดวงพร ชดช้อย Technical Consultant Summit Computer Co.,Ltd. tukta_tcg@summitthai.com 0-2238-0895-9 0-2236-7392
118 Suttathip Lueangburanawat Application manager Soft Square International suttathip_l@softsquaregroup.com 029972000
119 Theera Lamprasert Software Engineer Softsquare 1999 Co,Ltd. theera_l@softsquaregroup.com 029972000 # 2181 029972001
120 Suthida Goollawatanaporn Researcher NECTEC suthida@nectec.or.th 025646900 025646772
121 ทัศนีย์วรรณ์ ศรีประดิษฐ์ อาจารย์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช stasstus@stou.ac.th 025048290
122 Jidapa Archanainant IT AACP Jidapa.a@aacp.co.th 02-305-7729
123 lerswat subtassetee system analyst irrica software lerswat@gmail.com 086-337-3978
124 Manas Songkittichok Senior Technical consultant Information Enterprise manas_s@i-en.co.th 025870777
125 Sirisuda Buatongkue Lecturer Burapha University buaja@yahoo.com 0867919673
126 thatchai pariwatvorn Mkt Manager PCC thatchai_p@hotmail.com 081-636-6721
127 Mr.Sumate Charoenseang Marketing Manager Procoff Co.,Ltd. chsumate@hotmail.com 0858438800
128 Tanong Chokpipiatthavee - Chulalongkorn tanong.c@student.chula.ac.th 081-9113611
129 Pudsadee Boonrawd Lecturer KMUTNB pudsadee@yahoo.com 0877152929 029122019
130 TAWATCHAI PERDPUNYA Managing Directer Softproduct tawatchai@softpro2000.com 02-9901183-6 02-9901181
131 อ.สรายุทธ อินทรเสมา อาจารย์ ม.สยาม sarayut@siamu.ac.th 024570068 ต่อ 210
132 จักวาล สร้อยทอง ฝึกงาน KP SOFT CO.,LTD engineer_2548@hotmail.com 022193581 022193583
133 พิทักษ์ ธิราช ฝึกงาน KP SOFT CO.,LTD. shevchenko_go@hotmail.com 022193581 022193583
134 เทอดศักด์ ตั้งสกุล Programmer KP SOFT CO.,LTD. 'terdsak@kpsoft.co.th 022193581 022193583
135 มิติ ศุภวัสจิระวัฒน์ System Analyst KP SOFT CO.,LTD. miti@kpsoft.co.th 022193581 022193583
136 โชคชัย ศรสัมพันธ์ โปรแกรมเมอร์ cpf-it center chokchai.s@cpf.co.th 086-5060808
137 อัญกิจ เติมสุขนิรันดร ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโปรแกรม ซีพีเอฟ ไอทีเซ็นเตอร์ จำกัด anyakit@cpf.co.th 02-625-7850 -
138 Tharwwon Arnuphaptrairong Assistant Professor Dept. of Statistics, Chulalong korn University tharwon@acc.chula.ac.th 022185667 022185652
139 Phisetphong Suthaphan ื- - suthaphan_phi@yahoo.com 0815338882
140 พฤกษชาติ ชาติรังสรรค์ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยพิษณุโลก pleksa@hotmail.com 084-6888977 055-303411
141 Wannee Ratchatasombat Vice President AACP wannee.r@aacp.co.th 02-3057706, 089-1263211
142 รักษารัตน์ ขนานขาว Web Developer Boonrawd Bewry CO.,LTD ruksarat@hotmail.com 0860070133
143 Sittidej Kuwarewong Manager Datapro Computer Systems Co.,Ltd. sittidej.k@dcs.premier.co.th 02-301-2800 02-301-2802
144 Charuwan Poomgade Assistant General Manager Datapro Computer Systems charuwan.p@dcs.premier.co.th 02-301-2800 02-301-2802
145 Mr. terdsak tangsakul r&d manager kp soft.co.,ltd. terdsak@kpsoft.co.th 0816299681
146 ๋Jedsada Phengsuwan Assistant Researcher NECTEC jedsada.phengsuwan@nectec.or.th 02-5646900 ext 2279
147 fd gfd dfg df fff@dd.com 686666666
148 Nat Kanjanasiri teacher Chulalongkorn University Nat.K@Chula.ac.th 0-2218-6905 0-2218-6912
149 ดรใสทจารี ปรียานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาสถิติ จุฬาฯ somjaree@acc.chula.ac.th 022185654 022185652
150 Pensri Vajanapanich General Manager Datapro Computer Systems Co.,Ltd. pensri.v@dcs.premier.co.th 02-301-2800 02-301-2802
151 บดินทร์ คูตระกูล Software engineer CPF IT Center Bardin.K@cpf.co.th 0891455080
152 Daecha Pramoolsil Software Engineer CPF IT Center daecha.p@cpf.co.th
153 Sukanya Benjavanich Instructor UTCC ajarnsukanya@yahoo.com 02-697-6506
154 Kunkerati Lublertlob นักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ka_tsuo@hotmail.com 086-6003019
155 Phuvanat Wonganu Student Chulalongkorn University hunterpooh@hotmail.com 0819992471

เทพกีต้าร์ปากกามาร


http://webboard.wongnamcha.com/index.php?topic=210.msg6841;topicseen

มหกรรมกระบวนกรครั้งที่ 7 : รวมพลกบฎ



วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2551

5 รัฐมนตรีคนดังโอนหุ้นอุตลุด หวั่นขัดกฎหมายถือหุ้นเกิน5%

วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3993 (3193)

5 รัฐมนตรีคนดังโอนหุ้นอุตลุด หวั่นขัดกฎหมายถือหุ้นเกิน5%

ตะลึง ! 5 รัฐมนตรี ครม.หมัก ผ่องถ่ายหุ้นอุตลุด หนีปมหุ้นเกิน 5% ก่อนยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. แฉ "เสธ.หนั่น-อนุสรณ์" โอนให้ลูก "เจ๊หวี" โอนหุ้นธุรกิจนายหน้าให้เครือข่ายคดีเงินกู้ 45 ล้าน "สมศักดิ์-สมพัฒน์-พงศกร" โอนให้ญาติ พี่เมีย ขณะที่ ป.ป.ช.เตรียมชี้ชะตาเก้าอี้ "วิรุฬ เตชะไพบูลย์" เร็วนี้

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า นอกจากรัฐมนตรีรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช 2 คน คือนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีปัญหากรณีถือครองหุ้นเกิน 5% โดยไม่แจ้งต่อประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ภายใน 30 วัน จนนำไปสู่การชี้ขาดจากคณะกรรมการ ป.ป.ช.ว่านายไชยาขาดคุณสมบัติจากความเป็นรัฐมนตรี ขณะที่กรณีนายวิรุฬอยู่ระหว่างการตรวจสอบของ ป.ป.ช.

นอกจากรัฐมนตรีข้างต้น จากการตรวจสอบของ "ประชาชาติธุรกิจ" พบ รัฐมนตรีอย่างน้อย 5 คนผ่องถ่ายการถือครองหุ้นของตนเองและคู่สมรส ไปให้เครือญาติและบุตรที่บรรลุที่นิติภาวะแล้วก่อนรับตำแหน่งรัฐมนตรี ได้แก่

1.พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช.ตอนเข้ารับตำแหน่ง ส.ส.วันที่ 22 มกราคม 2551 แจ้งว่าตนเองและภริยามีหุ้น 18 รายการ รวม 8.2 ล้านบาท แต่ตอนยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตอนรับตำแหน่งรองนายกฯ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 ว่ามีเงินลงทุนเหลือเพียง 156,660 บาท

จากการตรวจสอบ พบว่าก่อนรับตำแหน่งรองนายกฯ พล.ต.สนั่นได้โอนหุ้นให้บุตรและบุคคลใกล้ชิด อาทิ หุ้นบริษัท ไทยแอร์เซอร์วิส จำกัด (นายหน้า) จำนวน 150 หุ้น มูลค่า 150,000 บาท โอนไปให้นายวุฒิศักดิ์ อินทรภูวิศักดิ์ นักธุรกิจกลุ่มบริษัท รอยัลลานนาทาวเวอร์ จำกัด (เจ้าของเงินกู้ 45 ล้านบาท), หุ้นบริษัท น้ำดื่มบงกช จำกัด จำนวน 2,500 หุ้น มูลค่า 250,000 บาท (คิดเป็น 25% จากทุนจดทะเบียนรวม 1 ล้านบาท หรือ 10,000 หุ้น) โอนไปให้นางสาวบงกชรัตน์ ขจรประศาสน์ บุตรสาว, หุ้นบริษัท ขจรฟาร์มรีสอร์ท จำกัด จำนวน 2,500 หุ้น มูลค่า 250,000 บาท (คิดเป็น 25% จากทุนจดทะเบียนรวม 1 ล้านบาท) โอนไปให้นางสาวบงกชรัตน์ ขจรประศาสน์ เป็นต้น

2.นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตอนเข้ารับตำแหน่ง ส.ส.วันที่ 22 มกราคม 2551 แจ้งว่าตนเองและคู่สมรสมีเงินลงทุนรวม 144.3 ล้านบาท แต่ตอนยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตอนรับตำแหน่งรองนายกฯ แจ้งว่ามีเงินลงทุน 120.4 ล้านบาท

จากการตรวจสอบ พบว่านายอนุสรณ์ได้โอนหุ้นที่มีสัดส่วนเกิน 5% ไปให้บุตรชาย อาทิ หุ้นบริษัท เทพวงศ์ จำกัด จำนวน 1,260 หุ้น (จากหุ้นทั้งหมด 36,000 หุ้น หุ้นละ 1,000 บาท) โอนไปให้นายปราชญ์ วงศ์วรรณ บุตรชาย 460 หุ้น, หุ้นบริษัท เกษตรกรรมสมบูรณ์แบบ จำกัด จากเดิมนายอนุสรณ์ กับนางสมรศรี ภริยา ถือคนละ 4,000 หุ้น (คิดเป็น 6% จากหุ้นทั้งหมด 60,000 หุ้น) โอนไปให้นายปราชญ์คนละ 3,000 หุ้น รวม 6,000 หุ้น, หุ้นบริษัท อัศวินการโยธา จำกัด จำนวน 5,000 หุ้น (จากจำนวนทั้งหมด 100,000 หุ้น หุ้นละ 100 บาท) โอนไปให้นายปราชญ์, หุ้นบริษัท เชียงใหม่อินเตอร์วัสดุ จำกัด นางสมรศรีถือจำนวน 2,000 หุ้น (20% จากทั้งหมด 10,000 หุ้น หุ้นละ 100 บาท) โอนไปให้นายปราชญ์, หุ้นบริษัท เวิลด์ โทแบคโค โปรดักส์ จำกัด จำนวน 600 หุ้น (30% จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 2,000 หุ้น) โอนไปให้นายปราชญ์

3.นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แจ้งต่อ ป.ป.ช.ตอนรับตำแหน่ง ส.ส.ว่า ได้โอนหุ้นใน หจก.โรงสีวิเศษชัยชาญเจริญกิจ ไปให้เครือญาติเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2551

4.นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ แจ้ง ป.ป.ช.ตอนเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่ามีเงินลงทุนร่วมกับนางกนกวลี ภริยา รวม 23.2 ล้านบาท อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวพบว่าก่อนหน้านี้นายสมพัฒน์ได้โอนหุ้นเกือบทั้งหมดไปให้เครือญาติ อาทิ หุ้นบริษัท ดาวอรพรรณ จำกัด จำนวน 249 หุ้น มูลค่า 747,000 บาท โอนไปให้ พ.ต.สินธพ แก้วพิจิตร น้องชาย, หุ้นบริษัท สหพัฒน์พันธ์ จำกัด จำนวน 500 หุ้น มูลค่า 500,000 บาท โอนไปให้ พ.ต.สินธพ แก้วพิจิตร, หุ้นบริษัท นครปฐมยนตรภัณฑ์ จำกัด จำนวน 800 หุ้น (จากจำนวนทั้งหมด 10,000 หุ้น) โอนไปให้ พ.ต. สินธพ แก้วพิจิตร, หุ้นบริษัท ซีรีส์ จำกัด จำนวน 999 หุ้น (จากทั้งหมด 10,000 หุ้น) โอนไปให้นางจรินพร เสนีวงศ์ ณ อยุธยา น้องสาว เป็นต้น โดยนายสมพัฒน์ได้แจ้งต่อ ป.ป.ช.ว่า เป็นการซื้อขาย

5.นายพงศกร อรรณนพพร ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตอนรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ว่า มีเงินลงทุนร่วมกับนางดวงแข อรรณนพพร ภริยา เพียง 296,405 บาท ก่อนหน้านี้นางดวงแขยื่นบัญชีตอนเข้ารับตำแหน่ง ส.ส.ขอนแก่น วันที่ 22 มกราคม 2551 แจ้งว่าตนเองและคู่สมรสมีเงินลงทุนรวม 30.2 ล้านบาท

จากการตรวจสอบพบว่า ก่อนรับตำแหน่งรัฐมนตรี นายพงศ์กรและนางดวงแขได้โอนหุ้นบริษัท ขอนแก่นมิลเลนเนียม กอล์ฟ แอนด์ คันทรี คลับ จำกัด จำนวน 29,499 หุ้น (จากจำนวนทั้งหมด 30,000 หุ้น) ไปให้นางสาวเบญจมาศ นันทวีรวัฒน์ พี่สาวนางดวงแข และโอนหุ้น หจก.อรรณนพพร (1991) มูลค่า 500,000 บาท (จากทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท) ไปให้นางสาวเบญจมาศอีกเช่นกัน

แหล่งข่าวจากสำนักงาน ป.ป.ช.เปิดเผยว่า กรณีการถือครองหุ้นเกิน 5% ของนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะประชุมเพื่อพิจารณากรณีดังกล่าวในเร็วๆ นี้ ในรายละเอียดแตกต่างจากกรณีนายไชยา สะสมทรัพย์ เพราะนายวิรุฬเป็นการถือครองหุ้นของตนเอง และไม่เแจ้ง ป.ป.ช. ส่วนนายไชยาเป็นหุ้นของภริยา และแจ้งล่าช้ากว่ากฎหมายกำหนด

หน้า 1

ปัญหาลอกเลียน ก่อนซีไรต์ 2551 โดย รอย ปีเตอร์ คลาร์ก

วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10997

ปัญหาลอกเลียน ก่อนซีไรต์ 2551

รายงาน

โดย รอย ปีเตอร์ คลาร์ก



ช่วงนี้ในแวดวงวรรณกรรมมีเสียงวิพากษ์หนาหู ถึงผลงานที่ส่งเข้าชิงชัยสนามซีไรต์ในปีนี้อย่าง เวลาล่วงผ่านอุโมงค์ ของ วิภาส ศรีทอง นักเขียนแนวฮาร์ดคอร์ ซึ่งเป็นที่จดจำในฐานะของผู้สร้างสรรค์ แมวเก้าชีวิต เรื่องสั้นแนวเมจิกคัลเรียลลิสต์รายแรกๆ ของแวดวงวรรณกรรมไทย

เพราะมีนักเขียนและนักวิจารณ์กลุ่มหนึ่ง ได้อ่านรวมเรื่องสั้นเล่มนี้และพบว่า มีเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งที่ชื่อ W.S.6 Sept. ที่ยิ่งอ่านก็ยิ่งให้ความรู้สึกคล้ายๆ กับเรื่อง Peeling จากหนังสือ The Fat Man in History ของ Peter Carey นักเขียนรางวัล Booker Prize ชาวออสเตรเลียเหลือเกิน จึงยกหูโทรศัพท์นัดหมายเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ถึงความน่าจะเป็น

และพบว่าความคลับคล้ายคลับคลาช่างมากมาย

ทั้งในแง่ของสัญลักษณ์ที่แม้ว่า W.S.6 Sept จะเปรียบเปรยด้วยรูปปั้น และ Peeling เสนอผ่านตุ๊กตาสีขาว แต่ทั้งคู่ก็ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงการกะเทาะเปลือกที่ห่อหุ้มความเป็นมนุษย์, การพรรณนาบุคลิกลักษณะของตัวละครเด่นทั้ง 2 อากัปกิริยา รวมถึงภูมิหลังที่ไม่ธรรมดาของทั้งคู่, ความหม่นทึมในเรื่องราวที่ค่อยๆดำเนิน และกลวิธีการเล่าเรื่องตั้งแต่ต้น กลาง จนจบ และที่สำคัญคือการคลี่คลายในจุดไคลแมกซ์ของเรื่อง

ซึ่งคงต้องใช้คำว่าคล้ายคลึง อย่างนี้

I am compelled to use force.I grasp the earring and pull it away.It is not,it would appear,an earring at all,but a zip or catch of some sort As I pull,her face,then her breasts,peel away.Horrified,I continue to pull,unable to stop untill I have stripped her of this unexpected layer

Standing before me is a male of some twenty odd years.His face is the same as her face,his hair the same.But the breasts have gone,and the hips;they lie in asoft spongy heap on the floor beside the discarded pendant

She (for I must,from habit,continue to refer to her as "she") seems as surprised as I am.She takes her penis in her hand,curious, kneading it,watching it grow.I watch fascinated.....

เขาปัดมือเธอออก แล้วเกร็งนิ้วแยงเข้าไปในร่องบุ๋ม นิ้วชี้แทงทะลุผิวนอกฉีกขาดโดยไม่ต้องออกแรงอะไรมากมาย นิ้วมืออีกข้างสอดตามเข้าไป ก่อนจะแหวกรอยแผลออกจากกัน รอยแยกกินไปตามเนื้อผิว กลางลำตัวราวกับมีแนวตะเข็บซ่อนใน เขาแทบลืมหายใจ ขณะสองมือแหวกผิวแยกจากกันไม่ผิดกับการแกะกระดาษหนาตามรอยปรุ ผิวปริแยกตามแนวตั้ง ด้านบนถึงกลางศีรษะ ส่วนด้านล่างถึงเครื่องเพศจนผิวนอกหลุดออกทั้งหมด ไหลลงไปกองตรงปลายเท้า

ร่างตรงหน้ากลับกลายเป็นชายหนุ่มคนหนึ่ง....

เนินถันและสะโพกผายหายไปกับผิวที่ลอกออก หน้าท้องเคยนูนเวลานี้กลับแบนราบ ท่องล่างเผยองคชาติโผล่พ้นปอยขนสีน้ำตาลอ่อน แต่ใบหน้านั้นยังคงเป็นเธอเช่นเดิม กำลังก้มลงสำรวจเรือนร่างของตัวเอง ด้วยความประหลาดใจสุดขีดเช่นเดียวกับศิระ..........

นี่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นจุดกึ่งๆ ไคลแมกซ์ที่ไม่ใช่แค่ทำให้ตัวละครประหลาดใจหรอก คนที่อ่านทั้ง 2เรื่องก็ประหลาดใจไม่น้อยกว่ากัน

ขณะที่ภาคส่วนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนนั้น คือกลิ่นอายบรรยากาศแบบไทยๆ ที่แทรกซึมอยู่ในฉากหลังของออสเตรเลีย และบางเรื่องราวในเนื้อหาเท่านั้น

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของเหตุการณ์ทำนองนี้ในแวดวงวรรณกรรมไทย

เพราะถ้าจำกันได้ การตั้งคำถามถึงเส้นแบ่งระหว่างแรงบันดาลใจเกิดขึ้นหลายคราแล้ว หลังจากที่เกิดกรณีให้ศึกษาถกเถียงกัน อาทิ ผลงานของกันยามาส, กิ่งฉัตร เจ้าของนิยายขายดีที่มักถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ก็เคยมีมือ (ไม่) ดีบางคนนำไปเปลี่ยนนิดเปลี่ยนหน่อยอย่างทิ้งเค้าโครงเดิมให้เปรียบเทียบระหว่างบรรทัดอย่างเต็มที่ รวมถึงงานเขียนที่โพสต์ในอินเตอร์เน็ต อย่างของ คิงเพนกวิน ที่ถูกมือในลักษณะเดียวกัน นำไปดัดแปลงรวมเล่มแล้วเสนอสำนักพิมพ์

และจนวันนี้ก็ยังไม่ได้เลือนหายจากสังคมไทย

แต่ทั้งหมดก็ไม่ได้เป็นคำตัดสินว่า วิภาส ศรีทอง ลอกงาน Peter Carey

เพราะนอกจากจะติดต่อเจ้าตัวเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงไม่ได้แล้วนั้น ความเห็นของนักวิจารณ์ ก็เป็นเพียงความเห็นของปัจเจก ที่ไม่สามารถชี้ชัดได้ในทันทีว่านี่คือแรงบันดาลใจหรือสิ่งใดกันแน่

คงต้องให้คอวรรณกรรมหามาอ่านและพิจารณากันเองตามวิจารณญาณส่วนบุคคล

เป็นคำพิพากษาของสังคมการอ่าน

ทว่าก่อนที่จะถึงข้อสรุปตรงนั้น ในวันอังคารที่ 22 เมษายนที่จะถึงนี้ คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการคุ้มครองลิขสิทธิ์วรรณกรรม ของสำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมีนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ริสรวล อร่ามเจริญ เป็นประธาน ร่วมด้วยนักกฎหมาย นักวิชาการ และนักเขียนกว่า 20 ท่าน ซึ่งมีนายกสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย รศ.ดร.ปราณี ศิริจันทพันธ์ ร่วมอยู่ด้วย จะผลักดันเรื่องนี้ให้เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมเป็นวาระจร

ก็คงจะมีคำตอบให้สังคมในส่วนหนึ่ง

แต่ไม่ว่าผลสรุปจะเป็นยังไง สิ่งหนึ่งที่จะแก้ปัญหาทุกอย่างได้ คือความละอาย ละอายทั้งต่อตนเองและต่อวิชาชีพ

"พระบางรูปละเมิดทางเพศเด็ก พนักงานธนาคารบางคนขโมยเงิน พยาบาลบางคนฆาตกรรมคนไข้ และนักเขียนบางคนกระทำผิดไร้ยางอาย จากส่วนผสมของความตกต่ำทางจริยธรรมและความไร้เสถียรภาพทางอารมณ์ นักเขียนได้ขายวิญญาณแก่ปีศาจสองหัวของการลอกเลียนและการกุเรื่องขึ้นมาเอง"

หน้า 2

ทำไมต้องบอกโอลิมปิกและจีนให้แข่งอย่างยุติธรรม!

ทำไมต้องบอกโอลิมปิกและจีนให้แข่งอย่างยุติธรรม!



ชื่อบทความเดิม: ทำไมต้องบอกโอลิมปิกและจีนให้แข่งอย่างยุติธรรม! Tell Olympic and China to Play Fair!



จรรยา ยิ้มประเสริฐ

โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย








คณะกรรมการโอลิกปิกได้เงินค่าสปอนเซอร์ 866 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (26,864 ล้านบาท) จากสปอนเซอร์ 11 เจ้าระหว่างปี 2547 - 2551 นี่ไม่รวมค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดระหว่างเกมส์ (มูลค่ามหาศาล) ค่าขายตั๋วเข้าชมเกมส์ต่างๆ ซึ่งที่จีนครั้งนี้ประมาณการไว้ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (9,300 ล้านบาท)

Playfair 2008, ไม่มีเหรียญรางวัลสำหรับสิทธิแรงงาน






ประเด็นที่ว่าโอลิมปิกเป็นแค่เรื่องกีฬาไม่ยุ่งการเมืองนั้น ไม่ใช่ความจริงเสียแล้วในปัจจุบัน เมื่อโอลิมปิกเป็นเรื่องของการค้ามหาศาล ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการแข่งขัน ในส่วนที่ประเทศเจ้าภาพจะได้รับทั้งเงินจากนักท่องเที่ยว และชื่อเสียงที่ส่งผลต่อเนื่องยาวนาน รวมทั้งผลประโยชน์ที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลจะได้รับจากค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ และรายได้และผลกำไรจากการขายสินค้าของแบรนด์ที่ได้รับลิขสิทธิ์ และสำหรับนักกีฬาที่มีชื่อเสียงนั้นพวกเขามีค่าตัวมหาศาล ดังดูได้จากจดหมายที่คนงานไนกี้บริษัทผลิตเครื่องกีฬาอันดับหนึ่งของโลก



ในรายงานของเอกสาร “แข่งอย่างยุติธรรมปี 2008” ที่ร่วมกันจัดทำโดยเครือข่ายรณรงค์เพื่อคนงานเครื่องนุ่มห่ม (CCC) สมาพันธ์แรงงานระหว่างประเทศ (ITUC) และสหพันธ์สิ่งทอ ตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องหนังระหว่างประเทศ (ITGLWF) ได้เปิดโปงให้เห็นว่าโอลิมปิกนั้นมีมูลค่ามหาศาลต่อทั้งที่คณะกรรมการโอลิมปิก แบรนด์ และนักกีฬาที่มีชื่เสียงทั้งหลาย (//www.playfair2008.org/)



สปิริตของโอลิมปิกควรจะเป็นเพื่อ “การแข่งอย่างยุติธรรม เพื่อความสมานฉันท์ และเคารพคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์” ซึ่งเป็นสปิริตที่มีมานับตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ (776 ปีก่อนคริสตกาล) การแข่งขันในช่วงนั้นเพื่อเป็นกิจกรรมแห่งสันติภาพระหว่างประเทศคู่สงคราม และในทุกครั้งของการแข่งขันประเทศต่างๆ ที่ทำการสู้รบกันจะต้องหยุดสู้รบและมาแข่งกันในสนามกีฬากันก่อน แล้วถ้าหลังเกมส์จบ จะไปสู้รบกันต่อก็ไม่ว่ากัน ซึ่งปฏิบัติสืบทอดกันมากว่าพันปีจึงยุติ และไฟโอลิมปิกก็ถูกจุดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 1896 (พ.ศ. 2439) ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีก และจัดต่อเนื่องมาจนมาถึงปัจจุบัน



อดิดาสจ่าย 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (12,950 ล้านบาท) เพื่อเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของเวิล์ดคัพจนถึงปี 2014 (พ.ศ.2557) ด้ายอานิสงค์ของเวิล์ดคัพ รายได้ของอดิดาสพุ่งสูงขึ้นถึง 47% ในช่วงไตรมาสแรกปี 2006 รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 37% เป็น 183 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ



เจาะโลกแรงงาน พฤศจิกายน – ธันวาคม 2549







ปัจจุบันสปิริตแห่งโอลิมปิกจะยังเหมือนเดิมจริงหรือ?

นี่คือประเด็นที่ประชาชนที่ห่วงใยในสันติภาพ สิทธิมนุษยชน และสิทธิแรงงาน ได้ร่วมกันเรียกร้องคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ให้ใส่ใจในเรื่องเหล่านี้ และก็ร่วมผลักดันให้ทุกประเทศที่เป็นเจ้าภาพ ทุกแบรนด์ที่ซื้อลิขสิทธิ์ และนักกีฬาทั้งหลาย ให้ร่วมกันสร้างหลักประกันที่เคารพในกติกาสากลแห่งสิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน เพื่อนำสันติสุขมาสู่ของมวลมนุษยชาติ ไม่ใช่มองเห็นแต่เพียงผลประโยชน์ของตัวเงินที่แต่ละกลุ่มจะได้รับเพียงด้านเดียว



การประท้วงเพื่อทวงถามจริยธรรมต่อผู้เกี่ยวข้องในกีฬาโอลิมปิกเริ่มที่ยุโรป โดยผู้บริโภคลุกขึ้นมารณรงค์และเรียกร้องให้แบรนด์ – ที่สปอนเซอร์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลิตสินค้ากีฬาโลก ทั้งนี้ไม่ใช่เฉพาะการแข่งขันโอลิมปิกแต่รวมไปถึงในการแข่งขันฟุตบอลโลก และกีฬาระดับโลกประเภทอื่นด้วยเช่นกัน - สร้างหลักประกันและมาตรการว่าพวกเขาจะผลิตสินค้าด้วยการเคารพมาตรฐานแรงงาน และสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ



เรียน คุณไทเกอร์ วูดส์ …คุณเพิ่งจะเซ็นต์สัญญากับไนกี้เป็นจำนวนเงินกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (4,000 ล้านบาท) เป็นเวลา 5 ปี (2000 - 2005) ซึ่งมันช่างแตกต่างจากค่าจ้างที่คนงานผลิตสินค้าให้ไนกี้ได้รับ ... คนงานไนกี้จะต้องทำงาน 26.5 ล้านวัน หรือ 72,000 ปี เพียงจะได้ค่าจ้างเท่ากับที่คุณได้รับตลอดช่วงสัญญากับไนกี้ คนงานไทยจะต้องทำงาน 14,000 วัน หรือ 38 ปี เพื่อจะได้ค่าจ้างเท่ากับค่าจ้าง 1 วันที่คุณได้รับจากไนกี้ หรือ 55,000 ดอลลาร์....



จดหมายถึงไทเกอร์ วูดส์, 13 พฤศจิกายน 2543




และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการประท้วงรัฐบาลจีน

กลุ่มรณรงค์เพื่อผู้บริโภคและสมาพันธ์แรงงานระหว่างประเทศ ได้พยายามเรียกร้องรัฐบาลจีนมาอย่างต่อเนื่องนับสิบปีให้รัฐบาลจีนหยุดปิดกั้นเสรีภาพในการรวมตัวและเรียกร้องสิทธิ และคุ้มครองคนงานจากการถูกละเมิดสิทธิต่างๆ ทั้งนี้เพราะนับตั้งแต่จีนเปิดประตูสู่การค้านับตั้งแต่กลางทศวรรษ 2530 มีคนงานจีนนับหมื่น นับแสนราย ที่ถูกเลิกจ้างและจำนวนไม่น้อยถูกคุมขังเพราะพวกเขาเรียกร้อง “เสรีภาพในการรวมตัวและต่อรอง”



การประท้วงของคนงานจีนมีต่อเนื่องมาหลายปี แต่ไม่ค่อยปรากฏเป็นข่าว ดังเช่นเมื่อเร็วๆ นี้ “2 มีนาคม 2551, คนงานนับพันคนที่ถูกลอยแพโดยไม่ได้รับค่าชดเชยอย่างเหมาะสม ได้เริ่มประท้วงที่หน้าหอประชุมของเมือง (www.chinalabourwatch.org)”



การละเมิดสิทธิแรงงานที่โรงงานยูวองเฉิง (Yue Wong Cheong) ในเซิงเจิ้น ซึ่งรับจ้างผลิตสินค้าลิขสิทธิโอลิมปิกกว่า 50 รายการ ทั้งจ่ายคนงานเพียงแค่ 50% ของค่าจ้างขั้นต่ำ ทำงานวันละ 13 ชั่วโมง ปัญหาเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย การใช้สลิปเงินเดือนปลอมเพื่อหลอกตาเจ้าหน้าที่ที่ถูกส่งมาตรวจสอบ (http://www.playfair2008.org/)



ในการประท้วงเพื่อให้เกิดการ “แข่งอย่างยุติธรรม” ในปี 2008 จึงเป็นการกดดันรัฐบาลจีนครั้งใหญ่ให้เคารพในสิทธิและมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเสรีภาพในการรวมตัวและต่อรอง และมีความจำต้องขยายครอบคลุมการพูดคุยนอกจากประเด็นเรื่องสิทธิแรงงาน ไปยังประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะเกิดเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนและพระใน ทำให้กลุ่มที่รณรงค์เพื่อสันติภาพในได้เข้าร่วมประท้วงในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการประท้วงเพื่ออิสรภาพและปลดปล่อยนั้นได้ทำมาตามครรลองแห่งวิธีสันติวิธีอย่างเคร่งครัดในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา พระชาวจะไปนั่งภาวนาสวดมนต์ในเวทีประชาสังคมโลกเกือบทุกครั้งเพื่อยืนยันถึงการเรียกร้องอิสรภาพของของ



สำหรับผู้ประท้วง นี่ไม่ใช่เรื่องการต้องเลือกค่าย ระหว่าง ”สหรัฐ” กับ “จีน” ถ้ายังจำกันได้ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2546 ประมาณการว่ามีผู้ประท้วงในเกือบทุกประเทศทั่วโลกรวมกันร่วม 30 ล้านคนร่วมเดินขบวนในวันเดียวกัน เพื่อเรียกร้องให้สหรัฐฯ ถอนทหารออกจากอิรัก ในประเทศไทยมีผู้ร่วมประท้วงในวันนั้นทั้งจากกรุงเทพฯ และภาคใต้รวมกันกว่า 5,000 คน



การประท้วงคบเพลิงโอลิมปิกครั้งนี้เริ่มที่ยุโรปและอเมริกา เพราะคบเพลิงผ่านที่นั่นก่อนประเทศไทย แต่ไม่ได้หมายความว่าคนไทยที่ประท้วงคบเพลิงโอลิมปิกจะต้องได้รับใบสั่งให้ประท้วงจากประเทศสหรัฐฯ ตามที่มีการพยายามผลักให้กลุ่มผู้จะประท้วงเป็น “ฝ่ายสหรัฐ” มันช่างไร้เหตุผลและไม่ถูกต้องอย่างสิ้นเชิง เพราะพวกเขาคือหนึ่งในผู้ประท้วงสหรัฐฯ หลายครั้งให้ถอนทหารออกจากอิรัก


แน่นอนว่าโอลิมปิกก็คงจะดำเนินต่อไป การประท้วงไม่ได้และไม่เคยหยุดยั้งการแข่งขัน แต่มันได้ทำให้เกิดการตื่นตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ของประชาสังคมโลก โดยเฉพาะผู้บริโภค ที่รับรู้ข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับผลประโยชน์มหาศาลที่ครอบงำเกมส์กีฬาโลก ที่สลายจิตวิญญาณที่แท้จริงของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก “การแข่งอย่างยุติธรรม ความสมานฉันท์ และเคารพคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ เพื่อนำมาซึ่งสันติภาพ”

ขอเชิญชวนสนับสนุนข้อเรียกร้องของกลุ่มรณรงค์เพื่อ “แข่งอย่างยุติธรรม 2008”

พวกเราเชื่อว่าทุกบริษัทที่ผลิตเสื้อผ้าและรองเท้ากีฬา คณะกรรมการโอลิมปิกสากล คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ และรัฐบาลทุกรัฐบาลจะต้องดำเนินมาตรการเพื่อขจัดการกดขี่ขูดรีดและการละเมิดสิทธิแรงงานที่ผลิตสินค้าให้กับอุตสาหกรรมเครื่องกีฬาโลก พวกเราเรียกร้องให้มีการนำสปิริตของโอลิมปิกที่แท้จริงมานำเสนอต่อประชาคมโลกว่า “การแข่งอย่างยุติธรรม” สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสถานประกอบการ

พวกเราเรียกร้องคณะกรรมการโอลิมปิกสากลให้ดำเนินมาตรการอย่างเร่งด่วนในการนำเสนอปัญหาการละเมิดสิทธิคนงานในอุตสาหกรรมการผลิต, http://www.playfair2008.org/














--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 19/4/2551

เลียบม่านไม้ไผ่ ฟังวิทยุปักกิ่ง อ่านมุมมองสื่อจีนกรณีทิเบต

เลียบม่านไม้ไผ่ ฟังวิทยุปักกิ่ง อ่านมุมมองสื่อจีนกรณีทิเบต



ที่มาของภาพประกอบหน้าเว็บ REUTERS/David Gray



ในขณะที่สื่อค่ายตะวันตกให้ความสำคัญกับการรายงานสถานการณ์ทิเบต และการประท้วงคบเพลิงโอลิมปิคอย่างเกาะติด เพื่อการบริโภคสื่อรอบด้าน สุดสัปดาห์นี้ ประชาไทขอชวนเลียบ ‘ม่านไม้ไผ่’ เพื่อ ‘อ่าน’ สื่อค่ายจีน ว่าเขานำเสนออะไร มีมุมมองอย่างไรต่อเรื่องทิเบต



สำหรับ ‘สื่อค่ายจีน’ ที่เราจะเฝ้าติดตามในโอกาสนี้เป็นสื่อกระจายเสียง คือ สถานีวิทยุสากลแห่งประเทศจีนหรือซีอาร์ไอปักกิ่ง (China Radio International) ซึ่งรับฟังได้ในประเทศไทยทั้งระบบคลื่นสั้น และระบบ FM (หรือฟังออนไลน์ที่ http://thai.cri.cn/)



โดยสถานีวิทยุซีอาร์ไอดังกล่าวเป็นกิจการสื่อสารมวลชนที่สำคัญแห่งหนึ่งของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อตั้งในปี พ.ศ.2488 ทำการกระจายเสียงทั่วโลกวันละ 290 ชั่วโมง ด้วยช่องสถานีภาษาต่างประเทศ 38 ภาษา รวมทั้งภาษาไทย นอกจากนี้ยังกระจายเสียงเป็นภาษาจีนกลาง แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน กวางตุ้งและฮากกา



วิทยุสากลแห่งประเทศจีนภาคภาษาไทยเริ่มทำการกระจายเสียงเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2493 ปัจจุบัน มีเจ้าหน้าที่ภาคภาษาไทย 20 คน ทำการกระจายเสียงในภาษาไทยวันละสองครั้ง รวมสองชั่วโมง ในระบบคลื่นสั้น [1]



นอกจากนี้วิทยุสากลแห่งประเทศจีนยังออกอากาศผ่านเครือข่ายสถานีวิทยุระบบ FM ของสถาบันอุดมศึกษาของไทย วันละครึ่งชั่วโมง ได้แก่ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย FM 101.5 MHz สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ FM 88 MHz สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร FM 107.75 MHz และสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม FM 102.25 MHz โดยสถานีวิทยุสากลแห่งประเทศจีนระบุว่าสามารถกระจายเสียงครอบคลุมกว่า 50 จังหวัดของไทย [2]



ความครอบคลุมการกระจายเสียงดังกล่าว จึงนับได้ว่าสถานีวิทยุสากล หรือ ซีอาร์ไอ เป็นอีกหนึ่งสื่อกระจายเสียง ‘ภาคภาษาไทย’ ของชาติมหาอำนาจใกล้บ้านที่มีอิทธิพลอย่างสำคัญ ซึ่งความครอบคุลมการกระจายเสียงดังกล่าวทำให้ซีอาร์ไอ ช่วงชิงพื้นที่ในคลื่นความถี่กับ ‘วอยซ์ ออฟ อเมริกา’ ภาคภาษาไทยได้อย่างสูสีน่าสนใจ



จากการ ‘เฝ้าติดตาม’ ซีอาร์ไอ พบว่า ซีอาร์ไอ รายงานข่าวกรณีจลาจลในทิเบต หรือที่สื่อจีนเรียกว่าเหตุการณ์ ‘14 มีนา’ ตามเหตุการณ์เริ่มรุนแรงขึ้นเมื่อ 14 มีนาคม 2551 การรายงานท่าทีของรัฐบาลจีน สื่อมวลชนจีนต่อสถานการณ์ในทิเบต และปฏิกิริยาต่อสื่อและรัฐบาลตะวันตก ตลอดจนนำเสนอข่าวขบวนวิ่งคบเพลิงโอลิมปิค ซึ่งกำลังผ่านประเทศไทยในขณะนี้ในมุมมองของจีน โดยแง่มุมในการนำเสนอของสถานีวิทยุแห่งนี้ มีดังต่อไปนี้



000





การทูตจีน มุมมองต่อทิเบต ท่าทีต่อไทย

ข่าวที่ ‘นายจาง จิ่วหวน’ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยเปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนไทยเมื่อวันที่ 8 เม.ย. และซีอาร์ไอนำมาเผยแพร่ในวันที่ 10 เม.ย. นั้น ความเห็นของทูตจีนผู้ใช้ภาษาไทยคล่องแคล่วผู้นี้ ไม่เพียงแต่สะท้อนความเห็นของ ‘ปักกิ่ง’ ต่อกรณีจลาจลทิเบต



ยังสะท้อนความสัมพันธ์ของ ‘ปักกิ่ง’ กับ ‘กรุงเทพฯ’ ได้เป็นอย่างดี



ข่าวดังกล่าวซีอาร์ไอใช้คำว่า นายจางได้ ‘เปิดเผยความเป็นจริงของเหตุการณ์ปล้นสะดมเผาทำลายทำร้ายผู้คน’ ในเหตุการณ์ ‘14 มีนา’ รวมทั้งแสดงความรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิึคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงสนับสนุนเเละเข้าใจรัฐบาลจีนเเละขอบคุณประชาชนไทยที่รักในวัฒนธรรมทิเบต [3]



โดยในข่าว นายจาง จิ่วหวนกล่าวว่า เมื่อวันที่ 14 มี.ค. ที่ผ่านมา เมืองลาซา เมืองเอกของเขตปกครองตนเองทิเบตเกิดเหตุการณ์ปล้นสะดมเผาทำลายทำร้ายผู้คน การเผาทำลายสถานที่กว่า 300 เเห่ง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 380 คน เเละมีผู้เสียชีวิต 18 ศพ รัฐบาลท้องถิ่นได้ใช้มาตรการที่จำเป็นเข้าควบคุมสถานการณ์เพื่อป้องกันความปลอดภัยในชีวิตเเละทรัพย์สินของประชาชน ปัจจุบัน ทิเบตได้ฟื้นฟูคืนสู่ภาวะปกติเเล้วในทุกด้าน



ซีอาร์ไอภาคภาษาไทยให้ความสำคัญกับข่าวพระบรมวงศานุวงศ์ของไทยเสด็จไปเยือนจีนด้วย โดยก่อนหน้านี้ ซีอาร์ไอภาคภาษาไทยได้รายงานข่าว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีหมายกำหนดการเยือนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 2-9 เม.ย. 2551 ตามคำกราบทูลเชิญของรัฐบาลจีน นับเป็นการเยือนจีนเป็นครั้งที่ 25 ของพระองค์



โดยซีอาร์ไออ้างรายงานของสำนักข่าวซินหวาที่รายงานข่าวว่า เมื่อวันที่ 2 เม.ย. ที่ปักกิ่ง ระหว่างที่พระองค์ทรงพบปะกับนาย ไต้ปิ่งกว๋อ มนตรีแห่งชาติจีน พระองค์มีพระราชดำรัสว่าจะทรงเข้าร่วมพิธีเปิดงานกีฬาโอลิมปิก ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนสิงหาคมนี้ และทรงอวยพรให้งานกีฬาโอลิมปิกปักกิ่งประสบความสำเร็จ [4] นอกจากนี้เมื่อวันที่ 3 เม.ย. พระองค์ยังทรงพบปะกับนายเจี่ยชิ่งหลิน ประธานสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนที่กรุงปักกิ่งอีกด้วย [5]



นอกจากกรุงปักกิ่งแล้ว สมเด็จพระเทพยังจะเสด็จไปเยือนมณฑลซันตง มณฑลเฮยหลงเจียงและจี๋หลินซึ่งเป็นมณฑลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งเมืองต้าเหลียนและชิงเต่าซึุ่่งเป็นเมืองท่าภาคเหนือที่มีชื่อเสียงของจีน และยังทรงเสด็จเยือนเมืองฮาร์บินเเละเมืองฉางชุนอีกด้วย



ซีอาร์ไอยังรายอีกด้วยว่า ในวันที่ 18 เม.ย. ที่ผ่านมา ระหว่างที่คบเพลิงงานกีฬาโอลิมปิกปักกิ่งส่งต่อถึงกรุงเทพฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจะทรงเสด็จไปที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารกสิกรไทยที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯ และทรงเป็นประธานจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำต้อนรับคณะส่งต่อคบเพลิงงานกีฬาโอลิมปิก



โดยกรรมการคณะกรรมการโอลิมปิกจีนและไทย สมาชิกคณะผู้แทนคบเพลิงงานกีฬาโอลิมปิกปักกิ่ง ผู้วิ่งคบเพลิงงานกีฬาโอลิมปิกของไทยที่ได้รับการคัดเลือก 80 คน ผู้แทนจากเทศบาลนครกรุงเทพฯและการกีฬาแห่งประเทศไทยตลอดจนสื่อมวลชนต่างๆ ประมาณ 300 คนจะรับเชิญเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำครั้งนี้ [6]





ท่าทีคนใน ‘รัฐบาลไทย’ ต่อสถานการณ์ทิเบตและ ‘กีฬาโอลิมปิค’

ในช่วงนี้ ซีอาร์ไอยังนำเสนอมุมมองของคนในรัฐบาลไทยที่มีจุดยืนสนับสนุนจีนในการจัดการกิจการทิเบตและสนับสนุนกีฬาโอลิมปิค



เช่น กรณีซีอาร์ไอ รายงานข่าวการส่งต่อคบเพลิงโอลิมปิคที่จะเดินทางมายังประเทศไทยในระหว่างวันที่ 17-19 เมษายนนี้ มีการรายงานคำพูดของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ประธานกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ซึ่งกล่าวเมื่อ 17 เม.ย. ระหว่างการแถลงข่าวที่สนามกีฬาแห่งชาติ ถึงการเตรียมกิจกรรมวิ่งคบเพลิงงานกีฬาโอลิมปิคที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ที่ระบุว่า ทีมไทยอยู่ในอันดับที่ 25 ของงานกีฬาโอลิมปิกเอเธนส์เมื่อ 4 ปีก่อน เป็นหลักชัยสำคัญในประวัติศาสตร์กีฬาของไทย ปัจจุบัน คบเพลิงได้ส่งถึงประเทศไทยแล้ว นับเป็นหลักชัยสำคัญอีกประการหนึ่งเพื่อเผยแพร่เจตจำนงโอลิมปิกในไทย [7]



ขณะที่การออกอากาศของซีอาร์ไอ เมื่อ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา ซีอาร์ไอได้รายงานข่าวของสำนักข่าวซินหวา ระบุคำพูดของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยที่กล่าวระหว่างการเยือนกรุงปักกิ่งว่า ปัญหาทิเบตเป็นกิจการภายในของจีน ไทยคัดค้านการนำปัญหาทิเบตเชื่อมโยงกับงานกีฬาโอลิมปิกปักกิ่ง[8]



นายนพดลยังกล่าวว่าจะยืนหยัดนโยบายจีนเดียวต่อไป และเชื่อมั่นว่า จีนจะประสบความสำเร็จในการจัดงานกีฬาโอลิมปิกปักกิ่ง และทำให้เป็นความภาคภูมิใจของประชาชนเอเชียทั้งปวง





มุมมอง ‘สื่อจีน’ ใน ‘ไทย’ ฉะ ‘สื่อตะวันตก’ ขาดจรรยาบรรณกรณีข่าวทิเบต

ขณะที่เกิดจลาจลทิเบตได้ไม่กี่อาทิตย์ การออกอากาศของซีอาร์ไอในวันที่ 28 มี.ค. มีการรายงานข่าวหัวข้อข่าว ‘นักวิชาการไทยแสดงความเห็นว่า สื่อตะวันตกขาดจรรยาบรรณในการรายงานปัญหาทิเบต’ [9]

แม้เนื้อหาไม่ได้เป็นการสัมภาษณ์อาจารย์มหาวิทยาลัยชาวไทย แต่ก็เป็นการสัมภาษณ์ ‘นายเฉียนเฟิง’ ซึ่งเขาเป็นรองผู้อำนวยการและบรรณาธิการใหญ่ของหนังสือพิมพ์เอเชียรายวัน ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับภาษาจีนของไทย



เทปสัมภาษณ์ดังกล่าวนายเฉียนเฟิง ให้สัมภาษณ์ด้วยภาษาจีนกลาง แล้วซีอาร์ไอ ‘พากย์ไทย’ ทับลงไปอีกทีหนึ่ง โดยนายเฉียนเฟิงวิจารณ์สื่อตะวันตกว่า ผู้ทำงานด้านสื่อต้องพยายามรายงานข่าวให้เร็วเท่าที่จะเร็วได้ แต่ การรายงานข่าวอย่างรวดเร็วนั้นไม่ควรบิดเบือนข้อเท็จจริง ไม่ควรนำเรื่องตำรวจเนปาลสลายผู้แสดงกำลัง ซึ่งเป็นกลุ่มพลัดถิ่นแบ่งแยกทิเบต มารายงานว่า ตำรวจจีนกำลังจับกุมกลุ่มแบ่งแยกทิเบต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่เนปาล แล้วหยิบมารายงานเข้ากับทิเบตของจีนได้อย่างไร



“สื่อตะวันตกรายงานข่าวเกี่ยวกับตำรวจจีนจับคน แต่ข้อเท็จจริงกลับเป็น ตำรวจกำลังช่วยส่งผู้ได้รับบาดเจ็บขึ้นรถ รถคันนั้นเป็นรถปฐมพยาบาล ไม่ใช่รถตำรวจ บนจอโทรทัศน์ของตะวันตกจะถ่ายทอดภาพชาวทิเบตที่ถูกตีบาดเจ็บซ้ำแล้วซ้ำอีก และยังบรรยายว่า เขาถูกทหารจีนรุมตี แท้ที่จริงแล้ว หนุ่มชนชาติทิเบตคนนั้นเป็นนายแพทย์ เขาถูกผู้ก่อเหตุทำร้ายจนศีรษะได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากว่า เขาไปช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กชนชาติฮั่นคนหนึ่ง เวลานั้น นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกจำนวนหนึ่งที่ได้เห็นกับตาถึงความไม่สงบที่ทิเบตได้บันทึกภาพเอาไว้ด้วยกล้องถ่ายรูปหรือกล้องถ่ายวิดีโอ หลังจากนั้น พวกเขาก็ได้ออกมาเล่าสิ่งที่ตนเองได้พบเห็น ซึ่งต่างจากสิ่งที่สื่อตะวันตกประโคมข่าวว่า ทหารจีนปราบปรามการเคลื่อนไหวแสดงกำลังที่สันติอย่างไร”



นายเฉียนเฟิงกล่าวว่า จากภาพข่าวที่เกี่ยวข้องเห็นได้ชัดว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เมืองลาซาเป็นเหตุการณ์ใช้กำลังรุนแรง ไม่ใช่การเคลื่อนไหวแสดงกำลังที่สันติ สื่อบางรายของเยอรมันได้ยอมรับแล้วว่ามีความผิดพลาดในการรายงานเหตุการณ์ครั้งนี้ แต่พวกเขาไม่ได้กล่าวขอโทษ เพียงแต่แสดงความเสียใจ เท่านั้น นี่ไม่ใช่แบบอย่างและลักษณะท่าทางของผู้ทำงานในแวดวงสื่อเลย แสดงให้เห็นว่า มีผู้เจตนาจะรายงานข่าวบิดเบือนข้อเท็จจริงของปัญหาทิเบต รายงานเหตุการณ์ ‘14 มีนาคม’ ว่า เป็นเหตุการณ์การเคลื่อนไหวประท้วงที่สันติของชาวบ้านชนชาติทิเบตในท้องถิ่นถูกทางการจีนปราบปรามด้วยกำลังอาวุธ นี่เป็นการกลับขาวเป็นดำ กลับดำเป็นขาว



นั่นคือทัศนะของนายเฉียนเฟิง



ปิดท้ายด้วยการชื่นชมนโยบายของรัฐบาลจีนที่ปฏิบัติต่อเหตุการณ์จลาจลในทิเบต ซึ่งนายเฉียนเฟิง กล่าวว่า “ผมมีความเข้าใจนโยบายชนชาติของรัฐบาลจีนลึกซึ้งมาก รัฐบาลจีนมีความสุขุมรอบคอบมากในปัญหาชนชาติ และมีความสุขุมรอบคอบในการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินใด ๆ ที่เกิดขึ้นในเขตชนชาติส่วนน้อย ช่วงเวลานั้น จีนกำลังจัดการประชุมสองสภา ผู้นำสำคัญของทิเบตส่วนใหญ่มาประชุมที่ปักกิ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ร้ายแรงขนาดนี้ ผู้นำที่อยู่ในเมืองลาซาไม่กล้าสั่งการให้จับกุมคนร้าย พวกผู้ร้ายจึงมีโอกาสทำร้าย ทำลาย ปล้นสะดมและวางเพลิง หากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างที่สื่อตะวันตกรายงาน ผมเชื่อว่า ผลจะไม่ร้ายแรงถึงขนาดนี้”





ภาพ ‘ดาไลลามะ’ ในสื่อจีน: การสร้างแนวรบสื่อต่างประเทศ

ด้านข่าวต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับทิเบต เช่นเดียวกับสื่อของรัฐบาลจีน ซีอาร์ไอพยายามเสนอ ‘ภาพพจน์’ อีกแบบหนึ่งของดาไลลามะ ที่ต่างจากภาพนักบวชตามที่พบเห็นในสื่อตะวันตก และมีมุมมองว่าดาไลลามะมีพฤติกรรมคอย ‘แยกปิตุภูมิ’ กระทั่งเสนอข่าวว่ากลุ่มที่ใกล้ชิดกับดาไลลามะ ‘รบกวนการกลับชาติมาเกิด’ ของพระพุทธเจ้า!



เช่น เมื่อวันที่ 17 เม.ย. ที่ผ่านมา ซีอาร์ไอนำเสนอข่าว นางเจียง อยู๋ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนกล่าวที่กรุงปักกิ่งว่า ประตูการพูดคุยเจรจาระหว่างรัฐบาลส่วนกลางกับพระดาไลลามะเปิดเสมอ ขอแต่ว่าพระดาไลลามะหยุดกิจกรรมแบ่งแยกปิตุภูมิ และทำลายงานกีฬาโอลิมปิกปักกิ่ง หยุดพฤติกรรมปลุกปั่นการใช้ความรุนแรง รัฐบาลส่วนกลางของจีนก็ยินดีที่จะติดต่อและปรึกษาหารือกับพระดาไลลามะต่อไป



นางเจียง อยู๋กล่าวว่า รัฐบาลส่วนกลางของจีนมีความจริงใจและความอดทนมากต่อการติดต่อและหารือกับพระดาไลลามะตลอดมา แต่พระดาไลลามะไม่เคยมีการตอบสนองและไม่มีที่มีท่าทีแข็งขัน [10]





กลุ่ม ‘ดาไลลามะ’ รบกวนการกลับชาติมาเกิดของพระพุทธเจ้า!

และวันเดียวกันนี้เองซีอาร์ไอยังนำเสนอข่าวที่ ‘หนังสือพิมพ์กวางหมิงรึเป้า’ ตีพิมพ์บทความของนายเจิ้ง ตุย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศาสนาแห่งศูนย์ทิเบตศึกษาของจีน กล่าวว่า กลุ่มดาไลลามะทำลายและรบกวนการกลับชาติมาเกิดของพระพุทธเจ้านิกายทิเบต [11]



บทความกล่าวว่า การกลับชาติมาเกิดของพระพุทธเจ้านิกายทิเบตเป็นเรื่องที่เกิดจากการประสานทั้งศาสนาและการเมืองในกระบวนการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ของทิเบต การกลับชาติมาเกิดของพระพุทธเจ้านิกายทิเบตของพุทธศาสนานิกายทิเบตมีพิธีการทางศาสนาและข้อกำหนดทางประวัติศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์ของทิเบต



บทความกล่าวว่า ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ที่ได้ฟื้นฟูพิธีการกลับชาติมาเกิดของพระพุทธเจ้านิกายทิเบตเป็นต้นมา กลุ่มดาไลลามะไม่เคยหยุดทำลายและรบกวนกระบวนการดังกล่าว





สื่อ-รัฐบาลจีนเล่นงานผู้ประกาศซีเอ็นเอ็นใส่ร้ายประชาชนจีน

ขณะเดียวกัน อายเรียกได้ว่าสื่อจีน ก็เป็นไม้เบื่อไม้เบากับสื่อตะวันตก และคอย ‘เฝ้าระวัง’ การนำเสนอข่าวของสื่อตะวันตก เช่น กรณีที่ซีอาร์ไอก็นำเสนอข่าว สื่อของทางการจีนประณามการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมของนายแจค คาฟเฟอร์ตี (Jack Cafferty) ผู้ดำเนินรายการของสถานีโทรทัศน์ CNN ของสหรัฐอเมริกา



โดยซีอาร์ไออ้างรายงานของซินหวา ที่รายงานเมื่อวันที่ 16 เม.ย. ที่ผ่านมาว่า นายหลิว เจี้ยนเชา อธิบดีกรมสารสนเทศของกระทรวงการต่างประเทศจีนได้เรียกผู้รับผิดชอบสถานีเคเบิลทีวี CNN สาขาปักกิ่งของสหรัฐอเมริกา เพื่อทักท้วงกรณีที่นายแจค คาฟเฟอร์ตี ผู้ดำเนินรายการ CNN ประกาศคำพูดดูหมิ่นใส่ร้ายให้ประชาชนจีน [12] หรือข่าวที่นา



และเมื่อวันที่ 17 เม.ย. ที่ผ่านมา นางเจียง อยู๋ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนกล่าวที่กรุงปักกิ่ง เมื่อ 17 เม.ย. ที่ผ่านมาว่า จีนเรียกร้องอีกครั้งให้ CNN และนายแจค คาฟเฟอร์ตี ผู้ดำเนินรายการกลับคำพูดที่ชั่วร้าย กล่าวขอโทษต่อประชาชนจีนทันที โดยนางเจียงอยู๋กล่าวว่า เมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา CNN ประกาศแถลงการณ์ไม่เพียงแต่ไม่ได้กล่าวขอโทษต่อประชาชนจีนเกี่ยวกับคำพูดชั่วร้ายที่ดูหมิ่นใส่ร้ายประชาชนจีนของนายแจค คาฟเฟอร์ตี หากยังหันไปโจมตีรัฐบาลจีน หมายจะยุยงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐบาลของจีน ซึ่งฝ่ายจีนรับไม่ได้เด็ดขาด [13]



ขณะเดียวกัน ซีอาร์ไอยังนำเสนอข่าวที่ หนังสือพิมพ์เหรินหมินรึเป้าฉบับวันที่ 17 เม.ย. ตีพิมพ์บทความที่มีเนื้อหาว่า คำพูดของนายแจค คาฟเฟอร์ตี ผู้ดำเนินรายการของสถานีทีวี CNN ของสหรัฐอเมริกาเกินเลยเหนือขอบเขตเสรีภาพทางด้านข่าวสารและคำพูด นายคาฟเฟอร์ตีบิดเบือน ‘ปัญหาทิเบต’ ให้เป็น ‘ปัญหาสิทธิมนุษยชน’ ทำลายชื่อเสียงของสินค้าที่จีนผลิตว่าเป็น ‘ขยะ’ ใส่ร้ายป้ายสีประชาชนจีนเป็น ‘ผู้ก่อเหตุร้ายและโจร’ ความจริงแล้ว พวกเขาได้บิดเบือนข้อมูลข่าวสารและภาษาอย่างรุนแรง



บทความระบุว่า ในรายการทีวีระดับโลก ไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีคนใส่ร้ายป้ายสีชนชาติหนึ่งอย่างโจ่งแจ้ง และโฆษณาชวนเชื่อลัทธิเหยียดผิวซึ่งเป็นเรื่องที่สะเทือนใจ และก่อเกิดความโกรธแค้นอย่างยิ่ง [14]





สื่อฝรั่งเล่นข่าว ‘ทิเบตประท้วงจีน’ จีนเล่นข่าว ‘จีนประท้วงทิเบต’

ในขณะที่สื่อตะวันตกหรือสื่อไทยเองการประท้วงการวิ่งคบเพลิงโอลิมปิค ตามรายทางเส้นทางการวิ่งคบเพลิงมาโดยตลอดแต่ข่าวเช่นนี้หาติดตามได้ยากทั้งในซีอาร์ไอ หรือสื่ออื่นของรัฐบาลจีน ข่าวที่มีการนำเสนอมักจะเป็นการนำเสนอท่าทีของบุคคลระดับโลกที่ไม่เห็นด้วยต่อการประท้วงการวิ่งคบเพลิงโอลิมปิค



เช่น ข่าวนายเฟรดริก ไรน์ฟิลด์ นายกรัฐมนตรีสวีเดนกล่าวตอบคำถามนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ระหว่างการปาฐกถาว่า ไม่เห็นด้วยกับการต่อต้านงานกีฬาโอลิมปิกปักกิ่ง [15] หรือ กรณีที่นายฮวน อันโตนิโอ ซามารานช์ (Juan Antonio Sanaranch) ประธานกิตติมศักดิ์ตลอดชีพของคณะกรรมการโอลิมปิคสากลให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ ‘ละ วันกวาร์เดีย’ (La Vanguardia) ของสเปน ระบุว่า การใช้งานกีฬาโอลิมปิกคัดค้านจีนนั้นเป็นที่ไม่ยุติธรรม [16]



เช่นเดียวกัน มีข่าวการชุมนุมสนับสนุนทิเบตประณามจีนในสื่อตะวันตก ก็มีข่าว การชุมนุมสนับสนุนจีนประณามทิเบตในสื่อจีน



เช่น ซีอาร์ไอยังรายงานข่าวจากสำนักข่าวซินหวา ที่ระบุว่าเมื่อวันที่ 16 เม.ย. ที่ผ่านมา ชาวจีนโพ้นทะเลและชาวต่างชาติเชื้อสายจีนในรัฐมินิสโซตาของสหรัฐอเมริกาจัดเดินขบวนเพื่อประท้วงดาไลลามะดำเนินกิจกรรมให้ทิเบตเป็นเอกราช และเปิดเผยพฤติกรรมของพระดาไลลามะที่ยุยงให้ทิเบตเป็นเอกราชและมุ่งทำลายงานกีฬาโอลิมปิกปักกิ่ง



สื่อมวลชนท้องถิ่นรายงานว่า เช้าวันเดียวกัน ชาวจีนโพ้นทะเลและชาวต่างชาติเชื้อสายจีนในรัฐมินิสโซตากว่า 50 คนชูธงชาติจีนและป้ายคำขวัญเดินขบวนตามถนนในเมืองโรเชสเตอร์ พวกเขากล่าวกับสื่อมวลชนว่า คำพูดและพฤติกรรมหลอกลวงของดาไลลามะเกี่ยวกับ ‘เหตุการณ์ 14 มีนา’ ทำให้พวกเขาโกรธแค้น และไม่อยากให้นักการเมืองของสหรัฐฯ แทรกแซงกิจการภายในของจีน [17]





สถานการณ์ทิเบตในมุมสื่อจีน: ‘เหตุร้าย’ และภาพ ‘อารี’ ของรัฐบาลจีน

เช่นเดียวกับวิธีการนำเสนอข่าวประท้วงคบเพลิงโอลิมปิค ต่อสถานการณ์ในเขตปกครองตนเองทิเบต สื่อจีนมักรายงานสถานการณ์จลาจลในทิเบต ที่พวกเขาเรียกว่า ‘เหตุการณ์ 14 มีนา’ โดยใช้พล็อตเรื่อง เหตุร้าย คนร้าย การทำร้าย ทำลาย การปล้มสะดม การวางเพลิง เพื่ออธิบายเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งแน่นอนพล็อตนี้ผิดไปจาก การละเมิดสิทธิมนุษยชนในทิเบต การกดขี่คนทิเบต แบบที่สื่อตะวันตกพยายามนำเสนอ



โดยในช่วงที่เกิดการจลาจลเกิดขึ้น สื่อจีนสำนักต่างๆ มีการแพร่ภาพจลาจลที่เกิดขึ้นในกรุงลาซาและอธิบายว่าเป็นการทำร้ายผู้บริสุทธ์ด้วยฝีมือคนกลุ่มเล็กๆ ตามด้วยการสำทับตัวเลขผู้เสียชีวิตโดยรัฐบาลว่าอยู่ในหลักสิบ และในระยะหลังๆ ซึ่งรัฐบาลจีนสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ทิศทางข่าวมักจะเป็นการรายงานข่าวการฟื้นฟูสภาพความเสียหายจาก ‘วงการต่างๆ’ ในจีน การช่วยกันบริจาคให้ผู้ประสบภัย และข่าวการจับกุมตัวผู้ก่อการจลาจลที่พวกเขาได้รับการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่รัฐบาล ‘อย่างโอบอ้อมอารี’



เช่น เมื่อวานนี้ (18 เม.ย.) ซีอาร์ไอรายงานข่าวของสำนักข่าวซินหวา ที่รายงานถึงเหตุการณ์จลาจลในกรุงลาซา เขตปกครองตนเองทิเบต หรือที่ทางการจีนเรียกว่า ‘เหตุการณ์ 14 มีนา’ ทำให้ประชาชนที่ ‘ไร้ความผิด’ จำนวน 18 คนเสียชีวิต มีผู้ประสบภัยมากมายกลายเป็นผู้ไร้ที่อยู่อาศัย หลายวันมานี้ เพื่อให้ผู้ประสบภัยสร้างบ้านเรือนใหม่ รัฐบาลท้องถิ่นทิเบต หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนประชาชนวงการต่างๆ ร่วมกันบริจาคเงินเเละสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยผ่านความยากลำบากเเละฟื้นฟูชีวิตเป็นปกติ



โดยปัจจุบัน หน่วยงานรัฐบาลทิเบตได้เเจกจ่ายเงินชดเชยเเก่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตกว่า 3 ล้านหยวนเเล้ว [18]



หรือข่าวที่ซีอาร์ไออ้างการรายงานของสถานีโทรทัศน์ CCTV ของจีน ที่รายงานข่าว กรมสันติบาลเมืองลาซา ที่เผยว่า จนถึงปัจจุบัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ออกหมายจับผู้ต้องสงสัยที่มีหลักฐานว่าได้เข้าร่วมในเหตุการณ์จลาจลในกรุงลาซา ซึ่งรัฐบาลจีนเรียกว่า ‘เหตุการณ์ 14 มีนา’ จำนวน 170 คน ปัจจุบัน มี 82 คนถูกจับ ในจำนวนนี้ มี 11 คนเข้ามอบตัวเพื่อจะได้รับการปฏิบัติ ‘อย่างโอบอ้อมอารี’ [19]



หรือข่าวที่อ้างอิงจากสำนักข่าวซินหวา ที่รายงานจากกรมตำรวจมณฑลกานซู่ว่า ผู้ต้องสงสัยสองคนที่ได้เข้าร่วมเหตุการณ์ใช้ความรุนแรง 18 มีนาในเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตทางภาคใต้ของมณฑลกานซู่ได้เข้ามอบตัว



โดยสำนักข่าวซินหวาใช้คำว่าเหตุการณ์ใช้ความรุนแรง ‘ภายใต้การปลุกปั่นยั่วยุของบุคคลจำนวนน้อย’ ทำให้เมื่อวันที่ 18 มี.ค. ที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์ใช้ความรุนแรงในตำบลดบกาบ (Dob Gab) อำเภอโจเน (Jone) เขตปกครองตนเองทางภาคใต้ของมณฑลกานซู่ได้สร้างความเสียหายคิดเป็นเงินกว่า 7,500,000 หยวน [19]



000



หากสื่อของรัฐบาลชาตินั้นสะท้อนว่าชาตินั้นคิดอย่างไร มีมุมมองอย่างไรแล้ว



นี่ก็คือสิ่งที่จีนคิดต่อกรณีทิเบต และนี่คือสิ่งที่จีนกำลังมองโลก และบอกโลกว่าเขาคิดอะไร จะทำอะไร








--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 19/4/2551

ร่วมกันสร้างกีฬาของมวลมนุษยชาติให้มีคุณค่าและความหมายร่วมกัน.






http://www.oknation.net/blog/talkwithMetha/2008/04/19/entry-1
ร่วมกันสร้างกีฬาของมวลมนุษยชาติให้มีคุณค่าและความหมายร่วมกัน.

http://prachatai.com/05web/th/home/

http://www.thaingo.org/ว่าด้วย "สภาพัฒนาการเมือง" และ "สภาพัฒนาชุมชน"

ตัวแทนภาคประชาสังคม ๑๖ คนเดิม พระปกเกล้า ติดต่อให้ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา(LDI-หมอพลเดช)มาจัดกระบวนการคัดสรร แต่ตอนหลัง บวรศักดิ์เปลี่ยนไจ(อาจไม่ไว้ใจ?)ดึงงานกลับไปทำเอง ทั้งที่สำนักงานสภาพัฒนการเมือง ที่แยกติ่งมาจาก สถาบันพระปกเกล้า ไม่มีความคิดทางการเมืองหรือทักษะประสบการณ์การทำงานในภาคประชาสังคมเลย การวางคนในภาคประชาสังคม ๑๖ คน จึงเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะโดยธรรมชาติ คนในภาคส่วนนี้จะเสียงดัง มีบทบาทนำขบวนอยู่แล้วแม้มีจำนวนน้อยกว่า...

ประเด็นก็คล้ายๆ กลุ่มแรกละครับ ใครจะเป็นตัวแทนที่มีความคิดทางการเมืองและประสบการณ์การเคลื่อนไหวในภาคประชาสังคมในสายตาคณะกรรมการสรรหา(ซึ่งมาจากองค์กรใหญ่ เช่นศาลต่างๆ)ซึ่งไม่มีทางรู้จักตัวแทนที่เข้ารับการคัดสรรได้เลย ประเด็นจึงอยู่ที่คนชง และกระบวนการรับสมัครรับจดแจ้งองค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อ มีค่ายกลยังไงเท่านั้นแหละ..

คณะชาวนิเวศประชาธรรมที่ผมเห็นคุยกันมายาวนานในเว็บนี้ ถ้าจะมีช่องทางออกมาโลดแล่นในปฏิบัติการจริงทางการเมืองในฐานะตัวแทนความคิดหนึ่งที่น่าสนใจก็ต้องช่องทางนี้แหละ ส่งคนเข้าประกวดให้ได้ ๑ ใน ๑๖ จะดีมั๊ย?

องค์กรที่มีสิทธิจดแจ้งและเสนอชื่อ เป็น มูลนิธิ หรือสมาคมหรือนิติบุคคลที่มิได้แสวงหากำไร(เช่น สหกรณ์ ) ประเภทหนึ่ง กับ กลุ่ม เครือข่าย ชมรม ที่เป็นการรวมตัวกันทำกิจกรรมเพื่อสาธารณะ มาไม่น้อยกว่า ๑ ปีเราก็น่าจะเข้าข้อนี้ได้เพราะมีบันทึกกิจกรรมการประชุม การถกเถียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเว็บและกิจกรรมอื่นๆถ้ามี?

ประเด็นที่ส่อเจตนา บวรศักดิ์และคณะ คือมีการแอบประกาศในราชกิจานุเบกษาเรื่องการจดแจ้งไปแล้วตั้งแต่วันที่ ๔ เมษาโน่น เงียบเลย....
จดไว้ครับ เวลาให้องค์กรจดแจ้งและเสนอชื่อคือ ระหว่างวันที่ ๑๗ เมษายน ถึง วันที่ ๒๘ พฤษาคม นี้ครับ..รายละเอียดผม'ลิ้งค์ไม่เป็น เพื่อนเปิดดูที่เว็บสถาบันพระปกเกล้า กับเว็บใหม่ชื่อสภาพัฒนาการเมือง(เข้ากูเกิ้ลหาเอาเด้อ..ลิ้งค์ให้ไม่เป็น) ดาวน์โหลดใบสมัครได้เลย...

ฟังดู หดหู่มั๊ย ที่เป็นยังงี้เพราะกองทุนที่พ่วงมาด้วย..ผมจะเฉลยให้ว่ามีวงเงินติดมาด้วยในงบประมาณปีหน้า(๕๒) ถึงหลักเกือบพันล้านบาท...(เฉพาะงบกองทุน ๗๓๐ ล้านบาท) นี่จึงเป็นที่มาที่ดึงดูดพวกฉวยโอกาสทั้งหลายให้เข้ามารุมมะตุ้มกันยทั้งในปีกของ ภาคชุมชน(พอช.) และในปีกของรัฐ(มท.) แล้วยังจะมีปีกนักการเมืองหวังเข้ามาแบ่งเค้กอีกแน่นอน...

คนที่ทำตัวเป็น ไอ้โม่ง ที่อยู่เบื้องหลังเกมส์นี้อย่างแก๊งส์ ๓ ช่า (บวรศักดิ์ มีชัย วิษนุ)ต้องรับผิดชอบหากสภาพัฒนาการเมืองไม่เป็นไปตามเจตนารมย์ และกลายเป็นเรื่องสามานย์ไป...

หัวข้อ “APNG - ICT vision from, by and for Next Generation”

The 10th Asia Pacific Networking Group (APNG) Camp (free admission)
โดย : THNIC เมื่อ : 27/03/2008 10:50 AM
APNG Camp ครั้งที่ 10

หัวข้อ “APNG - ICT vision from, by and for Next Generation”
11 – 15 สิงหาคม 2551 ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย

APNG Camp คืออะไร

* เป็นกิจกรรมที่จะทำให้ผู้นำทางด้านอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
* เป็นกิจกรรมที่จะทำให้กลุ่มคนผู้บุกเบิกโลกไซเบอร์และกลุ่มคนรุ่นใหม่ในระดับเอเชียแปซิฟิกมีโอกาสเรียนรู้และได้ทำงานร่วมกัน
* เป็นกิจกรรมที่เราจะได้แลกเปลี่ยนและแบ่งปันวิสัยทัศน์ มุมมอง ต่างๆ กันจากคนที่มาต่างพื้นที่กัน

สิทธิพิเศษจากทีเอชนิค

ทีเอชนิคมีความภูมิใจที่จะมอบสิ่งที่ดีให้แก่สังคมอินเทอร์เน็ตไทย และมุ่งหวังที่จะเห็นการพัฒนาในเชิงบวกเกิดขึ้นในโลกไซเบอร์แห่งนี้ โดยทีเอชนิคจะร่วมสนับสนุนให้คนไทยได้เข้าร่วม APNG Camp จำนวน 50 คนโดยทีเอชนิคจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและสิ่งจำเป็นดังรายละเอียดด้านล่างนี้

* ค่าลงทะเบียนของ APNG Camp
* ที่พัก
* ค่า เดินทางหากมาจากต่างจังหวัด (นอกเหนือจากกรุงเทพและปริมณฑล) สำหรับการเดินทางโดยรถบัสและรถไฟเท่านั้น และต้องนำส่งตั๋วเดินทางเที่ยวมาและสำเนาเที่ยวกลับ แก่เจ้าหน้าที่ทันทีที่มาลงทะเบียน

วัน – เวลา : วันที่ 11 – 15 สิงหาคม 2551

สถานที่ : สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย, ปทุมธานี

คุณสมบัติของผู้ที่สามารถเข้าร่วม APNG Camp

# ผู้ที่มีอายุ 18 – 35 ปี เพศ ชาย หรือ หญิง
# สามารถใช้ภาษาอังกฤษในระดับที่สื่อสารได้
# ผู้ที่มีความรู้เรื่องอินเทอร์เน็ตในด้านต่างๆ เช่น Web Developer, Engineer หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
# ผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอินเทอร์เน็ต
# ผู้ที่ดำเนินกิจกรรมออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ, บันเทิง, สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ

เงื่อนไขการขอรับสิทธิพิเศษ

1. Application: Please kindly fill the application in English in the following format:

* Name and affiliation:
* Age:
* Gender:
* Nationality:
* Telephone Number:
* Cell Phone Number:
* Contact email address:
* Educational Background:
* Work Experiences:
* Why do you want to join APNG Camp and how would you like to contribute to the APNG Camp? (Limit to 500 words)
* Key terms or topic of papers/presentations:
* How you would present your countries ethnicity in 10th APNG (Do something really unique to represent your ethnicity).

2. The papers/presentations are expected to align with one of the following working groups (WG) Please kindly do the papers/presentations in English (Limit to 2 pages of A4):

* Internet Technologies
* Internet Culture & Blog
* Internet History Museum
* Live-E & DUMBO
* Natural Disaster Recovery Management and e- Health

3. Description of presentation (between 250 and 500 words):

* Authors should aim for presentations of 15 to 20 minutes duration, including question time.
* PowerPoint preferred.

4. Photograph Applicants must submit one photograph (either color or black and white) taken on a white background.
Size = 2 x 2 inches. Photographs may be no more than six months old.

เกณฑ์การพิจารณา : คณะกรรมการจะพิจารณาจากความน่าสนใจของเนื้อหาเรียงความที่ท่านส่งเข้ามา

ระยะเวลาที่เปิดรับใบสมัคร

ด่วน! ส่งใบสมัครพร้อมเรียงความได้จนถึงเที่ยงคืน วันที่ 10 เมษายน 2551

ประกาศผล : วันที่ 17 เมษายน 2551 ที่http://www.thnic.co.th/10thAPNG สำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทางเราจะมีอีเมล์แจ้งกลับให้ทราบ

ส่งใบสมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Ms. Suphitsara Boonrat (APNG Secretariat)
โทรศัพท์: 0 2524 6613
Email: apng-sec@apng.org URL: www.apng.org/10thcamp.htm

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

WWW.THNIC.CO.TH

WWW.APNG.ORG

WWW.INTERLAB.AIT.AC.TH

วันที่ 22-25 พฤษภาคม ณ ประเทศมาเลเซีย

ประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการระดมทรัพยากร ครั้งที่ 8
โดย : Resource Alliance เมื่อ : 31/03/2008 05:31 PM
ข่าวการประชุมเรื่องการระดมทุน : Resource Alliance, UK จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการระดมทรัพยากร ครั้งที่ 8 ขึ้นระหว่างวันที่ 22-25 พฤษภาคม ณ ประเทศมาเลเซีย โดยมีเนื้อหาวิธีการทำระดมทุนที่เป็นประโยชน์แก่องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรการกุศล มูลนิธิ สมาคม ฯลฯ

ผู้สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.resource-alliance.org/iwrm
หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ คุณพวงชมพู รามเมือง มูลนิธิกองทุนไทย, 02-314-4112-3# 505 มือถือ 081-6429730

“วัฒนธรรม เพศภาวะ และการบริโภค” วันที่ 14 – 28 กันยายน 2551 ณ ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โครงการฝึกอบรมนักวิจัยด้านสตรีศึกษาเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมอบรม รุ่นที่ 6
โดย : มูลนิธิผู้หญิง เมื่อ : 7/04/2008 12:26 PM
ในหัวข้อเรื่อง “วัฒนธรรม เพศภาวะ และการบริโภค”
(Culture, Gender and Consumption)

ฝึกอบรมวันที่ 14 – 28 กันยายน 2551 ณ ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมการฝึกอบรม
เปิดรับสมัครตั้งแต่ 1 มีนาคม – 30 เมษายน 2551
ประกาศผลการคัดเลือก ภายในเดือน พฤษภาคม 2551

ติดต่อขอรับใบสมัครและสอบถามรายละเอียดได้ที่
http://www.soc.cmu.ac.th/~wsc Email: wsc@chiangmai.ac.th
โทร 0-5394-3592 – 3, 0-2394-3572

จัดโดย
มูลนิธิผู้หญิง กฎหมายและการพัฒนาชนบท ร่วมกับศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการสนับสนุนจาก NKJF (The Norwegian Female Lawyers Organization)

กทม.ย่ำยีกรุงเทพฯ ไม่ระแวดระวังผังเมือง ร.1


กทม.ย่ำยีกรุงเทพฯ ไม่ระแวดระวังผังเมือง ร.1

คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10994

ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร (กทม.) ทั้งกลุ่มการเมืองและกลุ่มข้าราชการประจำ ต่างมีทัศนคติต่อประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกรุงเทพฯไปในทิศทางเดียวกัน คือชิงกันมี 'ผลประโยชน์ทับซ้อน' จากประวัติศาสตร์ แต่ไม่พิทักษ์รักษาและไม่เผยแพร่ความรู้ประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ

ผมเคยเขียนตำหนิหลายเรื่อง หลายหน แต่ไม่เป็นผลกับกลุ่มคน 'กะล่อน' ดีแต่ปาก good but mouth เอาแต่ได้ ไม่นึกถึงคนอื่นที่อ่อนแอในชุมชนกรุงเทพฯ และประทศไทย จึงจะขอคัดข่าวจาก X-Cite ไทยโพสต์ (ฉบับประจำวันที่ 9-10 เมษายน 2551 หน้า 2 ) มาช่วยกันอ่านแล้วพิจารณา จะได้รู้ทั่วกันว่าไม่ได้มีผมคนเดียว แต่มีคนอีกมากที่อยากให้อวัยวะบางส่วนต่อผู้มีอำนาจใน กทม.

หลังจากพระราชวิจิตรปฏิภาณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรวิหาร ออกมาสนับสนุนให้รื้อย้าย 'ศาลพระวิษณุกรรม' ข้างวัดสุทัศน์ ตามมติของคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ที่สั่งให้กรุงเทพมหานครรื้อศาลดังกล่าวไปประดิษฐานในสถานที่เหมาะสม เนื่องจากการตั้งศาลพระวิษณุผิดหลักอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์และทำลายมรดกทางวัฒนธรรม รวมทั้งความสง่างามโดยรอบวัดสุทัศน์

นายประเสริฐ ฤทธิ์สำเริง นักอนุรักษ์อิสระ กรรมการมูลนิธิชุมชนไทย ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 8 เมษายน ว่า กรณีการจัดตั้งศาลพระวิษณุ หากไม่ใส่ใจจะเห็นแค่เรื่องความเชื่อความศรัทธาต่อเทวรูปศาสนาฮินดู แต่เบื้องลึกแล้วกลับกลายเป็นเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดย กทม.มีส่วนรู้เห็นกับภาคเอกชนในการจัดตั้งเป็นมูลนิธิวิษณุกรรมเพื่อหารายได้จากเงินบริจาค ดอกไม้ธูปเทียน ของเซ่นไหว้ ตลอดจนเงินค่าประกอบพิธีกรรมต่างๆ ในศาลพระวิษณุ ตนเชื่อว่าเป็นสาเหตุที่ กทม. ไม่ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ และยังปล่อยให้เรื่องยืดเยื้อมาจนถึงวันนี้

'เรื่องนี้รู้กันมานานแล้ว แต่ผู้บริหาร กทม.กลับนิ่งเฉย วัดสุทัศน์ถือว่าเป็นศูนย์กลางผังเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างกรุงเทพฯตามคติโบราณ แต่วันนี้ กทม.กลับเป็นผู้ทำลาย ก่อนจะสร้างอะไรต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของสถานที่ตั้ง ไม่ใช่ปล่อยให้เกิดทรรศนะอุจาด เขตโบราณสถานหลายแห่งทั่วเกาะรัตนโกสินทร์กลายเป็นซ่องกับส้วม เป็นแหล่งหากินของโสเภณีและคนเร่ร่อนใช้เป็นสถานที่หลับนอนขับถ่ายสกปรกเลอะเทอะ' นายประเสริฐกล่าว

ศ.อดุลย์ วิเชียรเจริญ ประธานคณะอนุกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ กล่าวว่า นอกจากศาลพระวิษณุข้างวัดสุทัศน์ที่เป็นปัญหาต่อมรดกทางวัฒนธรรม และส่งผลกระทบต่อการจัดทำขอบเขตพื้นที่โดยรอบวัดสุทัศน์ และผนวกรวมกับเสาชิงช้าเพื่อเสนอชื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว ยังมีสิ่งปลูกสร้างที่ขัดต่อหลักการอนุรักษ์คือ ศาลาอเนกประสงค์อยู่ข้างอนุสาวรีย์หมู กทม. เป็นผู้รับผิดชอบการก่อสร้าง โดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ แต่ปรากฏว่ารูปแบบของศาลาอเนกประสงค์ไม่ถูกต้องตามหลักสถาปัตยกรรมแวดล้อมที่มีทั้งคลองคูเมืองเดิมขุดขึ้นสมัยกรุงธนบุรี วัดราชประดิษฐ์ ตลอดจนอนุสาวรีย์หมู

'ศาลาอเนกประสงค์สร้างในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าฯกทม. ต่อมาคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์พิจารณาเห็นว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมที่สร้างขึ้นใหม่และไม่สอดคล้องกับอนุสาวรีย์หมูและโบราณสถานบริเวณใกล้เคียง จึงสั่งให้รื้อถอน แต่ กทม.ยังไม่ดำเนินการ ส่วนกรมศิลปากรก็พยายามปัดภาระความรับผิดชอบ อ้างไม่เกี่ยวข้อง' ศ. อดุลย์กล่าว

ทั้งนี้ 'อนุสาวรีย์หมู' มีอีกชื่อว่า 'อนุสาวรีย์สหชาติ' โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 5 ทรงอุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างขึ้นขณะมีพระชนมายุ 50 พรรษา และมีสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ออกแบบ ปัจจุบันศาลาอเนกประสงค์ทรุดโทรมลง เนื่องจากไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาดูแลและปล่อยให้เป็นที่หลับนอนของคนเร่ร่อนจรจัด ตัวศาลาทำด้วยท่อเหล็ก แต่ขึ้นสนิมจนผุกร่อน ส่วนอนุสาวรีย์หมูมีการนำผ้าใบมาคลุมตัวประติมากรรมรูปหมูโดยไม่ทราบวัตถุประสงค์ ซึ่งมีผู้ร้องเรียนกรมศิลปากรเข้ามาตรวจสอบกรณีดังกล่าวด้วย

กรุงเทพฯมีกำเนิดต้นเดือนเมษายนช่วงสงกรานต์ มีสถานที่สำคัญๆ อีกมากที่ กทม. ไม่ดูแล แล้วยังทำลายฉิบหายหมด ใครพบเห็นช่วยเขียนมาบอกด้วย

หน้า 21

ไฟโอลิมปิก 18/04/08

มหัศจรรย์นิทานดนตรี…ครั้งแรกของเมืองไทย


ผ่านไปหมาดๆ กับงาน "เอนฟา เอพลัส มหัศจรรย์แห่งนิทานดนตรี" ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ เอนฟาโกร เอพลัส ได้นำท่วงทำนองแห่งเสียงดนตรี Symphony โดย Mahidol Pop Orchestra แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล มาผสมผสานกับเทคนิคการเล่าเรื่องนิทานแสนมหัศจรรย์ 4 เรื่อง ได้แก่... นิทานประกอบฟองสบู่เรื่อง "เจ้าชายสายลมกับเจ้าหญิงสายรุ้ง", นิทานเพลงหุ่นเรื่อง "มหัศจรรย์วันน้ำท่วมโลก", นิทานประกอบหุ่นเงาเรื่อง "ปูยักษ์ใต้ทะเล", นิทานละครเพลงเรื่อง "ช้างกับเรือ"

ดร.พัฒนา ชัชพงศ์ ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มศว. ยืนยันว่า "นิทานคือการเสริมสร้างความดี ความมีวินัย และจริยธรรมด้านต่างๆ ให้กับเด็ก ช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ และสามารถนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน จริยธรรม คุณธรรมที่ดี

ที่สำคัญ นิทานคือสายป่านอันสวยงามที่ร้อยผูกสายใยระหว่างพ่อแม่กับเด็ก ครูกับนักเรียน ให้มีนาทีที่ดี นาทีที่มีความสุข นาทีแห่งการร่วมกันฝัน สร้างความอบอุ่น มั่นใจก่อนที่จะหลับตาลงในยามค่ำคืน สร้างรอยยิ้ม และความมั่นใจให้เกิดขึ้นในใจ และบนใบหน้าของเด็ก"

นอกจากนี้ "ดนตรี" ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างมหัศจรรย์แห่งสมองและพัฒนาการของเด็กได้ โดยเฉพาะดนตรีคลาสสิก จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของเด็กให้เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี

"นิทานดนตรี" คือการผสมผสานระหว่างการเล่านิทาน บทเพลง และดนตรีที่ผ่านการสร้างสรรค์ให้มีความซับซ้อนของตัวโน้ต และเหมาะสมกับเด็ก ถือเป็นบรรยากาศและ สิ่งแวดล้อมที่ดี ที่จะช่วยกระตุ้นคลื่นสมองเด็กให้เกิดการจัดเรียงตัว พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ภาษา และอารมณ์ให้เด็กได้อย่างดี สามารถกระตุ้นเซลล์ประสาทของเด็กให้แตกแขนงได้มากมาย ส่งผลให้มหัศจรรย์แห่งพัฒนาการด้านต่างๆ เกิดขึ้น

พฤหัส พหลกุลบุตร จากกลุ่มละครมะขามป้อม บอกว่า "การใช้ดนตรี ใช้ภาษาผ่านการเล่าเรื่องของนิทาน และการแสดง จะมีผลต่อการพัฒนาสมอง เด็กได้ซึมซับความงามทางภาษาผ่านการเล่านิทาน การเล่าเรื่องที่มีเทคนิคให้เด็กสนุก เป็นการพัฒนาจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ การใช้ดนตรี Symphony บรรเลง ทำให้เด็กมีความละเมียดละไมทางอารมณ์ และพัฒนาสุนทรียภาพของเด็กๆ ไปพร้อมกัน"

อ.นพีสี เรเยส จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล "เทปนิทานเด็กที่พบเห็นทั่วไปในท้องตลาด มักใช้ดนตรีสังเคราะห์บรรเลง ไม่ได้ใช้เครื่องดนตรีจริง แต่การใช้เครื่องดนตรีจริงๆ ที่เป็นดนตรีวงใหญ่ สร้างเป็นผลงานดนตรีที่มีรสนิยม ทำให้เด็กได้เห็นการใช้เครื่องดนตรี ได้เห็นศักยภาพของเครื่องดนตรีต่างๆ และได้ฟังเสียงดนตรีแต่ละชนิดว่าออกมาเป็นแบบไหน ทำให้สมองเกิดการพัฒนา ปกติเพลงช้าๆ ก็ทำให้สมองเด็กพัฒนาได้ แต่การใช้ดนตรีที่เป็น Symphony ยิ่งเห็นผลได้ชัดเจนขึ้น"

วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2551

ผู้หญิงพลัดถิ่นจากพม่า ได้บอกเล่าเรื่องราวของการถูกทารุณกรรมทางเพศ

วันเสาร์ ที่ 12 เมษายน 2551
ความจริงของการลี้ภัย..จากพม่า
Posted by phenuz , ผู้อ่าน : 25 , 09:51:37 น.
พิมพ์หน้านี้

ข้อมูลที่เราเองควรจะรู้และตระหนักถึงความจริงของการลี้ภัย

มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (SHRF) ได้ประมาณการตัวเลขของผู้อพยพที่เพิ่มสูงกว่าตัวเลขของทางการไทย โดย หลังจากมีนาคม 2539 เป็นต้นมา อันเป็นปีที่รัฐบาลทหารพม่าเริ่มนโยบายการอพยพโยกย้ายชาวบ้านในตอนกลางของรัฐไทใหญ่ มีชาวไทใหญ่ไม่น้อยกว่า 8,000 ถึง 15,000 คน หนีตายเข้ามาในไทย ซึ่ง 47% ของชาวบ้านเหล่านี้มีอายุอยู่ระหว่าง 17 ปีหรือต่ำกว่านั้น และ 45 ปี หรือสูงกว่านั้น ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การอพยพดังกล่าว เป็นการหนีมาของทั้งครอบครัว ไม่ใช่การอพยพมาหางานทำแบบปกติ ทั้งนี้ ข้อค้นพบดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าความคิดของรัฐไทย หรือกระทั่งคนไทยทั่วไปที่มีต่อการอพยพของชาวไทใหญ่ ว่าเป็นเพียงมางานทำ จึงไม่ถูกต้องนัก (SHRF 2545)




นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2539 เป็นต้นมา ทหารพม่าได้ทำการบังคับโยกย้ายชาวบ้านไม่น้อยกว่า 1,400 หมู่บ้าน ในพื้นที่กว่า 7,000 ตารางไมล์ ในรัฐไทใหญ่ตอนกลาง ซึ่งยังผลให้ชาวไทใหญ่ไม่น้อยกว่า 300,000 คน ถูกบังคับให้อพยพออกจากบ้านเกิดของตน เข้าไปอยู่ในพื้นที่รองรับทางยุทธศาสตร์ ชาวบ้านเหล่านี้ ได้ถูกบังคับให้เป็นแรงงาน ในโครงการต่างๆของพม่า ขณะเดียวกัน ก็มีชาวบ้านอีกจำนวนไม่น้อยที่พากันหลบหนี และลี้ภัยอยู่ในเขตป่า และอีกกว่าครึ่งล้านคนที่พากันหนีอพยพเข้ามาในไทย ที่ซึ่งสถานะภาพของผู้ลี้ภัยของชาวไทใหญ่ไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลไทย




จากสถิติในช่วงปี พ.ศ.2545-2547 ลำพังบริเวณชายแดนอำเภอไชยปราการ ฝาง และแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ มีชาวไทใหญ่เดินทางจากเมืองต่างๆในรัฐไทใหญ่เข้าสู่ไทยปีละไม่น้อยกว่า 10,000 คน บางเดือนสูงถึง 1,000 คน โดยชาวบ้านเหล่านี้ มาจาก เมืองลายค่า เมืองนาย เมืองกึ๋ง เมื่องน้ำจั๋ง เมืองปั่น เมืองขุนหิ้ง เมืองปูโหลง ฯลฯ ซึ่งเป็นเมืองที่ทหารพม่ามักเข้าไปยึดเอาทรัพย์สินจากคนไทใหญ่ทั้งสิ้น




จากการสัมภาษณ์และพูดคุยกับผู้หญิงพลัดถิ่นที่เดินทางมาจากพม่า ในระหว่างเดือนมกราคม 2544 ถึงมีนาคม 2545 โดย หน่วยงานที่ทำงานกับผู้พลัดถิ่นจากพม่า คือ เครือข่ายผู้หญิงไทใหญ่ (SWAN) และ มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (SHRF) อันเป็นที่มาของรายงานใบอนุญาติข่มขืน (Licence to Rape) ได้พบข้อมูลอันน่าสลดใจว่า ผู้หญิงที่ให้สัมภาษณ์จำนวน 173 คน ได้บอกเล่าเรื่องราวของการถูกทารุณกรรมทางเพศ ที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานกว่า 5 ปี (2539-2545) โดยทหารพม่า ซึ่งกระทำต่อผู้หญิงและเด็กสาวชาวไทใหญ่จำนวน 625 คน โดยในแทบทุกกรณีเป็นการข่มขืนต่อหน้ากองทหารพม่า



วิธีการข่มขืนเป็นไปอย่างโหดร้ายและทารุณ โดยเหยื่อกว่า 25 % เสียชีวิตจากการข่มขืน ในขณะที่ 61% ถูกข่มขืนรวมหมู่ จำนวนไม่น้อยของเหยื่อเหล่านี้ถูกกักขังเพื่อการข่มขืนต่อเนื่องในตลอดช่วงเวลาที่กองทหารพม่าประจำการอยู่ บางรายเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4 เดือน พื้นที่ของการข่มขืนส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณตอนกลางของรัฐไทใหญ่ ที่ซึ่งชาวบ้านกว่า 300,000 คนถูกใช้กำลังบังคับให้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในพื้นที่รองรับการอพยพนับแต่ปี 2539 เป็นต้นมา



การข่มขืนจำนวนมาก เป็นผลพวงมาจากการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบของทหารพม่า ในการใช้การข่มขืนเป็นเครื่องมือสำคัญในปฏิบัติการล้างเผ่าพันธุ์



การใช้ความรุนแรงและกำลังทางทหาร นับเป็นคุณลักษณะของรัฐแบบเก่า ที่รัฐบาลพม่าใช้เป็นยุทธวิธีอย่างต่อเนื่อง โดยตัวอย่างของแนวทางดังกล่าว ได้แก่ นโยบายตัดสี่ (ตัดอาหาร ข่าว เงินทุน และกำลังคนของกองกำลังกู้ชาติทั้งหลาย) ที่ได้ดำเนินการมานับแต่ปี 2518 ได้กลายเป็นยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาลทหารพม่าในการขยายแสนยานุภาพของตนไปยังพื้นที่ชายขอบทั้งหลาย ซึ่งได้นำมาซึ่งการทำลายพืชผล อาหาร ทรัพย์สิน การทรมานและสังหารผู้ต้องสงสัย การข่มขืน เฆี่ยนตี และการบังคับพลัดถิ่นภายในรัฐ ของชาวไทใหญ่จำนวนมาก


การเดินทางข้ามพรมแดนของผู้หญิงพลัดถิ่นจากพม่า จึงไม่ได้เพียงเป็นเรื่องราวของผู้หญิงที่ต้องการเข้ามาหางานทำ ในประเทศที่มีโอกาสทางเศรษฐกิจมากกว่าเท่านั้น แต่กลับได้แบกเอาความทรงจำอันโหดร้ายมาตลอดเส้นทาง




ข้อมูลจาก


พรมแดน รัฐชาติ และเส้นทางการต่อสู้ของผู้หญิง โดยดร. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Military abuse fuels deteriorating human rights and humanitarian situation for children in eastern Burma

30 เม.ย. 2551

Military abuse fuels deteriorating human rights and humanitarian situation for children in eastern Burma


Media Release - Embargoed until April 30th 2008 -

Military abuse fuels deteriorating human rights and humanitarian

situation for children in eastern Burma

(Bangkok, April 30th 2008) – The aggressive expansion and local enforcement of military rule in

Karen State of eastern Burma by the country's ruling regime have involved systematic

violations of the rights of children and led to a downward spiral in their health, education, and

opportunities for personal and social development, the Karen Human Rights Group (KHRG)

said today in a new report.

The State Peace and Development Council (SPDC), which currently rules Burma, has worked

to extend military control over the entire civilian population in Karen State, enforced heavy

restrictions on travel and trade and relied on persistent exploitation in the form of forced labour

and other extortion to support local army units. These abuses have brought increased

household impoverishment, undermined rural social structures and exacerbated the region's

humanitarian crisis. For children, however, these abuses have been especially disastrous.

"The effects of these abuses have been particularly harmful to children due to their different

roles in the household and community, their greater physical and emotional vulnerability and

the smaller degree of control that they are able to exert over their own lives," said Naw Rebecca

Dun, Programme Director of KHRG.

Despite the frequency and intensity of ongoing military abuse, children, their families and

communities have adopted creative and daring strategies to resist abuse and claim their rights.

"While Burma's military regime has shown blatant disregard for the rights of children in Karen

State, local children and other villagers have courageously resisted abuse in an effort to take

control of their lives and claim their rights," Naw Rebecca Dun said. Drawing on the voices of

local villagers living in Karen State, KHRG today released a report investigating the SPDC's

perpetration of widespread and systematic military abuses; the effects these abuses have on

the region's children and their families; and the ways in which they and their communities are

responding, resisting and claiming their rights.

The 174-page report, Growing up under militarisation: Abuse and agency of children in Karen

State presents an in-depth picture of children's lives in rural Karen State, and is the most

comprehensive account ever produced on the children's rights situation in Burma. Through the

personal narrative of local villagers, drawn from over 160 interviews with KHRG field

researchers, this report finds that systematic military abuse has disastrously affected the health,

education, work roles and personal and social development of the vast majority of children in

Karen State and shows no signs of slowing down despite the military's claims of a potential

return to civilian rule. "If Burma's military leaders are sincere about a return to civilian rule, they

can begin by ending the abusive policy of militarisation which has so catastrophically

undermined the health and development of children across Karen State and other rural areas in

the country," Naw Rebecca Dun said.

A media kit including a copy of the report, a report briefer, and a DVD with recent footage of displaced

children in Karen State is available on demand. For print quality photos for inclusion in news articles,

please email khrg@khrg.org with the ID number of desired photos from the photo sheet below.

About KHRG

The Karen Human Rights Group (KHRG) was founded in 1992 and documents the situation of villagers

and townspeople in rural Burma through their direct testimonies, supported by photographic and other

evidence. KHRG operates completely independently and is not affiliated with any political or other

organisation. Examples of our work can be seen on the World Wide Web at www.khrg.org, or printed

copies may be obtained subject to approval and availability by sending a request to khrg@khrg.org.

Contact

For more details of the report, or interviews, please contact KHRG spokesperson Naw Rebecca Dun via

e-mail at khrg@khrg.org or by phone at +66 (0) 85-2685519.

วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2551 เวลา 9.30 – 13.30 น. ณ ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ ชั้น 2 อาคารเกษมอุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เวทีระดมความเห็น ก้าวให้พ้นการเมืองสองขั้ว: ประชาชนต้องมีทางเลือก


เวทีประชุมระดมความเห็นนักวิชาการและเครือข่ายประชาสังคม เรื่อง

ก้าวให้พ้นการเมืองสองขั้ว: ประชาชนต้องมีทางเลือก



วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2551 เวลา 9.30 – 13.30 น.

ณ ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ ชั้น 2 อาคารเกษมอุทยานิน

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



08.30 – 9.00 น. ลงทะเบียน



09.00 – 10.30 น. เสนอความคิดเห็นนำโดย

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ เกษียร เตชะพีระ

โคทม อารียา สมชาย ปรีชาศิลปกุล ศรีประภา เพชรมีศรี

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ฉันทนา บรรพศิริโชติ ประภาส ปิ่นตบแต่ง

ไพโรจน์ พลเพชร กฤติยา อาชวนิจกุล ผาสุก พงษ์ไพจิตร

ศรีสว่าง พั่ววงศ์แพทย์ มารค ตามไท ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ



10.30 -13.00 น. ระดมความคิดเห็นข้อเสนอจากผู้เข้าร่วมประชุม

ดำเนินการประชุมโดยกฤตยา อาชวนิจกุล



14.00 -15.00 น. แถลงข่าว







หมายเหตุ
วิทยากรผู้นำเสนอประเด็นบางท่านยังอยู่ในระหว่างติดต่อ

วันพุธที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๑ ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ

30 เม.ย. 2551

เวทีสมัชชาผู้ใช้แรงงาน ปฏิรูปประกันสังคมสู่การบริหารงานอย่างมีส่วนร่วมของผู้ประกันตนและขยายการคุ้มครองสู่แรงงานนอกระบบ




กำหนดการเวทีสมัชชาผู้ใช้แรงงาน

“ ปฏิรูปประกันสังคมสู่การบริหารงานอย่างมีส่วนร่วมของผู้ประกันตน

และขยายการคุ้มครองสู่แรงงานนอกระบบ ”

ในวันพุธที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๑ ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.

ณ ห้องประชุมสโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ

ร่วมจัดโดย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย , มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

มูลนิธิเพื่อนหญิง , มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)



๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน/รับเอกสาร

๐๙.๐๐ – ๐๙.๑๕ น. ชมสารคดี วิดีทัศน์ “ ระบบประกันสังคมในประเทศไทย ”

๐๙.๑๕ – ๐๙.๓๐ น. กล่าวต้อนรับและรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดเวทีสมัชชาผู้ใช้แรงงาน

โดย นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย

ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

๐๙.๓๐ – ๐๙.๔๕ น. กล่าวเปิดงาน

โดยท่าน อุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

๐๙.๔๕ – ๑๐.๒๕ น. ปาฐกถานำ เรื่อง “การบริหารประกันสังคม เพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิต

ของผู้ใช้แรงงาน”

โดย นพ. วิชัย โชควิวัฒน์ รองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ

(สสส.) หรือผู้แทน

และ ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๐.๒๕ – ๑๐.๔๐ น. การแสดงละครสะท้อนชีวิตแรงงานนอกระบบ

โดย คณะเครือข่ายแรงงานนอกระบบ

๑๐.๔๐ - ๑๑.๐๐ น. ประกาศเจตนารมณ์“ ปฏิรูปประกันสังคมสู่การบริหารงานอย่างมีส่วนร่วม และ คุ้มครองแรงงานนอกระบบ”

๑๑.๐๐ – ๑๑.๑๕ น. พัก - อาหารว่าง

๑๑.๑๕ – ๑๒.๓๐ น. เวทีเสวนา “ผ่าโครงสร้างประกันสังคม สู่การบริหารงานอย่างมีส่วนร่วม

ของผู้ใช้แรงงาน : ทิศทางไปทางไหน..?”

นำเสนอผลการรับฟังความคิดเห็นการปฏิรูปประกันสังคม โดย

ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ ผู้อำนวยการมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน





เสนอข้อคิดเห็นโดย

นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม

นายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนา

เอกชน (กป.อพช.)

นางสุจินต์ รุ่งสว่าง ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ

นายอุดมศักดิ์ บุพพนิมิตร ประธานจัดงานวันแรงงานแห่งชาติปี ๒๕๕๑

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

นางสิริวัน ร่มฉัตรทอง เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย

ดำเนินรายการโดย ดร.ยุพดี ศิริสินสุข คณะเภสัชกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๒.๓๐ – ๑๓.๓๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๓๐ – ๑๕.๐๐ น. เวทีเสวนา “การขยายความคุ้มครองประกันสังคม ครอบคลุมแรงงานทุกภาคส่วน”

โดย นายสมคิด ด้วงเงิน ประธานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ

นายดำรง สังวงศ์ เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา

นายคำปึก ขวัญกล้า กลุ่มคนงานคุ้ยขยะ

นางอาภา หน่อตา กลุ่มเอ็มพาวเวอร์

นางกนกวรรณ โมรัฐเสถียร กลุ่มคนทำงานบ้าน

ผู้แทนกลุ่มคนขับรถแท็กซี่ / รถรับจ้าง

นายรักษ์ศักดิ์ โชติชัยสถิตย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านประกันสังคม

ผู้อำนวยการ โครงการขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ

นายชฤทธิ์ มีสิทธิ์ หัวหน้าโครงการพัฒนานโยบายสาธารณะ

แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ

ดำเนินรายการโดย

รศ. แล ดิลกวิทยรัตน์ ศาสตราภิชาน

(คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

๑๕.๐๐ – ๑๕.๑๕ น. พัก - อาหารว่าง

๑๕.๑๕ – ๑๖.๐๐ น. การแสดงดนตรีแรงงาน โดย วงภราดร

๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. สรุปเวทีเสวนา เช้าและบ่าย โดย นายจะเด็จ เชาวน์วิไล

ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนหญิง

กล่าวปิดการเสวนา โดย นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย

ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

๑๖.๓๐ น. กิจกรรมปิด



หมายเหตุ : 1. จัดแสดงนิทรรศการตลอดวัน

2. ออกร้านขายสินค้าจากเครือข่ายพี่น้องแรงงานนอกระบบ

3. ผู้ร่วมงานจะได้รับสื่อรณรงค์ แผ่นพับ โปสเตอร์ และเสื้อยืดรณรงค์คนละ 1 ตัว











โครงการ

เวทีสมัชชาผู้ใช้แรงงาน

เรื่อง “ ปฏิรูปประกันสังคมสู่การบริหารงานอย่างมีส่วนร่วมของผู้ประกันตน

และขยายการคุ้มครองสู่แรงงานนอกระบบ”

๒. หลักการและเหตุผล :

รัฐธรรมนูญปีพ.ศ.2550 ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนใน ‘มาตรา 84 (7) ส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี จัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคีที่ผู้ทำงานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน จัดระบบประกันสังคม รวมทั้งคุ้มครองให้ผู้ทำงานที่มีคุณค่าอย่างเดียวกันได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ’ และนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นางอุไรวรรณ เทียนทอง) ‘นโยบายข้อที่ 5 แรงงานนอกระบบ: ขอให้เร่งดำเนินการให้แรงงานนอกระบบได้รับการคุ้มครองดูแลในเรื่องสิทธิ สวัสดิการ และผลประโยชน์ตอบแทนการทำงานที่เหมาะสมเท่าเทียมกับแรงงานในระบบด้วยการพิจารณาขยายการประกันสังคมออกไปยังกลุ่มอาชีพต่างๆ



สำนักงานประกันสังคมได้จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นเวลากว่า ๑๖ ปีแล้ว โดยกระบวนการขับเคลื่อนและผลักดันของผู้ใช้แรงงานในระบบ ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมมีผู้ประกันตนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนถึงกว่าเก้าล้านคน เนื่องจากการขยายความคุ้มครองไปยังนายจ้างที่มี ลูกจ้างตั้งแต่ ๑ คนขึ้นไป และในอนาคตอันใกล้นี้แนวทางการบริหารของสำนักงานประกันสังคมต้องขยายความคุ้มครองไปยังกลุ่มอาชีพอื่นๆที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจนอกระบบ ซึ่งจะมีผู้ประกันตนเพิ่มมากขึ้นในระบบประกันสังคม ในขณะเดียวกันเงินกองทุนประกันสังคมก็เพิ่มขึ้นถึงสี่แสนล้านบาท แต่การบริหารงานของสำนักงานประกันสังคมยังมิได้มีการพัฒนาเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานเพื่อรองรับการเติบโตแต่อย่างใด และยังขาดการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นผู้ประกันตนอย่างแท้จริง



ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น ในประเด็นการบริหารสำนักงานประกันสังคม และการผลักดันให้ประกันสังคมขยายความคุ้มครองไปถึงผู้ประกอบอาชีพต่างๆในภาคเศรษฐกิจนอกระบบ และขยายสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมให้เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นประเด็นที่สังคม นักวิชาการ และหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการสร้างหลักประกันทางสังคมให้กับคนจนและผู้ด้อยโอกาส (ซึ่งกลุ่มผู้ใช้แรงงานทั้งในและนอกระบบ เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของความเป็นคนจนและคนด้อยโอกาส) ให้ความสนใจและอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงตามที่ได้มีข้อเสนอทั้งจากฝ่ายวิชาการและผู้ใช้แรงงานเอง



แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบและแผนงานสุขภาวะในองค์กร สสส.โดยความร่วมมือกับภาคีหุ้นส่วน จึงได้พิจารณาถึงแนวทางการสื่อสารและการสร้างกระแส เพื่อผลักดันให้เกิดการพิจารณาและปฏิบัติการทางนโยบายที่มีผลต่อการคุ้มครองและการสร้างหลักประกันทางสังคมแก่ผู้ใช้แรงงานในอนาคตอันใกล้ “เวทีสมัชชาผู้ใช้แรงงาน” ซึ่งเป็นเวทีที่เปิดพื้นที่ทางสังคมให้แรงงานนอกระบบได้แสดงตัวตนและปัญหาความต้องการต่อสังคม นักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้เห็นปัญหาและตัวตนรวมถึงเอาใจใส่มากขึ้น จากผลการจัดเวทีสมัชชาแรงงานนอกระบบก่อนที่จะถึงวันแรงงานแห่งชาติในปีที่ผ่านมา เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อหน่วยงานนโยบายที่นำข้อเสนอและคำประกาศเจตนารมณ์ของแรงงานนอกระบบไปขับเคลื่อนต่อในรูปของคณะทำงานต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันยังมีการดำเนินงานบางส่วนต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน และกองเศรษฐกิจการเกษตรได้มีโครงการศึกษาปัญหา สถานการณ์และผลกระทบของเกษตรพันธสัญญา



ด้วยเหตุผลดังกล่าวแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ,แผนงานพัฒนาสุขภาวะองค์กรร่วมกับภาคีหุ้นส่วนหลักซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย, มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย,มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน, มูลนิธิเพื่อนหญิง,และศูนย์ยุทธศาสตร์วิชาการแรงงานนอกระบบ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้วิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกที่เกิดขึ้นจากเวทีสมัชชาในปีที่ผ่านมาและมีความเห็นร่วมกันว่า ควรจะคงเวทีสมัชชาผู้ใช้แรงงานโดยรวมทั้งในและนอกระบบอย่างต่อเนื่อง ประเด็น”ประกันสังคม” จึงเป็นประเด็นหลักและประเด็นร่วมของกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ได้ตกลงร่วมกันเพื่อผลักดันประเด็นที่เป็นปัญหาและความต้องการของผู้ใช้แรงงานต่อหน่วยงานผู้มีบทบาทในการกำหนดนโยบายผ่านช่องทางการสื่อสารกับสังคม



๓. กรอบคิดและยุทธศาสตร์ :

เปิดเวทีสาธารณะเพื่อนำเสนอความต้องการของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะในประเด็นนโยบายการคุ้มครองและการขยายหลักประกันทางสังคมของภาครัฐต่อผู้ใช้แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ ผ่านกลไกเครื่องมือที่มีอยู่อย่างคือสำนักงานประกันสังคม เพื่อผลักดันให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารงานสำนักงานประกันสังคม การขยายสิทธิประโยชน์คุ้มครองให้แก่ผู้ประกันตนและการขยายความคุ้มครองไปสู่ผู้ประกอบอาชีพในภาคเศรษฐกิจนอกระบบที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง



๔. เป้าหมายและวัตถุประสงค์ :

๔.๑. เป้าหมาย :

ข้อเสนอและประเด็นสาระสำคัญของผู้ใช้แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ ต่อระบบประกันสังคมที่ครอบคลุมทั่วถึงได้รับการเสนอสู่สาธารณะ หน่วยงานที่มีบทบาทหลักและมีการตอบสนองจากภาครัฐในการดำเนินนโยบาย



๔.๒. วัตถุประสงค์ :

๑. เพื่อนำเสนอและผลักดันให้มีกระบวนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานสำนักงานประกันสังคมอย่างมีส่วนร่วม

๒. นำเสนอแนวทางในการขยายสิทธิประโยชน์ของการบริการประกันสังคม และการขยายการคุ้มครองไปยังผู้ประกอบอาชีพในเศรษฐกิจนอกระบบที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามการตอบสนองจากภาครัฐในการดำเนินนโยบายดังกล่าว

๓. สร้างกระแสให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของความต้องการการมีส่วนร่วม ปัจจัยและข้อจำกัดของการบริหารจัดระบบประกันสังคมในปัจจุบันและการขยายประเด็นสังคมสู่แรงงานนอกระบบให้ครอบคลุมทั่วถึง เพื่อเป็นแรงผลักดันร่วมกับขบวนการของผู้ใช้แรงงาน