วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

หลีกหนี...ความเครียด




วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลา 23:08:43 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

หลีกหนี...ความเครียด

โอ๊ย ! เครียดจังเลย...

ต้องมีสักวัน หรือหลายวันที่เราบ่นกันแบบนี้

แล้วความเครียดนี่แหละก่อเกิดโรคภัยให้เราหลายสถาน แบบที่เรียกว่านับกันไม่หวาดไม่ไหวเลยทีเดียว

อย่างเช่นว่า...โรคทางเดินอาหาร ปวดศีรษะไมเกรน ปวดหลัง โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ติดสุรา โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ภูมิคุ้มกัน ต่ำลง เป็นหวัดง่าย อุบัติเหตุขณะทำงาน การฆ่าตัวตาย รวมถึงมะเร็ง

แล้วเราจะหลีกเลี่ยงความเครียดได้อย่างไร ?

ดร.รุ้งระวี นาวีเจริญ อาจารย์พยาบาลสภากาชาดไทย มีคำแนะนำดี ๆ หลายประการ

อย่าเริ่มต้นแก้ความเครียดด้วยการกินอาหารและดื่มเหล้า เพราะจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากการกินหรือดื่มชดเชยเพิ่มมากขึ้นจนเกินความต้องการของร่างกาย สุดท้าย อาจนำไปสู่โรคอ้วนหรือติดเหล้าอย่างหนัก และมีโรคแทรก เช่น หลอดเลือดตีบตันอย่างรวดเร็วจนในที่สุดจะควบคุมความดันไม่ได้

กล้า แสดงความคิดเห็นและเจรจาต่อรองในทางที่ถูกต้อง คนเราทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นที่คาดหวังของใครเสมอ ไปว่า ทำงานได้ดีหรือเลิศเลอ นอกจากนี้ยังควรหัดรู้จักปฏิเสธ รู้จักต่อรอง และเคารพสิทธิของผู้อื่น ในทางที่เหมาะสมทั้งเวลาและสถานที่

ห้ามใช้วิธีการสูบบุหรี่เพื่อระบายความเครียด นอกจากจะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพแล้ว ปัจจุบันสังคมยังเริ่มต่อต้านการสูบบุหรี่อีกด้วย

หา วิธีผ่อนคลายความเครียดด้วยตนเองทุกวัน เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การทำสมาธิ การอ่านหนังสือที่สนใจ แต่ควรเป็นเรื่องผ่อนคลายสมอง เช่น หนังสือการ์ตูน

การ บริหารเวลาให้เหมาะสม ผู้คนในสังคมปัจจุบันต้องทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ก่อให้เกิดความเร่งรีบจนกลายเป็นการกระตุ้นให้เกิดความเครียด มีพฤติกรรมหงุดหงิด

โมโห ง่าย ดังนั้นถ้ารู้ตนเองว่ามีลักษณะดังกล่าวจำเป็นต้องรู้จัก เลือกและจัดการเวลาให้เหมาะสม ในขณะเดียวกันก็ควรรู้จักขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นในเวลาอันสมควร รวมทั้งการรู้จักจัดลำดับความสำคัญของงานด้วย

รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาหรือเป็นคนยืดหยุ่น ไม่ ยึดติดกับเรื่องใด ๆ มากจนเกินไป ควบคุมในสิ่งที่ท่านสามารถควบคุมได้ และละทิ้งสิ่งที่ท่านไม่สามารถควบคุมได้ คิดเสียว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ถ้าเราได้พยายามจนเต็มความสามารถแล้ว การเป็นคนยืดหยุ่นอาจทำให้มีพันธมิตรมากกว่ามีศัตรูนะคะ

สร้างคุณค่าให้แก่ตนเองด้วยการเริ่มต้นรู้สึกดี ๆ กับตนเองเสียก่อน รู้จักสำรวจตนเอง รู้จักการให้และเสียสละ ทำสิ่งดี ๆ ให้แก่ผู้อื่นมากเท่าไร ยิ่งทำให้ท่านมีความรู้สึกดีต่อตนเองมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าชีวิตจะยุ่งสักปานใด

รู้จัก ตั้งเป้าหมายที่เป็นจริงและคาดหวังว่าจะไปให้ถึง ระยะแรกอาจตั้งเป้าหมายระยะสั้น เมื่อทำได้จะเป็นแรงจูงใจที่อยากจะทำได้อีก และต่อมาจึงตั้งเป้าหมายระยะยาว แต่อย่าลืมว่าการตั้งเป้าหมายต้องกำหนดในเรื่องที่เป็นไปได้ ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันหรือเกินตัวจนไปไม่ถึงนะคะ

นอนพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง การ นอนถือเป็นการผ่อนคลายอย่างหนึ่ง อาจไม่ต้องถึง 8 ชั่วโมงก็ได้ เพราะบางคนนอน 4-5 ชั่วโมงก็ถือว่าเพียงพอ แต่บ่าย ๆ ถ้ารู้สึกว่าเพลียอาจงีบสัก 15-20 นาทีให้รู้สึกสดชื่นและมีพลังที่จะทำงานต่อไป

มีเพื่อนหรือสัตว์เลี้ยงที่ท่านสามารถพูด ระบายความทุกข์ได้ ไม่หมกมุ่นอยู่คนเดียว การมีเพื่อนรู้ใจซึ่งสามารถรับฟังปัญหาช่วยให้ท่านสามารถพูดระบายความรู้สึก หรือความทุกข์ จนในที่สุดท่านอาจคิดได้ว่าเรื่องที่ว่าใหญ่และเป็นปัญหาอาจกลายเป็นเรื่อง ไร้สาระหรือมีหนทางแก้ไขได้

เหล่านี้เป็นคำแนะนำดี ๆ เพื่อลดความเครียด ซึ่งช่วยให้เราห่างไกลโรคได้

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1264144228&grpid=07&catid=no&sectionid=0225

เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย




วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลา 11:05:41 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

คอลัมน์ STORY
โดย ทีมงาน Dlife



ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยามนี้มนุษย์ทุกคนกำลังเผชิญกับชะตากรรมที่เราก่อขึ้น

ชะตากรรมที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ

โลก กำลังปวดร้าว เป็นไข้จากแผลอักเสบเรื้อรังที่เราได้สร้างขึ้นมาเนิ่นนาน ถ้าโลกเป็นคนแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพราะกระดูกกำลังร้าว อุณหภูมิที่สูงขึ้นก็คืออาการไข้ที่เกิดขึ้นจากความบอบช้ำภายในร่างกาย

เอา เป็นว่า ถ้านับจากยุคเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกที่เป็นส่วนสำคัญในการทำลายชั้นบรรยากาศ และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้โลกของเราร้อนขึ้นนั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชนิดหลักอย่างคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีการพบว่าเพิ่มขึ้นถึง 1 ใน 3 ส่วน และคาดเดากันว่ามันจะเพิ่มขึ้นอีกจากกิจกรรมของมนุษย์อย่างฉุดไม่อยู่ถ้าเรา ไม่เห็นความสำคัญของการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหลาย

อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก 0.8 องศาเซลเซียสในช่วง 150 ปีที่ผ่านมา จนถึงวันนี้มีการ

คาด การณ์ว่าอุณหภูมิที่จะเพิ่มขึ้นอาจเป็นไปได้ถึง 6 องศาเซลเซียส ซึ่งนั่นก็หมายความว่าโลกจะร้อนขึ้นพร้อม ๆ กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวจะเปลี่ยนแปลง

ดังที่ IPCC (คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การสนับสนุนของสหประชาชาติ เพื่อหามาตรการรับมือกับภาวะโลกร้อน เมื่อปี ค.ศ. 1988) พยากรณ์ว่าภายในสิ้นศตวรรษนี้ถ้ามนุษย์ยังทำให้โลกร้อนขึ้นในอัตราเดียวกัน กับปัจจุบัน โลกจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 6 องศาเซลเซียส

ถ้าใครอยากรู้ว่าแต่ละองศาที่โลกเป็นไข้นั้นรุนแรงแค่ไหน อ่านสิ่งที่ Mark Lynas รวบรวมไว้ใน Six Degrees จะกระจ่างแจ้ง

แต่สำหรับวันนี้ วันที่โลกกำลังป่วยหนัก

บ้านเราสัมผัสได้เลยว่า อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงบ่อยเหลือกำลัง วันนี้ร้อน พรุ่งนี้เย็น

กรมอุตุนิยมวิทยาทำงานหนักมาก เพราะต้องแจ้งเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังภาวะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ไม่ ว่าอุณหภูมิเย็นลง 1-4 องศาเซลเซียส หรือร้อนขึ้น 1-4 องศาเซลเซียสก็ล้วนทำให้เราสะบัดร้อนสะบัดหนาวเป็นไข้เหมือนกับโลกได้ทั้ง นั้น หากไม่ระวังรักษาสุขภาพ

ที่น่าสนใจคือ ยามนี้หลายคนวิตกกังวลถึงคำทำนายเรื่องโลกแตก หรือสถานการณ์ดังเช่นในภาพยนตร์เรื่อง 2012 หากอากาศยังคงเป็นเช่นนี้หลายคนจินตนาการไปไกลว่า เมืองไทยอาจจะมีหิมะตกเกิดขึ้นจริงตามคำทำนายของโหรดัง โสรัจจะ นวลอยู่ ก็เป็นได้

.............

ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต...ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับไปใช้ใหม่

พูดถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยแล้ว คนคนหนึ่งที่เราต้องจับเข่าคุยด้วยก็คือ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หรืออาจารย์สิงห์

เขาเป็นอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาปนิกออกแบบอาคารแนวรักษา

สิ่งแวดล้อม เจ้าของบริษัทเฟอร์นิเจอร์จากเศษขยะภายใต้ชื่อ

แบรนด์ OSISU เรียกได้ว่า คร่ำหวอดในวงการดูแลสิ่งแวดล้อมมาพอสมควรทีเดียว

มุมมองของอาจารย์สิงห์ในสภาวะอากาศในตอนนี้ก็คือ...

"ผม ไม่ได้คิดอะไรมากในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศในแง่ที่ว่า พอดีผมเพิ่งกลับจากประเทศพม่า ผมไปที่นั่นแล้วมีความรู้สึกว่า ทั้งที่เป็นประเทศที่ติดกัน แถมประเทศของเขายังพัฒนาน้อยกว่าเรามาก แต่คุณภาพอากาศของบ้านเราสู้เขาไม่ได้เลย ทำให้เห็นว่า การที่มีคนอยู่เยอะ บางทีก็ทำให้เกิดปัญหา หากต่างคนต่างอยู่ ไม่ช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม จนกลายเป็นความเคยชินไป ซึ่งผมก็รู้สึกงงงวยกับตรงนี้มาก ว่าทำไมบ้านเราค่อนข้างจะละเลยกับปัญหานี้...

...ส่วนเรื่องโลกร้อน มันมีคำศัพท์ที่สำคัญอยู่ 2 คำ นั่นคือ ภาวะโลกร้อน (global warming) กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ตรง global warming อาจจะดูเป็นเรื่องใหญ่ จัดการได้ยากหน่อย แต่ตรงที่เป็น climate change เราสามารถที่จะจัดการกับมันได้ทันที เพราะนี่คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์โดยตรง ซึ่งสภาวะนี้เกิดขึ้นมาได้สักพักแล้ว ถ้าร่วมมือกันแก้ไขตั้งแต่ตอนนี้ ผลกระทบของมันคงไม่รุนแรงมากนัก"

ในฐานะที่อาจารย์สิงห์มีส่วนร่วมใน การประชุมปัญหาโลกร้อน ที่เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เมื่อปลายปีที่แล้ว อาจารย์ได้ขยายความเรื่อง global warming ในอีกมุมมองหนึ่งให้ฟังว่า

"ส่วนในเรื่องของการคาดการณ์ในประเด็น เรื่อง global warming ผมเป็นหนึ่งในตัวแทนจากฝั่งเอเชีย ได้มีโอกาสไปเข้าร่วมการประชุมปัญหาโลกร้อนที่กรุงโคเปนเฮเกน สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นก็คือ มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง นำข้อมูลมาเสนอสื่อมวลชนว่า ภาวะ global warming นั้นไม่มีอะไร ผมได้ยินแล้วรู้สึกอึ้งเลย เพราะข่าวเหล่านี้ไม่เป็นประโยชน์ต่อโลกเราเลย หลายฝ่ายใช้เวลานานเพื่อศึกษาและรณรงค์เรื่องโลกร้อน แต่ข่าวเหล่านี้ทำลายความพยายามที่พวกเขาทำมานานนับ 10 ปีเลยทีเดียว ต่อให้เป็นเรื่องจริง ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะไปบอกคนบนโลกนี้ว่า เราไม่จำเป็นต้องดูแลโลก"

ในเวทีโคเปนเฮเกน ผมมองเห็นปัญหาความขัดแย้งที่สำคัญนั่นก็คือ แต่ละประเทศไม่สามารถที่จะร่วมมือกันได้แบบ 100% เพราะยังคำนึงถึงผลประโยชน์บางอย่างอยู่ แต่ในแง่ดี ผมก็เห็นถึงความพยายามรักษาสภาพแวดล้อมในหลายส่วนของโลกนั้นมีมากกว่าผมอีก อย่างเช่น ความพยายามช่วงหลายปีที่ผ่านมาในการค่อย ๆ เปลี่ยนระบบจราจร จากการใช้รถยนต์มาเป็นการใช้รถจักรยาน อย่างในโคเปนเฮเกนเอง หรือในนิวยอร์ก ซึ่งเขาพยายามปรับเปลี่ยนให้คนหันมาใช้จักรยานโดยที่คนไม่รู้ตัว

"หรือ อย่างการช่วยเหลือคอมมิวนิตี้ด้วยการใช้ศิลปะการแสดง อย่างเช่นที่อังกฤษหรือซูดาน ที่ศิลปินร่วมมือกันทำ ecodevelopment เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างความเข้าใจในคนหมู่มากเข้าใจในปัญหาโลกร้อน"

สำหรับวิธีปฏิบัติเพื่อช่วยกันลดโลกร้อนนั้น อาจารย์ได้ให้คาถาดีที่สั้น ๆ ง่าย ๆ ว่า

"ส่วน วิธีการลดโลกร้อนนั้น กฎที่ง่ายที่สุดก็คือ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับไปใช้ใหม่ ในตอนนี้เราดึงทรัพยากรจากโลกมาใช้เยอะมาก แล้วโลกรักษาตัวเองไม่ทัน เพราะฉะนั้น การใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับไปใช้ใหม่ จึงเป็นการชะลอการใช้ทรัพยากรโลก ถ้าทุกคนสามารถที่จะช่วยกันได้ จะเป็นเรื่องที่ดีมาก"

ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์..."ผมปั่นจักรยานไปทำงาน 5 ปีแล้ว"

ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์ หรือซัน เป็นคนรุ่นใหม่อีกคนหนึ่งที่ใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่เห็นได้ชัดก็คือ สมัยเรียนเขาปั่นจักรยานจากบ้านไปเรียนหนังสือ จนปัจจุบันนี้เขายังคงเลือกใช้บริการพาหนะ 2 ล้อนี้ไปทำงาน งานที่เขาทำก็ยังเกี่ยวข้องกับ

สิ่งแวดล้อมอีกเช่นกัน เพราะซันทำงานอยู่ที่มูลนิธิโลกสีเขียว ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่กิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา

ซันมองภาวะอากาศแปรปรวนในช่วงที่ผ่านมาว่า...

"อัน ที่จริง ปัญหาอากาศแปรปรวนเหล่านี้ อาจจะไม่ใช่ภาวะโลกร้อนเสียทีเดียวก็ได้ เพราะภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องที่ต้องดูกันในระยะเวลาหนึ่ง เพราะต้องดูองค์ประกอบโดยรวมมากมาย ทั้งการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือปริมาณน้ำฝนว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร หากจะมาสรุปแล้วโยนไปว่า 2-3 ปีที่ผ่านมาอากาศแปรปรวน หรือเราออกไปข้างนอกแล้วรู้สึกว่าแดดร้อน แล้วโยนไปเป็นเรื่องโลกร้อนหมด ก็อาจจะถูกนักวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งตอบโต้มาได้ แต่ถึงอย่างไร ภาวะอากาศแปรปรวนนี้ เราสามารถมองเป็นสัญญาณเตือนว่า นี่อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนของสภาพแวดล้อมโลกก็ได้"

ส่วนทางฝั่งมูลนิธิโลกสีเขียวนั้น ตอนนี้ก็ก้าวเข้ามาจับประเด็นเหล่านี้อย่างเต็มตัว

"มูลนิธิโลกสีเขียว ทำงานเพื่อส่งเสริมให้มนุษย์สามารถใช้ชีวิตอย่างเป็นมิตรกับชีวิตอื่น ๆ โลกไม่ใช่ที่อยู่ของมนุษย์เพียงอย่างเดียว ถ้ามีแต่มนุษย์ เราเองก็อยู่ไม่ได้ โลกที่เหมาะสมต่อการดำรงอยู่ของเรา ย่อมต้องเป็นโลกที่สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่โครงการของมูลนิธิจึงเน้นไปที่พื้นที่ต่างจังหวัด แต่ในช่วงนี้ทางมูลนิธิกำลังเน้นโครงการ "นักสืบสายลม" ซึ่งเน้นทำงานในกรุงเทพฯและเขตเมือง เพราะเราเห็นปรากฏการณ์คนเข้ามาอยู่อาศัยในเขตเมืองมากกว่าชนบท โดยเฉพาะในช่วงปี 2003-2004 ที่มีการศึกษาแล้วพบว่า ตอนนี้มีมนุษย์อยู่อาศัยในเมืองมากถึง 50% แต่เหมือนกับว่าในเขตเมือง มนุษย์กับ
สิ่งแวดล้อมไม่สามารถที่จะเชื่อมติดกันได้ ทางมูลนิธิจึงตัดสินใจทำงานด้านสิ่งแวดล้อมในเมือง โดยเลือกที่จะทำเรื่องคุณภาพอากาศในเมืองก่อนเป็นลำดับแรก"

ส่วนการช่วยรักษาสภาพแวดล้อม ซันแนะว่า

"ก่อน อื่น คุณต้องอินกับมันก่อน เพราะวิธีการรักษาสิ่งแวดล้อมหรือประหยัดพลังงานมีมากมายหลายวิธี ไม่ใช่ว่ามีแค่หิ้วถุงผ้า ปลูกต้นไม้ หรือประหยัดน้ำประหยัดไฟเท่านั้น มันยังมีอีกหลายวิธี แต่อย่างว่า ต้องอินกับมันก่อน อย่างตัวผมเอง ผมเลือกที่จะใช้จักรยานเป็นพาหนะเดินทางในชีวิตประจำวัน นอกจากจะไม่ปล่อยคาร์บอนแล้ว ยังสะดวก รวดเร็วกว่าการนั่งรถเมล์เป็นไหน ๆ ไม่ต้องกังวลรถติด หรือจะมีที่จอดรถหรือเปล่า จนถึงวันนี้ก็เข้า 5 ปีแล้วที่หันมาขี่จักรยานเต็มตัว พร้อมทั้งค่อย ๆ ปรับมาใช้ชีวิตที่เขียวขึ้น เช่น เลือกกินอาหารท้องถิ่น ไม่รับถุงพลาสติก ไม่ซื้ออาหารที่ใส่ภาชนะโฟม ปลูกผักกินเองที่บ้าน เข้ามาทำงานในองค์กร

สิ่งแวดล้อม ได้ทำกิจกรรมรณรงค์ ปลูกจิตสำนึกเรื่อง

สิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชน หรือตามโรงเรียนต่าง ๆ"

ตุนท์ มหาดำรงค์กุล...คิดเล็กก็ช่วยโลกได้

เขา เป็นผู้บริหารที่ดูแบรนด์นาฬิกาดัง ๆ หลายยี่ห้อ แต่ด้านหนึ่งก่อนที่เขาจะมาเป็นผู้บริหารของโทรคาเดโร กรุ๊ป เขาจบทางด้านเกษตรกรรมมา เคยไปใช้ชีวิตอยู่ในฟาร์ม อยู่กับธรรมชาติ ซึ่งธรรมชาติเกิดอาการเปลี่ยนแปลง เขาแสดงความคิดเห็นว่า

"ผมคิดว่า มันมีหลายทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศนะ ทฤษฎีเหมือนในหนัง 2012 ก็ใช่ ปัญหาที่เกิดขึ้น โลกมันเป็นของมันอยู่แล้ว จะโลกร้อน หรือ climate change ซึ่งผมก็เชื่อว่าเกิดขึ้นแล้ว แต่สิ่งที่เราต้องคิดกันต่อ

คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้...One man cannot change the world ! ผมว่าเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องของกรรม ซึ่งมี 3 ระดับนะ หนึ่งคือกรรมของตัวเราเอง สองคือกรรมของประเทศ และสามคือกรรมของโลก"

...ต่อให้เราไปดูดวงจากหมอดูที่แม่นแค่ไหนว่า เราจะอยู่ได้ 90-100 กว่าปี แต่ถ้าประเทศเราเลี่ยงการเกิด climate change ไม่ได้ เราก็มีสิทธิ์ที่จะโดนผลกระทบ โดยที่เราจะอยู่กับมันอย่างไร ซึ่งเราต้องเอาหลักพุทธเข้ามาช่วยด้วยถึงจะทำให้เราอยู่ได้

สิ่งที่ ทำได้ตอนนี้ผมว่า เราสามารถช่วยโลกได้จากเรื่องใกล้ตัวของเรานะ อย่างผมก็ติดพฤติกรรมการแยกขยะมาจากเรียนที่ญี่ปุ่น ผมว่าเรื่องนี้เราสามารถทำได้เลย คนเราอย่าคิดใหญ่ ให้คิดเล็ก ๆ เพราะถ้าเราคิดใหญ่เราอาจจะหมดกำลังใจ เริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ ที่เราทำได้ก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมา และจะทำให้เปลี่ยนแปลงโลกได้เหมือนกัน

"ถ้าถามว่า หากเกิดโลกแตกจริง ๆ ผมจะทำอะไรนะ

เหรอ (ยิ้ม) คงอยู่กับคนที่เรารัก อยู่กับอาหารที่เราชอบ คิดอะไรมากมาย ผมคิดแค่เพียง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คงจะจดจำสิ่งดี ๆ ที่โลกให้กับเราเอาไว้ แต่ผมว่า เรื่องโลกแตกคงจะไม่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้หรอกครับ ตอนนี้แค่เราได้เจอผลกระทบจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง การผิดฤดูกาลของฝน ความหนาว ความร้อน ซึ่งผมเชื่อว่า ถึงอย่างไรโลกก็ยังหาทางออกได้ เหมือนเรื่อง 2012 ที่มีเรือโนอาร์ ผมว่าโลกมี

survive หรือมนุษย์ต้องมีวิธีการจัดการได้"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1264388778&grpid=07&catid=00&sectionid=0225