วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วุฒิสภาแถลงข่าวความคืบหน้าการทำงานทุกวันศุกร์ เวลา 11.00 น.

วุฒิสภาแถลงข่าวความคืบหน้าการทำงานทุกวันศุกร์

19 ก.พ. 52 รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 เผย วุฒิสภาจะแถลงผลการทำงานทุกวันศุกร์ หวังให้ประชาชนทราบความคืบหน้าการทำงาน เริ่มวันนี้ 11.00 น. ประเดิมแถลงนัดแรก

นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 กล่าวว่า วุฒิสภาจะจัดแถลงข่าว “1 สัปดาห์กับวุฒิสภา รายงานประชาชน” ทุกวันศุกร์ เวลา 11.00 น. นับจากสัปดาห์นี้เป็นต้นไป เพื่อให้ได้ทราบความคืบหน้าการทำงานของวุฒิสภา โดยจะสรุปการทำงานของวุฒิสภาในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่ามีเหตุการณ์ใดที่น่าสนใจที่ประชาชนควรจะรับทราบ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมร่วมกันของรัฐสภา การประชุมของคณะกรรมาธิการแต่ละคณะ การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา การจัดสัมมนาต่าง ๆ รวมไปถึงการแก้ปัญหาเรื่องที่ประชาชนร้องเรียนมายังวุฒิสภา โดยสัปดาห์แรกนี้ตนจะเป็นผู้สรุปข่าวให้สื่อมวลชนได้นำมาเผยแพร่ประชาชนรับทราบต่อไป ส่วนสัปดาห์ถัดไป จะมี นายประสาร มฤคพิทักษ์ และนายตวง อันทะไชย โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา มาเป็นผู้แถลงข่าวและในบางสัปดาห์อาจจะมีประธานวุฒิสภา ประธานคณะกรรมาธิการแต่ละคณะ มาแถลงข่าวด้วย สำหรับสถานที่แถลงข่าวจะใช้พื้นที่บริเวณห้องข้อมูลข่าวสาร (Call Center) วุฒิสภา อาคารรัฐสภา 2



อัญชิสา จ่าภา ผู้สื่อข่าว

มันทนา ศรีเพ็ญประภา เรียบเรียง
http://www.parliament.go.th/php4/radio/temp/news6517.doc

กมธ.ยุติธรรมฯ วุฒิสภา ชี้ มีการทุจริตและเตรียมการณ์ล่วงหน้ากรณีปลากระป๋องเน่า

กมธ.ยุติธรรมฯ วุฒิสภา ชี้ มีการทุจริตและเตรียมการณ์ล่วงหน้ากรณีปลากระป๋องเน่า
18 ก.พ. 52 ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เผย ได้ข้อสรุปปลากระป๋องเน่า พบมีทุจริตจริง พร้อม แนะสื่อและสังคมจับตาการโยกย้ายข้าราชการ ในกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ โฆษกคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงการทุจริตถุงยังชีพบรรจุปลากระป๋องว่า จากการที่กมธ.ได้เชิญหลายฝ่ายชี้แจงต่อกมธ.แล้ว ได้ข้อสรุปว่า มีการทุจริตเกิดขึ้นและมีการเตรียมการล่วงหน้า โดยมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งตนขอให้สังคมและสื่อมวลชนจับตาการโยกย้ายข้าราชการระดับปฏิบัติการ เพราะได้สร้างความไม่พอใจต่อผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงที่ออกมาชี้แจงเรื่องดังกล่าวต่อสังคม

อัญชิสา จ่าภา ผู้สื่อข่าว
มันทนา ศรีเพ็ญประภา เรียบเรียง

http://www.parliament.go.th/php4/radio/temp/news6505.doc

ชมรมไทยใหญ่เชียงใหม่ยื่นหนังสือวอนผู้ว่าฯ เห็นใจแรงงานไทยใหญ่ หลังตำรวจกวาดล้างหนัก

ชมรมไทยใหญ่เชียงใหม่ยื่นหนังสือวอนผู้ว่าฯ เห็นใจแรงงานไทยใหญ่ หลังตำรวจกวาดล้างหนัก



19 ก.พ. 52 – ชมรมไทยใหญ่จังหวัดเชียงใหม่เข้ายื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯ โดยวิงวอนให้ภาครัฐเห็นใจแรงงานไทยใหญ่ หลังตำรวจกวาดล้างอย่างหนัก นับแต่เกิดเหตุสลดหนุ่มไทยใหญ่ข่มขืนและฆ่านักศึกษามหาลัยแม่โจ้ที่เป็นการกระทำเฉพาะบุคคล

เมื่อช่วงบ่ายของวานนี้ (18/02/52) กลุ่มชมรมการศึกษาและศิลปวัฒนธรรมไทยใหญ่จังหวัดเชียงใหม่ นำโดยนายแสงเมือง มังกร พร้อมด้วยตัวแทนชมรมผู้ใช้แรงงานไทยใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้เข้ายื่นสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอร่วมประณามต่อการกระทำของ 2 หนุ่มไทยใหญ่ ที่ก่อคดีสะเทือนขวัญข่มขืนและฆ่านักศึกษาสาวมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมกับขอวิงวอนให้ภาครัฐเห็นใจแรงงานไทยใหญ่ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากหลังเกิดคดีดังกล่าว กลุ่มแรงงานอพยพชาวไทยใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจกวาดล้างอย่างหนัก

โดยการยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่นั้น ทางกลุ่มชมรมฯ ไม่ได้พบกับผู้ว่าฯ และรองผู้ว่าฯ โดยตรง เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งผู้ว่าฯ และรองผู้ว่าฯ ติดการประชุมอยู่ โดยมีปลัดฝ่ายปกครองของจังหวัดเป็นผู้รับเรื่องไว้แทน

ด้านนายแสงเมือง มังกร ประธานชมรมการศึกษาและศิลปวัฒนธรรมไทยใหญ่ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เกิดเหตุ 2 หนุ่มไทยใหญ่ ข่มขืนและฆ่านักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นต้นมา ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของไทยใหญ่ถูกสังคมมองเป็นฆาตกรร้ายไปหมด และมีแรงงานไทยใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจกวาดล้างอย่างหนักไม่เว้นในแต่ละวัน ซึ่งเรื่องนี้ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงแก่แรงงานชาวไทยใหญ่อย่างมาก ด้วยเหตุนี้ทางชมรมจึงได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าฯ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอประณามต่อการกระทำของคนร้ายและขอวิงวอนให้ภาครัฐเห็นใจแรงงานชาวไทยใหญ่

“แรงงานไทยใหญ่ที่เข้ามาทำงานอยู่ในประเทศไทย ล้วนไม่ได้มีเจตนาร้ายต่อประชาชนคนไทยและต่อประเทศไทย กรณีเหตุที่เกิดขึ้นมันเป็นเพียงการกระทำเฉพาะบุคคล ซึ่งคนไทยใหญ่ที่ดีและรักประเทศไทยเสมือนบ้านเกิดของตัวเองยังมีอีกมาก ที่สำคัญคนไทยใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยส่วนใหญ่ล้วนมีความซาบซึ้งที่ได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินไทยใต้เงาพระบรมโพธิสมภารขององค์ในหลวง อันเป็นแผ่นดินแห่งความสงบของชีวิตที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน” นายแสงเมืองกล่าว

นอกจากนี้ นายแสงเมือง กล่าวอีกว่า ทางชมรมฯ ได้ส่งหนังสือแสดงความเสียใจและประณามต่อการกระทำของ 2 หนุ่มไทยใหญ่ที่ก่อเหตุสะเทือนขวัญไปยังอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้พร้อมชี้แจงทำความเข้าใจไปแล้ว นอกนั้นทางชมรมฯ ยังได้ฝากหนังสือแสดงความเสียใจผ่านมหาวิทยาลัยแม่โจ้ไปยังครอบครัวของ น.ส.วิไลรัตน์ กุจะพันธ์ ด้วย



15 กุมภาพันธ์ 2552

เรื่อง สถานการณ์แรงงาน จ.เชียงใหม่

เรียน ผู้ว่าราชการ จังหวัดเชียงใหม่



กรณีเหตุการณ์แรงงานอพยพชาวไทยใหญ่ 2 คน ก่อเหตุข่มขืนและฆ่านักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ นั้นได้ก่อให้เกิดผลกระทบในภาพรวมต่อแรงงานอพยพชาวไทยใหญ่ใน จังหวัดเชียงใหม่ทั้งในทางตรงและทางอ้อมหลายประการ ในทางตรงนั้น ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองได้ออกทำการกวาดล้างจับกุม แรงงานอพยพตามที่พักคนงานก่อสร้างหลายแห่งทั่วเมืองเชียงใหม่ (เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ได้บุกจับแรงงานอพยพชาวไทยใหญ่ที่ไม่มีบัตรอนุญาตทำงานที่ไซส์ก่อสร้างกา ญจน์กนกวิวจำนวน 38 คน ในจำนวนนี้ทั้งหมดได้ถูกส่งตัวกลับประเทศพม่าโดยไม่ได้รับการขึ้นศาลแต่ อย่างใด และในวันเดียวกันนี้ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ได้ออกจับแรงงานอพยพในที่พักคนงานหลังห้างสรรพสินค้าแอร์พอร์ทพลาซ่าไปอีก จำนวน 6 คน ต่อมาในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับคนงานก่อสร้างชาวไทยใหญ่ในที่พักแรงงานบ้านกาญจน์กนก 2 ไปอีก 16 คน วันที่ 12 กุมภาพันธ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ได้ออกตรวจที่โรงงานทำเส้นก๋วยเตี๋ยว ในเขตอำเภอสันกำแพง ได้จับกุมแรงงานอพยพชาวไทยใหญ่และแรงงานที่ถือบัตรพื้นที่สูงไปอีก 4 คน ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับแรงงานอพยพชาวไทยใหญ่ในที่พักคนงานก่อสร้างหมู่บ้านพิมุกต์ ไปอีกราว 15 คน ในวันเดียวกันนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง รวมทั้งนักศึกษาได้ออกตรวจจับแรงงานอพยพชาวไทยใหญ่ในเขตพื้นที่สันผีเสื้อไป มากกว่า 10 คน และในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ แรงงานอพยพทั้งที่มีบัตรอนุญาตทำงานและไม่มีบัตร ในเขตพื้นที่อำเภอหางดง ถูกจับไปหลายสิบคน ส่วนในทางอ้อมนั้น แรงงานจำนวนมากในเขตพื้นที่สันทราย สันกำแพงและพื้นที่โดยรอบถูกผลักดันให้ออกจากพื้นที่ กลายเป็นคนงานไร้ที่อยู่อาศัย นอก จากนี้แรงงานอพยพชาวไทยใหญ่อันมีเป็นจำนวนมากในจังหวัดเชียงใหม่ต้องอยู่ ด้วยความหวาดระแวง เนื่องจากผู้คนในสังคมให้ความรังเกียจ



จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางชมรมการศึกษาและวัฒนธรรมไต (ไทใหญ่) เชียงใหม่ และชมรมผู้ใช้แรงงานชาวไทใหญ่ จ. เชียงใหม่ (Shan Migrant Community) ได้มีการประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2552 เพื่อร่วมกันหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น ทางที่ประชุมได้เห็นพ้องกันในหลักการ 3 ข้อ กล่าวคือ



1. ชมรมการศึกษาและวัฒนธรรมไต (ไทใหญ่) เชียงใหม่ และชมรมผู้ใช้แรงงานชาวไทใหญ่ จังหวัดเชียงใหม่ (Shan Migrant Community) ขอ แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อันนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงต่อครอบครัว เพื่อนฝูง สถาบันการศึกษา และบุคคลอันเป็นที่รักของ นางสาววิไลรัตน์ กุจะพันธ์ ทางชมรมฯและกลุ่มผู้ใช้แรงงานชาวไทใหญ่ทุกคนรู้สึกเสียใจและสะเทือนใจอย่าง สุดซึ้ง ไม่น้อยไปกว่าครอบครัวของนางสาววิไลรัตน์ กุจะพันธ์ และบุคคลอันเป็นที่รัก เราขอประณามต่อการกระทำอันก่อให้เกิดความสูญเสียขึ้นในครั้งนี้



2. ขอ วิงวอนให้ภาครัฐและเอกชนเข้าใจว่าแรงงานชาวไทยใหญ่จากประเทศพม่าที่อพยพเข้า มาขายแรงงานในเมืองไทยทุกคนมีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา เศรษฐกิจของไทย แรงงานชาวไทยใหญ่ขอขอบคุณรัฐบาลไทยที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้มีงานทำ หากแต่กรณีที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์เฉพาะบุคคล การที่สังคมเหมารวมและเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้มงวดต่อแรงงานด้วยการออกตรวจจับ ไม่เว้นแต่ละวันนั้น ส่งผลให้เกิดความหวาดระแวงต่อกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และต่อแรงงานในฐานะผู้อาศัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทางชมรมฯ ขอวิงวอนภาครัฐและภาคเอกชนให้เข้าใจและเห็นอกเห็นใจแรงงานอพยพที่หวังเข้ามา พึ่งพระบรมโพธิสมภาร เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในอนาคต



3. ทาง ชมรมฯ พร้อมที่จะประสานให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนในการเตรียมการ ป้องกันต่อเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหน้า หากท่านมีข้อชี้แนะประการใด ทางชมรมฯ ยินดีน้อมรับเพื่อที่จะนำมาเป็นข้อปฏิบัติต่อไป



จึงนำเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ



( นายแสงเมือง มังกร )
ประธานชมรมการศึกษา และวัฒนธรรมไต ( เชียงใหม่)
ตัวแทนชมรมผู้ใช้แรงงานชาวไทใหญ่ จ.เชียงใหม่








ด้าน รศ.ดร.โคทม อารียา ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) กล่าวถึง กรณีแรงงานชาวไทยใหญ่ถูกสังคมไทยมองไม่ดี หลังมีเหตุนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ถูกหนุ่มไทยใหญ่ข่มขืนและฆ่าว่า เป็นการกระทำเฉพาะส่วนบุคคลซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรเหมารวม แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการนำมาซึ่งความเสียใจแก่ญาติของผู้ถูกกระทำอย่างหาที่สุดมิได้ แต่นั่นเป็นการกระทำของคนส่วนหนึ่งเท่านั้น

“คงจำกันได้ว่า มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวในประเทศไทยแล้วถูกคนไทยฆ่าข่มขืน ซึ่งกฎหมายไทยก็ลงโทษเฉพาะผู้กระทำความผิด และเราก็พยายามให้ญาติรวมถึงคนร่วมชาติของผู้เสียชีวิตเข้าใจว่า มันเป็นความผิดส่วนบุคคล ซึ่งคนไทยโดยรวมไม่ได้สนับสนุนหรือรู้เห็นเป็นใจ และเราก็ไม่อยากถูกเหมารวมว่าคนไทยทุกคนเป็นอย่างนั้นหมด ซึ่งก็เหมือนกัน หากมีชาวไทยใหญ่ไปก่ออาชญากรรม ก็ให้คำนึงว่าเราอยากให้คนอื่นเขาปฏิบัติต่อเราอย่างไร เราก็ควรปฏิบัติต่อเขาอย่างนั้นจะดีกว่า” รศ.ดร.โคทม อารียา กล่าว

ที่มาข่าว: สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) เป็นสำนักข่าวอิสระจัดตั้งโดยกลุ่มชนไทยใหญ่พลัดถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด ท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org และภาษาไทยใหญ่ที่ www.mongloi.org







http://www.prachatai.com/05web/th/home/15626
--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 19/2/2552

ลูกจ้างเหมาค่าแรง รอยัลปอร์ชเลน ร้อง กบข. ผู้ถือหุ้นใหญ่ ถูกเลิกจ้างและได้รับการปฏิบัติไม่เป็นธรรม

ลูกจ้างเหมาค่าแรง รอยัลปอร์ชเลน ร้อง กบข. ผู้ถือหุ้นใหญ่ ถูกเลิกจ้างและได้รับการปฏิบัติไม่เป็นธรรม



วานนี้ (18 ก.พ.) เวลา 12.45 น. บริเวณหน้าอาคารอับดุลราฮิม ถนนพระราม 4 ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงาน สำนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข,) ถนนพระรามสี่ ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงของบริษัทรอยัล ปอร์ชเลน ซึ่ง กบข. เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ รวมตัวกันเพื่อยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการกบข. เรียกร้องความเป็นธรรมกรณีถูกเลิกจ้างและได้รับการปฏิบัติไม่เป็นธรรม

แรงงานทั้ง 51 คนได้ยื่นหนังสือและเรียกร้องให้ กบข. ได้ปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางการดำเนินธุรกิจโดยการช่วยเหลือลูกจ้างที่เป็นแรงงานจ้างเหมาทำงานในบริษัท รอยัล ปอร์ชเลน จำกัด (มหาชน) หรือ RPC เป็นการด่วน เพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงค่าเสียหายและเงินชดเชยต่างๆตามสิทธิอันพึงมีพึงได้ เนื่องจาก กบข เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท รอยัล ปอร์ชเลน จำกัด (มหาชน) รวมถึงการเรียกร้องให้ กบข ดำเนินการธุรกิจตามหลักจรรยาบรรณด้านคุณธรรม การไม่ลงทุนในธุรกิจที่สร้างเงื่อนไขทำให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรงทางสังคม การจ้างงานชั่วคราว/เหมาช่วง/เหมาค่าแรงในเงื่อนไขที่เป็นการเลือกปฏิบัติและเอารัดเอาเปรียบต่อคนงาน

ทั้งนี้ ลูกจ้างทั้ง 51คน เป็นแรงงานจ้างเหมาทำงานในบริษัท รอยัล ปอร์ชเลน จำกัด (มหาชน) หรือ RPC โดยมี กบข. เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โรงงานตั้งอยู่ ณ ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งไม่ได้รับความเป็นธรรมและถูกเอารัดเอาเปรียบในการจ้างงานโดยลูกจ้างกลุ่มดังกล่าวระบุรายละเอียดดังนี้

1. ลาป่วยถูกหักค่าจ้างหรือไม่จ่ายค่าจ้างในการลาป่วยไม่ว่ากรณีใดๆและไม่เคยได้รับเงินชดเชย

2. ไม่เคยได้รับสิทธิในการลาพักผ่อนประจำปีและไม่เคยได้รับเงินชดเชยในกรณีนี้

3. ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้างและมีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินชดเชย

4. นายจ้างให้หยุดงานโดยอ้างภาวะเศรษฐกิจโดยไม่จ่ายค่าจ้างตามมาตรา 75 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน

5. ถูกลิดรอนสิทธิด้านอายุงานและค่าจ้างหรือเงินชดเชย ซึ่งนายจ้างพยายามโอนถ่ายหรือโอนย้ายลูกจ้าง โดยให้ลูกจ้างลาออกหรือต้องทำสัญญาจ้างใหม่ในอัตราค่าจ้างที่ลดลงและไม่นับอายุงานต่อเนื่อง

6. คนงานหญิงตั้งครรภ์ ถูกบังคับให้ทำงานจนถึงวันคลอด และจ่ายเงินสำหรับการลาคลอดเพียง 1 เดือน

7. มีการปล่อยเงินกู้ให้กับลูกจ้างในอัตราที่สูงกว่ากฎหมายกำหนด

เวลาประมาณ 13.00 น.เจ้าหน้าที่ของ กบข. ลงมารับหนังสือ และกล่าวกับแรงงานว่าอย่าทำตัววุ่นวายมิฉะนั้นจะไม่ได้รับความช่วยเหลืออะไรเลย จากนั้นแรงงานทั้ง 51 คนเดินทางไปเยี่ยมสหภาพแรงงานแคนาดอล ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท แคนาดอล เอเชีย จำกัด ผู้ผลิตท่อส่งก๊าซและท่อน้ำมัน นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ต.มาบยางพร อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ได้ปักหลักชุมนุมอยู่ที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเป็นเวลากว่าสัปดาห์เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาการเลิกจ้างงาน






http://www.prachatai.com/05web/th/home/15624

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 19/2/2552

สหภาพแรงงาน เจนเนอรัลมอเตอร์ส ร่อนแถงการณ์ ถูกละเมิดสิทธิแรงงาน

สหภาพแรงงาน เจนเนอรัลมอเตอร์ส ร่อนแถงการณ์ ถูกละเมิดสิทธิแรงงาน



เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 52 ที่ผ่านมา สหภาพแรงงาน เจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ถึงเพื่อนผู้ใช้แรงงาน, ประชาชนทั่วไป และสื่อมวลชน แจ้งกรณีที่ถูกนายจ้างละเมิดสิทธิ โดยมีรายละเอียดดังนี้



เรื่อง หนังสือร้องเรียนและขอความเป็นธรรมจากปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน

เรียน เพื่อนผู้ใช้แรงงาน / ประชาชนทั่วไป/ สื่อมวลชน ที่รักทุกท่าน



แถลงการณ์ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒



บริษัท เจนเนอรัลมอเตอร์สประเทศไทย จำกัด ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด เลขที่ ๑๑๑/๑ ม.๔ ต.ปลวกแดง อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ประกอบกิจการผลิตรถยนต์ส่งออกต่างประเทศและขายในประเทศ ไทย ทุนจดทะเบียนแบ่งออกเป็น ๒๔๔,๐๙๐,๙๐๙ หุ้น มูลค่าหุ้นละ ๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๒๔,๔๐๙,๐๙๐,๙๐๐ บาท จดทะเบียน วันที่ ๘มิถุนายน ๒๕๓๕ สำนักงานใหญ่เลขที่ ๕๕๕ อาคารรสาทาวเวอร์ ชั้น ๒๓ ถนน พหลโยธิน แขวง ลาดยาว เขต จตุจักร กรุงเทพมหานคร นายจ้างมีสัญชาติสหรัฐอเมริกา มีพนักงาน จำนวน ๒,๖๐๐ คน



ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๒ เดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องในนามสหภาพแรงงานฯ จำนวน ๒๙ ข้อ เพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และมีการนัดการเจรจากันครั้งต่อไปเมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๑ หลังจากนั้นในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ได้มีการเจรจากันแต่การเจรจาตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงครั้งที่ ๕ ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้โดยที่ฝ่ายบริหารยังคงยืนยันที่จะไม่จัดสวัสดิการตามที่สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องได้ จึงทำให้การเจาจายุติ



ในวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ สหภาพแรงงานได้แจ้งเป็นข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจังหวัดระยอง และต่อมาพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจังหวัดระยอง

ต่อมาวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ได้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยมีการเจรจากันตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น จนถึงเวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น. แต่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้และนัดเจรจากันอีกครั้งในวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ หลังจากนั้นในวันเดียวกันผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนสหภาพแรงงานได้กลับมาเจรจากันที่บริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้แจ้งให้สหภาพแรงงานทราบว่าจะมีประกาศเรื่องโครงการรับสมัครใจลาออกรอบสองในระดับพนักงาน จำนวน ๕๕๐ คน และระดับ ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น จำนวน ๑๘๙ คน และระดับอื่นๆ ที่สูงขึ้นไปอีกจำนวน ๕๑ คน โดยในประกาศตอนท้ายได้ระบุว่า “หากมีผู้ลาออกน้อยกว่าเป้าหมายที่กำหนด บริษัทฯจะพิจารณาเกณฑ์เพื่อคัดเลือกพนักงานให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด” โดยได้ออกประกาศในตอนเย็นหลังเลิกงานของวันเดียวกัน และในกะกลางคืนในวันเดียวกันนั้นได้มีการให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงบังคับข่มขู่ และหลอกลวงพนักงานว่ารายละเอียดในประกาศดังกล่าวได้มีการตกลงกับสหภาพแรงงานแล้วหากไม่สมัครใจเข้าโครงการลาออกบริษัทฯ จะมีการเลิกจ้างและไม่จ่ายค่าชดเชยใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้พนักงานเกิดความสับสนและไม่เข้าใจ นำไปสู่การเซ็นต์ชื่อในการสมัครลาออกเป็นจำนวนมาก ในวันต่อมาผู้แทนสหภาพแรงงานได้คัดค้านโดยให้เหตุผลว่าประกาศของบริษัทฯ ดังกล่าวเป็นละเมิดสิทธิแรงงานทั้งกฎหมายของประเทศไทยและอนุสัญญา ไอแอลโอ ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ เรื่องการรวมตัวกันเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและการเจรจาต่อรองร่วม เนื่องจากผู้ที่ถูกเลิกจ้างที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเกือบทั้งหมด สหภาพฯจึงได้ทำหนังสือคัดค้านไปยังผู้บริหารของบริษัทฯ



ในวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ได้เปิดให้มีการสมัครใจลาออก จำนวน ๒๕๘ คน และสหภาพแรงงานได้ทำหนังสือคัดค้านการออกประกาศดังกล่าวเนื่องจากว่าสหภาพแรงงานเห็นว่าอยู่ระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง และเป็นการละเมิดกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ๒๕๑๘ มาตรา ๓๑ และเป็นการกลั่นแกล้งและลดอำนาจในการต่อแรงของสหภาพแรงงาน แต่บริษัทฯ ได้เพิกเฉยในหนังสือคัดค้านของสหภาพแรงงาน และสหภาพแรงงานได้ขอเข้ารับฟังชี้แจงจากผู้บริหาร บริษัทฯ โดย นายสมนึก งามตระกูลชล ซึ่งเป็นรองประธานฝ่ายบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ ได้ชี้แจงว่าบริษัทฯ จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานเนื่องจากกำลังการผลิตลดลง เพื่อลดค่าใช้จ่าย และสหภาพแรงงานได้เสนอมาตรการในการชะลอการเลิกจ้างในการลดต้นทุน เช่น การลดจำนวนวันทำงานต่อสัปดาห์ลง ๑ วัน หรือสลับวันทำงานในระยะยาวโดยเปิดให้มีการทำงานแค่ ๑ กะ แต่บริษัทฯไม่รับข้อเสนอ



ต่อมาวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ บริษัทฯ ได้ออกประกาศ เรื่อง “การให้พนักงานหยุดงานเป็นการชั่วคราวทั้งโรงงาน” ตั้งแต่วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ถึงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ โดยจ่ายค่าจ้างให้ ๗๕% ส่วนของผู้บริหารและผู้บังคับบัญชาระดับสูงเงินเดือนสูงทุกคนยังคงมาทำงานกันตามปกติทั้งที่งานในขบวนการผลิตไม่มี วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ บริษัทฯ ได้ดำเนินการตามประกาศสมัครใจลาออกโดยไม่สนใจเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ใดๆ ใช้วิธีขู่บังคับพนักงานให้ลาออกเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด



วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. สหภาพแรงงานและผู้แทนบริษัทฯ ได้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยองอีกครั้ง และผู้แทนสหภาพแรงงานได้เสนอทางออกให้กับบริษัทฯ เพื่อมิให้มีการเลิกจ้างพนักงาน โดยวิธีการลดจำนวนวันทำงานต่อสัปดาห์ลงมา และแผนลดค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ โดยผู้แทนของบริษัทฯ อ้างว่าขอดูจำนวนผู้ที่สมัครใจลาออกแล้วจะนำตัวเลขดังกล่าวเสนอผู้บริหารระดับสูงเพื่อพิจารณา และในประเด็นอื่นไม่สามารถตกลงกันได้ จึงได้มีการนัดเจรจากันอีกครั้งในวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒หลังจากนั้นในวันเดียวกันบริษัทฯ ได้ออกประกาศยืดระยะเวลาการสมัครใจลาออกถึงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เวลา ๑๖.๓๐ น. แต่สหภาพแรงงานไม่ยินยอมผู้แทนฝ่ายนายจ้างยังคงยืนยันที่จะปฏิบัติตามประกาศของบริษัทฯ และไม่ได้ยึดระยะเวลาตามที่ประกาศไว้



วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ผู้แทนสหภาพแรงงานได้ยื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อขอความเป็นธรรมในการแก้ไขปัญหาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมที่มีการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานในระหว่างยื่นข้อเรียกร้องและอยู่ระหว่างการพิพาทแรงงาน และขณะเดียวกันผู้อำนวยการกองแรงงานสัมพันธ์ได้ยืนยันว่าบริษัทฯ ไม่สามารถที่จะเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานในระหว่างการยื่นข้อเรียกร้องได้ และต่อมาเวลาสหภาพแรงงานได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดว่านายจ้างจะเลิกจ้างพนักงานที่ไม่สมัครใจลาออก



วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น. บริษัทฯ ได้มีการเลิกจ้างพนักงานที่สมัครใจลาออกในกะเช้าและกะกลางคืนจำนวน ประมาณ ๗๓๐ คน และเลิกจ้างพนักงานที่ไม่สมัครใจลาออกประมาณ ๗๐ คน ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างชัดเจน



ดังนั้น สหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย จึงขอร้องเรียนมายังท่านให้เร่งดำเนินการให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย และแก้ไขปัญหา ดังนี้



๑. ให้นายจ้างรับพนักงานที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่สมัครใจกลับเข้าทำงานในหน้าที่และสภาพการจ้างงานเดิมโดยไม่มีเงื่อนไข

๒. ให้ดำเนินคดีกับนายจ้างให้ถึงที่สุดกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีการละเมิดกฎหมายโดยเจตนาในกรณีเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานและกรรมการลูกจ้าง

๓. ให้เรียกผู้บริหารสูงสุดที่มีอำนาจในการตัดสินใจมาเจรจากับลูกจ้างเพื่อหาข้อยุติในประเด็นปัญหาการพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้

๔. ให้นายจ้างจัดให้มีการส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์แบบทวิภาคีในสถานประกอบการโดยให้การยอมรับการมีสหภาพแรงงานในสถานประกอบการ

๕. ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างเต็มจำนวนในระหว่างที่นายจ้างประกาศให้ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราวเนื่องจากผลประโยชน์ของนายจ้าง หรือเนื่องจาการประกาศใช้มาตรา ๗๕ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ ๒ โดยมิชอบ



จากประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น สหภาพแรงงานฯ จึงขอความอนุเคราะห์มายังท่านเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้รงงานเพื่อหาข้อยุติในข้อเรียกร้องต่อไป



ด้วยจิตคารวะสหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย












http://www.prachatai.com/05web/th/home/15627
--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 19/2/2552

ชาวบ้านบางคูยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯ ภูเก็ต ให้ระงับและยุติการบุกรุกเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าชายเลนบ้าน

ชาวบ้านบางคูยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯ ภูเก็ต ให้ระงับและยุติการบุกรุกเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าชายเลนบ้าน



19 ก.พ. 52 – เวลาประมาณ 10.30 น.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สอบต.และชาวบ้านบางคู ม.2 ต.เกาะแก้ว อ.เมือง จ.ภูเก็ต กว่า 20 คน เดินทางเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเพื่อยื่นหนังสือขอให้ระงับและยุติการบุกรุกเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าชายเลนบ้านบางคู ม.2 ต.เกาะแก้ว อ.เมือง จ.ภูเก็ต

โดยในจดหมายระบุว่า ตามที่ชาวบ้านบางคู คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 และกำนันตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ได้ยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2551 เรื่องขอให้ตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์ทับพื้นที่ป่าชายเลนและดำเนินคดีกับผู้บุกรุกเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าชายเลน ตามโฉนดเลขที่ ฉ38191 เลขที่ 87 จำนวนประมาณ 23 ไร่เศษ และเอกสารสิทธิ์ที่ดินแปลงข้างเคียงอื่นๆ จนถึงปัจจุบันยังมิได้ดำเนินการใดๆเลย

ส่วนทางด้านสภาพความเป็นจริงนั้น พื้นที่ป่าชายเลนมีสภาพที่สมบูรณ์โดยส่วนใหญ่ บางส่วนอยู่ในสภาพกำลังฟื้นตัว ซึ่งเป็นแหล่งจับสัตว์น้ำและทำการประมงพื้นบ้านได้ดีของชุมชน เนื่องจากผืนป่าชายเลนดังกล่าวเคยเป็นพื้นที่ปลูกป่าของสำนักงานป่าไม้จังหวัดภูเก็ต และหน่วยจัดการป่าชายเลนจังหวัดภูเก็ต เมื่อประมาณ 15 ปีที่ผ่านมาและเป็นแปลงปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา โดยหน่วยงานดังกล่าวเข้ามาดำเนินการฟื้นฟูปลูกเสริมป่าชายเลนจนทำให้มีป่าชายเลนที่หนาแน่นจนถึงปัจจุบัน มีน้ำท่วมถึง และระบายได้ดีตามช่วงเวลาน้ำขึ้นน้ำลง

ต่อมาเมื่อวันที่ 11 – 18 กุมภาพันธ์ 2552 ได้มีนายทุนนำรถแบ็คโฮประมาณ 4-5 คัน พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนหนึ่ง เข้ามาไถทำลายปรับสภาพพื้นที่ป่าชายเลนทำให้พันธุ์ไม้ตายเป็นจำนวนมาก และทำคันดินปิดทางขึ้น-ลงของน้ำทะเล อีกทั้งใช้รถแบ็คโฮรื้อทำลายบ้านพักชั่วคราว (ขนำ) ของชาวบ้าน โดยอ้างเอกสารสิทธิ์เหมือนกับครั้งที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีการข่มขู่ คุกคามชาวบ้าน

ทั้งนี้ในจดหมายชาวบ้านได้เรียกร้องให้ทางจังหวัดภูเก็ตเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อปกป้องทรัพย์สมบัติผืนป่าชายเลนตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระราชินี และที่สาธารณะอันเป็นสมบัติของชาติ โดยมีข้อเสนอและข้อเรียกร้องให้ดำเนินการโดยเร่งด่วนดังต่อไปนี้

ขอให้ทางจังหวัดภูเก็ตระงับ ยุติการดำเนินการเปลี่ยนแปลงสภาพใดๆทั้งสิ้นในพื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าวโดยเร่งด่วน อาศัยกฎหมายการปกครองตามอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด
ขอให้ทางจังหวัดภูเก็ตตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ ที่ดินในพื้นที่บริเวณดังกล่าวว่าออกมาโดยชอบหรือไม่ เพราะเป็นสภาพพื้นที่ป่าชายเลนมีน้ำทะเลท่วมถึงมากว่า 30 ปี
ขอให้ทางจังหวัดภูเก็ต สำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตตรวจสอบแนวเขตที่ดิน ตามเอกสารสิทธิ์ทุกแปลงที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วน พร้อมทั้งปักแนวเขตแสดงให้ชัดเจน
ขอให้ทางจังหวัดภูเก็ต กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้วสำรวจและจัดทำแนวเขตผืนป่าชายเลนที่เหลืออย่างเร่งด่วน พร้อมทั้งจัดทำมาตรการฟื้นฟูและป้องกันการบุกรุกเพิ่มเติมให้ชัดเจนโดยทันที
ขอให้ทางจังหวัดภูเก็ต กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำเนินคดีกับผู้บุกรุกทำลายป่าและทำให้เสียทรัพย์สมบัติของชาติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หลังจากรับจดหมาย ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตรับเรื่องและจะดำเนินการตามข้อเรียกร้องและข้อเสนอของชุมชนโดยการแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยนายอำเภอ เจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 23 อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อตรวจสอบแนวเขตพื้นที่ป่าชายเลนที่ถูกบุกรุก ทำลาย พื้นที่ป่าชายเลนที่เหลือและตรวจสอบเอกสารสิทธิ์









http://www.prachatai.com/05web/th/home/15625
--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 19/2/2552

“มหกรรมประชาชนอาเซียน: ASEAN Peoples’ Forum – ภาคประชาชนเดินหน้าสู่อาเซียน” วันที่ 20-22 ก.พ. ที่จุฬาฯ

เดินหน้างานคู่ขนาน ภาคประชาชนเตรียมจัด ‘มหกรรมประชาชนอาเซียน’ 20-22 ก.พ.



เมื่อวันที่ 18 ก.พ. เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะกรรมการจัดงานมหกรรมประชาชนอาเซียน แถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมประชาชนอาเซียน: ASEAN Peoples’ Forum – ภาคประชาชนเดินหน้าสู่อาเซียน” ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 ก.พ. ที่จุฬาฯ

สุภาวดี เพชรรัตน์ คณะกรรมการจัดงานมหกรรมประชาชนอาเซียน กล่าวว่า ในงานครั้งนี้ จะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ 34 กลุ่มด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1.เรื่องสันติภาพและความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงของประชาชนในภูมิภาค ซึ่งจะมีกลุ่มย่อยต่างๆ เช่น สัญชาติ การจัดตั้งและกลไกสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมากว่าจะเกิดขึ้นในอาเซียนได้จริงหรือไม่ 2.เรื่องสังคมวัฒนธรรมซึ่งเป็นเสาสำคัญของอาเซียน โดยจะมีการพูดถึงเรื่องสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงประเด็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ 3.เรื่องวิกฤติเศรษฐกิจ รวมถึงวิกฤติทางอาหาร และข้อตกลงทางการค้าต่างๆ

ทั้งนี้ ในวันที่ 22 ก.พ. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุม จะมีการแลกเปลี่ยนกับ สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน และกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะของประธานจัดงานอาเซียน ขณะที่ข้อเสนอจากผู้เข้าร่วมทั้งหมดจะถูกนำเสนอในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 28 ก.พ.

ปกป้อง ลาวัณย์ศิริ เจ้าหน้าที่โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย (ฟอรั่ม-เอเชีย) กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีไทยบอกว่ารัฐบาลจะนำอาเซียนไปสู่ความเป็นภูมิภาคที่มีความห่วงใยซึ่งกันและกัน แต่ในอีกด้านหนึ่งรัฐบาลก็มีนโยบายชัดเจนที่จะผลักดันผู้ลี้ภัยซึ่งเป็นประชาชนโรฮิงยาออกนอกประเทศ มันก็ขัดแย้งกันเองว่าเราจะสร้างประชาคมแห่งความห่วงใยได้อย่างไร

เขาเล่าว่า จากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอาเซียนและนักวิชาการ พบว่า ในรอบ 1 ปีมีการประชุมอาเซียนประมาณ 600 ครั้ง แต่หากดูจากแผนการที่อาเซียนลงนามจะเห็นได้ว่า มีการปฏิบัติตามข้อตกลงไม่ถึง 50% ไม่ว่าข้อตกลงนั้นจะดีหรือไม่ก็ตาม นี่เป็นประเด็นที่ตั้งคำถามกับศักยภาพของอาเซียน ตัวอย่างเช่น อาเซียนมีเอกสารที่เรียกว่าแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ และแผนปฏิบัติการฮานอยซึ่งมีการลงนามในปี 1999 มีการพูดถึงเรื่องการผลักดันให้ปฏิบัติตามสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ 2 สนธิสัญญา คือ สนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และสนธิสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง แต่หากดูกรณีที่เกิดขึ้นในไทย รวมถึงชาติต่างๆ ในอาเซียน จะพบว่ายังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเด็กและสตรีเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปกป้องมองว่า การที่ภาคประชาชนมารวมตัวกันในเดือนนี้กว่า 1,000 คนสะท้อนให้เห็นว่า ขณะที่เราตั้งคำถามกับอาเซียน ก็มีความคาดหวังกับอาเซียนเช่นเดียวกัน ซึ่งคำถามอยู่ที่ว่ารัฐบาลไทย ซึ่งจะเป็นประธานอาเซียนในช่วง 2 ปีนี้ จะผลักดันให้อาเซียนเป็นอาเซียนสำหรับประชาชนได้จริงแค่ไหน

มนตรี จันทวงศ์ จากมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ กล่าวว่า การพัฒนาโครงข่ายพลังงานของอาเซียน หรือ ASEAN Power Grid มีการพูดถึงก่อนหน้านี้ 4-5 ปี ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายโรงไฟฟ้า ท่อแก๊สธรรมชาติ เชื่อมโยงทุกประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยส่วนที่มีการพัฒนาค่อนข้างชัดเจนคือแผนที่จะสร้างเขื่อนบนแม่น้ำ 2 สายหลัก ได้แก่ แม่น้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน

มนตรี กล่าวว่า เขื่อนในแม่น้ำโขงถ้าไม่นับรวมในประเทศจีนก็จะมีประมาณ 30 เขื่อนที่มีการวางแผนก่อสร้าง และประมาณ 4 เขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน ซึ่งประสบการณ์ของการสร้างเขื่อนบนสายน้ำย่อยได้แสดงให้เห็นถึงการทำลายวิถีชีวิตของชุมชน ระบบนิเวศวิทยาและในหลายกรณีได้นำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง และที่สำคัญมากกว่านั้นในบางกรณีของการสร้างเขื่อนได้สร้างปัญหาข้ามพรมแดนซึ่งนำไปสู่ความบาดหมางของประชาชนระหว่างชาติในอาเซียน ซึ่งตรงนี้ไม่มีทางที่จะทำให้อาเซียนมีความเป็นเอกภาพได้

เขายกตัวอย่างกรณีเขื่อนฮัดจี ซึ่งกั้นแม่น้ำสาละวินในประเทศพม่า ห่างจากชายแดนไทยด้าน จ.แม่ฮ่องสอนลงไปประมาณ 17 กิโลเมตรว่า เขื่อนนี้เป็นเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งมีความก้าวหน้ามากที่สุดในขณะนี้ โดย กฟผ.กำลังจะจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับรัฐบาลพม่าและชิโนไฮโดรคอร์เปอร์เรชั่นจำกัดที่จะก่อสร้างเขื่อนในปีนี้ ท่ามกลางข่าวที่ทุกคนทราบดีว่าประเทศไทยมีปริมาณไฟฟ้าสำรองเหลือเป็นจำนวนมาก และ กฟผ.เองก็ต้องปรับแผนพัฒนากำลังไฟฟ้า หรือพีดีพีออกไป เช่น การรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนในประเทศลาวจำนวนไม่ต่ำกว่า 5 เขื่อนถูกยกเลิก หรือแม้แต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ยังลดจาก 4 เหลือ 2 โรงในขณะนี้ เราจึงไม่พบเหตุผลใดๆ ที่ กฟผ. ยังคงเดินหน้าสร้างเขื่อนฮัดจี ทั้งที่จะสร้างปัญหาหลายประการ อาทิ เขื่อนนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่การสู้รบระหว่างรัฐบาลพม่ากับกองกำลังกระเหรี่ยงเคเอ็นยู และยังมีชาวบ้านอาศัยอยู่รอบเขื่อนประมาณ 11 หมู่บ้าน เพราะฉะนั้นการสร้างเขื่อนในสถานการณ์สู้รบจะยิ่งทำให้กองทัพของรัฐบาลพม่าเข้ามากุมพื้นที่ และส่งเสริมให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่ามากขึ้น และประเทศไทยต้องแบกรับภาระเรื่องนี้

เขาทิ้งท้ายว่า ในฐานะที่รัฐบาลไทยเป็นประธานอาเซียนในขณะนี้ควรที่จะเป็นตัวอย่างในการพัฒนาโครงการที่ตั้งอยู่บนฐานของความโปร่งใส และมีส่วนร่วมของประชาชน และหลักของการเคารพสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ไม่เฉพาะเขื่อนฮัดจีเท่านั้นแต่รวมถึงเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำโขงด้วย

วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงประเด็นของการเปิดเสรีทางการค้าที่กระทบต่อด้านแรงงานในภูมิภาคอาเซียนว่า ในคำร่างกฎบัตรอาเซียนที่บอกว่าภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วม เหมือนเป็นคำพูดท่องจำของรัฐบาล ทั้งนี้ การเปิดการค้าเสรีทำให้แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ และแรงงานในระบบ เป็นเหยื่อของนักลงทุนที่พยายามแสวงหาต้นทุนที่ต่ำที่สุด

ประธาน คสรท. กล่าวว่า ข้อตกลงหรือการพูดคุยของเวทีอาเซียนก็ไม่เคยคำนึงหรือกล่าวถึงคุณภาพชีวิตของคนยากจน แม้รัฐบาลจะบอกว่า ประชาชนต้องมีส่วนร่วม แต่เมื่อมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในบ้านเรา รัฐบาลพูดแต่เฉพาะเรื่องภาษี การอำนวยความสะดวก และการบริการให้กับนักลงทุนมาโดยตลอด

วิไลวรรณ กล่าวว่า วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มีการคาดการณ์ว่าคนงานเกือบ 1-2 ล้านคนที่จะตกงานหรือถูกเลิกจ้างในปีนี้ แล้วชีวิตคนงานเหล่านั้นจะอยู่อย่างไร คนงานที่อายุมากก็ไม่สามารถทำงานในระบบได้อีกต่อไป และคนงานอายุน้อยก็แทบจะหางานทำไม่ได้ ดังนั้น คงต้องฝากรัฐบาลไทยว่าการเจรจาพูดคุยระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนขอให้บรรจุเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน ค่าจ้างที่เป็นธรรม ความปลอดภัยของคนงาน และพูดถึงสิทธิการรวมตัวของคนงาน เพราะคนงานเป็นจักรกลสำคัญ เป็นผู้ผลิต ผู้สร้างสรรค์โลก แต่ชีวิตของเขาเหล่านั้นไม่เคยถูกหยิบยกไปพูดคุยในเวทีอาเซียนเลย

สุนทรี เซ่งกิ่ง เลขาธิการ กป.อพช. วิจารณ์ว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในมุมมองของรัฐกับภาคประชาชนนั้นแตกต่างกัน โดยขณะที่รัฐเรียกร้องให้ยิ้มแย้มแจ่มใส ต้อนรับการประชุมที่จะมีขึ้น แต่จริงๆ แล้วการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างมีคุณภาพในประชาคมอาเซียนคือการตรวจสอบ เริ่มจากตรวจสอบว่ารัฐสมาชิกประชาคมอาเซียนกำลังทำอะไรกันอยู่ สิ่งเหล่านั้นจะเป็นผลประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริงหรือไม่ นอกจากการตรวจสอบแล้วก็คือการมีข้อเสนอเพื่อจะไปสู่ผลประโยชน์ที่แท้จริงของประชาชน รัฐสมาชิกอาเซียนควรจะทำอะไรบ้าง












http://www.prachatai.com/05web/th/home/15619

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 19/2/2552

นโยบายพลังงานผิดพลาด “ใครรับผิดชอบ”

นโยบายพลังงานผิดพลาด “ใครรับผิดชอบ”





ประสาท มีแต้ม

prasart.m@psu.ac.th



เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง “แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า” ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วย



นักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า “นโยบายพลังงานผิดพลาด “ใครรับผิดชอบ”” (ภาพจากประชาไท) ผมจึงขอนำข้อความในแผ่นผ้านี้มาเป็นชื่อบทความเสียเลย













ถ้าจะแบ่งคู่ความขัดแย้งทางความคิดนี้ออกเป็นสองฝ่ายก็ได้แก่ ฝ่ายกระทรวงพลังงานที่มีปลัดกระทรวงเป็นหัวหน้า กับอีกฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มชาวบ้านและนักวิชาการอิสระ ข่าวไม่ได้บอกว่ามีกลุ่มผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการจ่ายค่าไฟฟ้าเป็นประจำได้เข้าร่วมหรือไม่ เพราะแผนหรือนโยบายพลังงานไฟฟ้าต้องมีผลกระทบต่อการกำหนดค่าไฟฟ้าอย่างแน่นอน



ในสภาพปัจจุบันของประเทศไทย เจ้าของโรงไฟฟ้าไม่ต้องกังวลใจใดๆเลยว่า ไฟฟ้าที่ตนผลิตได้จะ “ล้นตลาด” เหมือนสินค้าเกษตรหรือไม่ เพราะในสัญญาการก่อสร้างจะเป็นแบบไม่ซื้อก็ต้องจ่ายทั้งนั้น กล่าวคือ แม้ความต้องการไฟฟ้าจะลดลง แต่เอกชนผู้ผลิตไฟฟ้าจะต้องผลิตเท่าเดิม ผู้ที่จะต้องลดการผลิตลงก็คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ เมื่อรัฐได้ลงทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าไปแล้ว แต่ไม่ได้ผลิตไฟฟ้า ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจึงตกกับเจ้าของรัฐซึ่งก็คือประชาชนนั่นเอง



อนึ่ง กลุ่มนักวิชาการอิสระดังกล่าว ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ปลัดกระทรวงพลังงาน (ดร.พรชัย รุจิประภา) คนเดียวมี 3 ตำแหน่ง คือ(หนึ่ง)ปลัดกระทรวงซึ่งมีหน้าที่ดูแลแผนพลังงานทั้งหมดของประเทศ (สอง)ประธานคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ(สาม) ตำแหน่งประธานคณะกรรมการ บริษัทผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ กฟผ. ด้วย



เมื่อมือข้างหนึ่งเป็นผู้จัดทำแผน แต่มืออีกข้างหนึ่งก็รับแผนมาผลิตให้ได้ตามแผน โดยที่สองมือนี้เป็นของคนคนเดียวกัน ปัญหาก็เกิดขึ้นกับแผนพลังงานของประเทศโดยไม่ต้องสงสัย



ประเด็นนี้เป็นหลักการสำคัญและใหญ่โตมากที่จะต้องแก้ไขและประชาชนผู้บริโภคเองก็ต้องรีบทำความเข้าใจ ในแต่ละปี คนที่อาศัยอยู่ในประเทศต้องเสียค่าไฟฟ้ารวมกันประมาณ 4 แสนล้านบาท ดังนั้น หากเกิดความผิดพลาดในแผนไปสัก 10-20 % ความเสียหายก้อนโตก็เกิดขึ้นกับผู้บริโภค



ประเด็นที่มีการโต้เถียงกันระหว่างคู่ขัดแย้งก็คือ

เดิมทีเดียว(จากการปรับปรุงแผนครั้งที่ 1) กระทรวงพลังงานมีแผนจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมในช่วงปี 2551-2564 จำนวน 30,390 เมกกะวัตต์ โดยใช้งบประมาณการก่อสร้าง 1.6 ล้านล้านบาท แต่เมื่อเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ (ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ระดับรางวัลโนเบลคนล่าสุดได้บอกว่า “ปัญหาได้ลุกลามจนเหนือการควบคุมไปแล้ว”) ทางกระทรวงพลังงานก็ขอเสนอปรับแผน หรือลดการลงทุนลง 6,000 เมกกะวัตต์



ทางนักวิชาการอิสระเสนอว่า ควรจะลดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าลงจำนวน 10,520 เมกกะวัตต์ ไม่ใช่แค่หกพันเท่านั้น



ถ้าเราเชื่อตามข้อเสนอของกระทรวงพลังงาน เราก็สามารถลดการลงทุนที่ไม่จำเป็นลงประมาณ 3.1 แสนล้านบาท แต่ถ้าเราเชื่อตามนักวิชาการอิสระ เราจะประหยัดเงินลงไปได้ 5.5 แสนล้านบาท



ต่างกันถึง 2.4 แสนล้านบาทเชียวนะ ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ เงินก้อนนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะปล่อยไปง่าย ๆ ขอเรียนอีกครั้งว่า ผู้บริโภคไฟฟ้าควรจะต้องสนใจอย่างจริงจัง จะนั่งรอให้สหพันธ์ผู้บริโภค (กลุ่มของ ส.ว. รจนา โตสิตระกูล) หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งทำงานอย่างโดดเดี่ยวไม่ได้อีกต่อไปแล้ว



คำถามที่กลุ่มชาวบ้านตั้งขึ้นอย่างซื่อ ๆ ว่า นโยบายพลังงานผิดพลาด “ใครรับผิดชอบ” ยังไม่ใครตอบได้ ยังไม่มีใครรู้ว่าใครถูกใครผิดเพราะเป็นเรื่องของอนาคตที่ยังมาไม่ถึง



เขียนมาถึงตรงนี้ก็นึกถึงวาทะเด็ดของ Niels Bohr นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล(ปี 1922) ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่งที่มีความเข้าใจทางสังคมอย่างลึกซึ้งว่า “มันเป็นการยากมากที่จะทำการพยากรณ์ได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันเป็นเรื่องของอนาคต(It is very difficult to make an accurate prediction, especially about the future.)”



ถ้านึกถึงเรื่องโจ๊กหรือเรื่องล้อกันในวงการนักวิชาการว่า “เราสามารถแบ่งนักเศรษฐศาสตร์ได้ออกเป็นสองจำพวก คือพวกที่ทำนายอนาคตไม่ถูกกับพวกที่ไม่รู้ตัวเองว่าตนทำนายไม่ถูก”



อย่างไรก็ตาม เราในฐานะผู้บริโภค เราสามารถย้อนกลับไปดูในอดีตก็พบว่า กระทรวงพลังงานหรือในนามของ “คณะอนุกรรมการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้า” ได้พยากรณ์เกินความจริงมาตลอด กล่าวเฉพาะเดือนมีนาคม 2551 ซึ่งภัยเศรษฐกิจยังลามมาไม่ถึง การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดได้สูงเกินจริงไปแล้วถึง 1,400 เมกกะวัตต์ คิดเป็นตัวเงินก็มากโขอยู่



ไม่ว่าจะเป็นคำพูดของนักฟิสิกส์รางวัลโนเบลหรือเรื่องโจ๊กของนักเศรษฐศาสตร์นั้น ต่างตั้งอยู่บนสมมุติฐานของความบริสุทธิ์ใจในการพยากรณ์ แล้วผลการพยากรณ์ก็เป็นเรื่อง “ยากมาก” ที่จะถูกต้อง แต่ถ้าการพยากรณ์นั้นตั้งอยู่บนสิ่งอื่นที่ไม่ตรงไปตรงมาด้วยแล้วยิ่งไปกันใหญ่



ผู้อ่านหลายท่านอาจจะรู้สึกเห็นใจผู้ทำการพยากรณ์ ว่า “ผิดพลาดบ้าง” เป็นเรื่องธรรมดา แต่ข้อมูลในอดีตมันไม่ใช่แค่ “บ้าง” แต่มันเกินจริงทุกครั้ง และมีขนาดเป็นตัวเงินมากเสียด้วย



ในช่วงเศรษฐกิจปี 2540 เราพบว่าในปี 2544 เรามีโรงไฟฟ้าสำรองมากเกินจริงถึง 4 แสนล้านบาท การใช้ไฟฟ้าในช่วงนั้นได้ลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันถึง 32 เดือน (กรกฎาคม 2540 ถึง กุมภาพันธ์ 2543)

คราวนี้ ผมได้เข้าไปดูข้อมูลของกระทรวงพลังงาน ล่าสุดพบว่าการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยได้เริ่มลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนตั้งแต่เดือนกันยายน 2551 โดยมีอัตราการลดลง 0.1% แต่พอมาถึงเดือนธันวาคม กลับลดลงถึง 10.3% ไม่มีใครทราบได้ว่ามันจะลากยาวไปสั้นกว่าหรือนานกว่า 32 เดือน ในกรณีโรคต้มยำกุ้ง



สิ่งที่เป็นปัญหาสำคัญยิ่งในการพยากรณ์ของบ้านเราก็คือ การคิดถึงความต้องการในอนาคตบนพื้นฐานร้อยละของปัจจุบัน เมื่อปัจจุบันมันลดลง การพยากรณ์ในอนาคตยิ่งผิดพลาดมากขึ้น กล่าวให้ชัดเชิงตัวเลขก็คือ ถ้าเราเชื่อว่าอัตราการเติมโตปีละ 5% ถ้าฐานเดิมลดลงจาก 1,000 หน่วยมาอยู่ที่ 900 หน่วย อีก 15 ปีผ่านไป ความแตกต่างจะสูง 208 หน่วย



ปัจจุบันเรามีโรงไฟฟ้าอยู่เกือบ 3 หมื่นเมกกะวัตต์ ดังนั้นความแตกต่างของผลการพยากรณ์กับความเป็นจริงจะสูงมาก



นี่คือปัญหาใหญ่



แล้วเราควรจะพยากรณ์อย่างไรดี?



การตั้งคำถามนี้อาจจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงทั้งหมด



ความจริงทั้งหมดก็คือ ยังมีโรงไฟฟ้าอีกประเภทหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องวางแผนระยะยาว แต่รัฐบาลและกระทรวงพลังงานไม่สนใจ นั่นคือโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น โรงไฟฟ้าจากกังหันลม โรงไฟฟ้าชีวมวล (จากขี้หมู ของเสียจากโรงงาน) เป็นต้น



โรงไฟฟ้าประเภทดังกล่าวใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 1 ปีเท่านั้น โดยไม่ต้องเสี่ยงกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ในขณะที่โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น โรงไฟฟ้าจากถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ต้องใช้เวลานานถึง 5-7 ปีในการก่อสร้างและการสร้างการยอมรับจากชุมชน หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อาจใช้เวลานานถึง 12 ปีซึ่งเสี่ยงมากที่จะเกิดการผันผวน



ระยะเวลาในอนาคต 5-12 ปีเป็นเรื่องยากที่จะพยากรณ์ได้ถูกต้อง แต่ถ้าสั้นลงมาเพียง 1 ปีก็เป็นเรื่องไม่ยากที่จะพยากรณ์และวางแผน



ท่านผู้อ่านที่รับข้อมูลด้านเดียวจากกระทรวงพลังงานและจากกลุ่มพ่อค้าพลังงานมาตลอด อาจจะคิดว่า “เมืองไทยไม่มีลมแรงพอจะผลิตไฟฟ้า ไม่เหมือนประเทศในยุโรป ต้นทุนกังหันยังแพงมาก” ต่างๆ นานา



แต่ผลการศึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ตลอดจนของกระทรวงพลังงานเองก็สรุปว่ามีความเป็นไปได้ แต่ผลการศึกษานี้ก็ถูกเผยแพร่ในวงจำกัด ไม่เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะ

ผมอยากจะจบบทความนี้ด้วยข้อสรุปของนักเคลื่อนไหวด้านพลังงานหมุนเวียนว่า



“ความเป็นไปได้ของพลังงานลม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วลม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี และไม่ได้ขึ้นอยู่กับต้นทุนการผลิต แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลเท่านั้น”

เมื่อผู้วางนโยบายตลอดจนผู้วางแผนพลังงาน ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบใดๆ เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น ภาระที่ไม่จำเป็นก็ตกเป็นของประชาชนอยู่ร่ำไป



“ได้ยินบ่ พี่น้อง ได้ยินบ่” เสียงเพลงของน้าหงา คาราวาน ผ่านเข้ามาในสมองของผมโดยไม่ได้ตั้งใจครับ.






http://www.prachatai.com/05web/th/home/15615

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 19/2/2552

สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน ผ่านมุมมอง ‘บำรุง คะโยธา’ นักสู้สามัญชน

สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน ผ่านมุมมอง ‘บำรุง คะโยธา’ นักสู้สามัญชน



ประสิทธิพร กาฬอ่อนศรี

Amnesty International THAILAND.



จากชุมชนล่มสลาย สู่ ชุมชนเกษตรอินทรีย์

กุดตาไก้ คือหมู่บ้านหนึ่งในภาคอีสาน ซึ่งเผชิญปัญหาไม่ต่างจากชุมชนในชนบทภาคอีสาน ทั้งความแห้งแล้ง ดินไม่ดี นโยบายการเกษตรเชิงเดี่ยว ปอ อ้อย มันสัมปะหลัง เน้นการปลูกเพื่อขายนำรายได้มาซื้อของในตลาดในการดำรงชีวิต คนหนุ่มสาววัยทำงานต้องอพยพเข้าไปทำงานในเมืองหลวง เหลือเพียงคนแก่คนเฒ่าเลี้ยงหลานอยู่ในหมู่บ้าน



ภาพเช่นนี้คือคำเล่าขานสภาพชุมชนเมื่อยี่สิบสามสิบปีที่แล้วจาก บำรุง คะโยธา ผู้หาญกล้าลุกขึ้นท้าทายกำหนดอนาคตของชุมชนในช่วงสิบปีที่ผ่านมา “ผมกลับมาสร้างชุมชน เริ่มจากบ้านที่ผมอยู่ ที่ดินผมมี 7 ไร่ ลงมือทำกับมันอย่างจริงจัง ในช่วงแรกชาวบ้านก็หาว่าผมบ้า แต่เมื่อเห็นผลเขาก็เข้าร่วมและขยายเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ”



บำรุงเล่าให้ฟังถึงช่วงแรกๆ ที่กลับมาอยู่บ้าน หลังจากไปขายแรงงานในเมืองเหมือนคนอีสานทั่วไป ก่อนหน้านี้เขายังได้เข้าร่วมต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมในกรณีราคาหมูตกต่ำ โดยการนำหมูไปปล่อยเพื่อประท้วงราคาหมูตกต่ำที่หน้าศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์มาแล้ว ประสบการณ์สอนให้เขารู้ว่าต้องรวมกลุ่มรวมตัวกันเพื่อต่อรองราคาหมูกับพ่อค้าคนกลาง แต่นั่นยังไม่พอ เพราะจากพ่อค้าคนกลางยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างซีพีที่คอยตัดราคาทำให้ชาวบ้านต้องขาดทุนเพราะสู้ราคาเขาไม่ได้ นอกจากนี้เขายังเห็นความไม่เป็นธรรมเกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาลที่เปิดการค้าเสรี ทำให้หมูจากต่างประเทศทะลักเข้ามาตัดราคาจนชาวบ้านรายย่อยไม่สามารถสู้กับบริษัทใหญ่ๆได้ วันนี้ชุมชนกุดตาไก้เลี้ยงหมูพื้นบ้านแบบหมูหลุม เพื่อการบริโภค ไม่ได้มุ่งหวังเพื่อขาย ผลพลอยได้คือปุ๋ยหมักที่หมูหลุมย่ำและพลิกให้ได้ถึงคอกละ 5-7 ตันต่อปี สำหรับใช้ในการเกษตรกรรมของครัวเรือนลดการใช้ปุ๋ยไปได้อย่างมากหรือแทบจะไม่เสียค่าใช้จ่ายในเรื่องปุ๋ยเคมีเลย



เกษตรผสมผสาน ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก : สร้างความมั่นคงทางอาหาร

พื้นที่ 7 ไร่ มีพืชผัก สมุนไพร ไม่น้อยกว่า 200 ชนิด มีบ่อปลา 2 บ่อ ใช้ในการเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีเล้าเป็ด เล้าไก่ เล้าหมูพื้นบ้าน (หมูหลุม) คอกวัว คอกควาย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่นา ปลูกข้าวเหนียวพื้นบ้านไว้กิน ปลูกข้าวเจ้านิดหน่อยเอาไว้รับแขก ที่เหลือก็แบ่งปันญาติพี่น้อง มีผลไม้ตามริมขอบสระ เช่น มะม่วง มะพร้าว มะละกอ กล้วย อ้อย ขนุน น้อยหน่า ฯลฯ บำรุงบอกว่าลงมือจริงจังสิบกว่าปีที่ผ่านมาก็เห็นผล มีกินทุกอย่าง “เป็นอาหารที่ปลอดภัยปลอดสารพิษ ที่สำคัญมันคือความมั่นคงทางอาหาร ถึงแม้ไม่มีเงินเราก็อยู่ได้” บ้านสวนของเขายังได้รับการยอมรับจากหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนให้เป็นพื้นที่ตัวอย่างเรื่องเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ มีกลุ่มต่างๆ มาเยี่ยมชม ศึกษา ดูงานอย่างไม่ขาดสาย การดำนาด้วยต้นข้าวเพียงต้นเดียวเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ชุมชนกุดตาไก้ ได้ทดลองทำในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา เพราะการได้ไปดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอื่นๆ ทำให้ชุมชนแห่งนี้ไม่หยุดนิ่ง พัฒนาการเกษตรของชุมชนไปได้อย่างต่อเนื่อง



การรวมกลุ่มสร้างความเข้มแข็ง : ทวงสิทธิอันพึงมีพึงได้

บทเรียนของการรวมกลุ่มรวมตัวกันของชาวบ้านทำให้เกิดพลังในการเจรจาต่อรอง บำรุงเป็นแกนนำชาวบ้าน เขาได้ร่วมก่อตั้งสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน สกยอ. เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับชาวบ้านที่ประสบปัญหา เรื่องราคาผลผลิตการเกษตร ปัญหาป่าไม้ทับที่ทำกินของชาวบ้าน ปัญหาที่ดิน ปัญหาหม่อนไหม ปัญหาวัวพลาสติก ปัญหามะม่วงหิมะพาน ปัญหาเขื่อน ปัญหาหมู ฯลฯ การเดินทัพนับหมื่นคนจากอีสานเข้าสู่เมืองหลวง เพื่อกดดันให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้าน เพื่อทวงสิทธิอันพึงมีพึงได้ ก่อให้เกิดการตื่นตัวของชาวบ้านในการเรียกร้องสิทธิของตนเองเป็นอย่างมาก จนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในหลายๆ เรื่อง



การสร้างเครือข่ายปกป้องทวงสิทธิ : ความยากจนคือการละเมิดสิทธิมนุษยชน

สิบกว่าปีที่ผ่านมา บำรุงทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ซึ่งมีเครือข่ายองค์กรชาวบ้าน 7 เครือข่าย คือ เครือข่ายปัญหาที่ดิน เครือข่ายปัญหาป่าไม้ทับที่ทำกิน เครือข่ายปัญหาเขื่อนและการจัดการน้ำ เครือข่ายสลัม 4 ภาค เครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงาน เครือข่าเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายประมงพื้นบ้านภาคใต้ ซึ่งเป็นองค์กรประชาชนที่ผลักดันให้รัฐแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้านในนามสมัชชาคนจน โดยปัญหาทั้งหมดเกิดจากการละเมิดสิทธิของรัฐในนามของการพัฒนา และนโยบายของรัฐที่ลำเอียง ไม่เห็นหัวคนจน รวมทั้งกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม บำรุงบอกว่าชาวบ้านต้องลุกขึ้นมารวมกลุ่มกันให้เข้มแข็ง ปกป้องสิทธิของตนเอง ทวงถามสิทธิของตนเอง เขามองว่าความยากจน คือ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ของประชาชนอย่างร้ายแรง



บทสรุป

บำรุง ย้ำในตอนท้ายว่า สิ่งสำคัญคือการขับเคลื่อนความคิดของคน ต้องทุ่มเทสรรพกำลังในการพูดคุย ประชุมแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านในชุมชน “ให้ชาวบ้านในชุมชนตระหนักและเข้าใจว่าเขามีสิทธิที่จะกำหนดอนาคตของตนเอง ของชุมชน ประเทศชาติ และของโลกเสียด้วยซ้ำไป” ต้องรวมตัวกันให้เข้มแข็ง สานเครือข่ายให้เป็นเอกภาพ กดดัน เจรจาต่อรอง เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิอันพึงมีพึงได้ เกษตรอินทรีย์ การต่อสู้ของเกษตรกรรายย่อย การต่อสู้ของสมัชชาคนจน เป็นเพียงรูปธรรมหนึ่งเท่านั้นเองที่ชุมชนกุดตาไก้ใช้เป็นบทเรียน เป็นตัวผลักดันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชุมชน ผลักดันให้รัฐต้องแก้ไขนโยบายและกฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมต่อชาวบ้านและคนจน และนี่คือการลงมือในการปกป้องสิทธิของตนเอง การกำหนดสิทธิของชุมชนที่จะไม่ดำเนินตามเกษตรกระแสหลัก ของคนเล็กๆ คนหนึ่ง ของชุมชนเล็กๆ ชุมชนหนึ่ง ในถิ่นอีสานแดนไกล





หมายเหตุ : วันที่ 8-10 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ร่วมกับชุมชนกุดตาไก้ กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน ผ่านมุมมองของ คุณบำรุง คะโยธา นักสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน แกนนำชาวบ้าน และที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ที่บ้านสวนคุณบำรุง คะโยธา จังหวัดกาฬสินธุ์







http://www.prachatai.com/05web/th/home/15617


--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 19/2/2552

วันนั้น พคท. พ่ายแพ้ได้อย่างไร

SIU: วันนั้น พคท. พ่ายแพ้ได้อย่างไร



Intelligence Unit

เผยแพร่ครั้งแรกใน http://www.siamintelligence.com/how-communist-party-of-thailand-defeated/ วันที่ 16 ก.พ. 2552



[หมายเหตุ: บางกอกโพสต์นำบทวิเคราะห์เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเวียดนาม ที่เป็นไปในลักษณะทั้งการร่วมมือทางการค้า ผสมกับความหวาดระแวงระหว่างทั้งสองฝ่าย อันเนื่องมาจากสงครามระหว่างจีนกับเวียดนาม (Sino - Vietnamese war) ซึ่งเป็นผลมาจากความขัดแย้งเชิงการเมืองโลก (geopolitics) ที่เกิดการแตกตัวในค่ายคอมมิวนิสต์ จีน-โซเวียต อันเนื่องมาจาก เหมาเจ๋อตุงไม่ถูกกับครุสชอฟ หลังยุคสตาลิน และปัญหาระหว่างท่าทีของโซเวียตต่ออินเดีย กับกรณีเวียดนามยึดกัมพูชา — ซึ่งตอนนั้นเขมรแดงถือว่าเป็นแนวร่วมและใกล้ชิดกับจีน) เวียดนามก็หันเข้าหาโซเวียตมากขึ้น จีนจึงรู้สึกว่าเวียดนามเป็นภัยคุกคาม



สงครามจีน-เวียดนามเป็นสงครามที่ทั้งสองฝ่ายพยายามลืม แต่กระนั้นก็ทำให้ทหารทั้งสองฝ่ายตายไปเกือบ 40,000 คน ทั้งนี้ความขัดแย้งในครั้งนั้นทำให้จีนหันมาทบทวนความร่วมมือกับรัฐบาลไทย และละทิ้งความร่วมมือกับเวียดนาม (ซึ่งในขณะนั้นมีความใกล้ชิดกับโซเวียต) ในแนวทางการกดดันภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งนั่นหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ความขัดแย้ง ที่ต้องถือว่าเป็นขั้นสงครามกลางเมืองระหว่าง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและรัฐไทย ในขณะนั้น ให้เริ่มดำเนินไปสู่เส้นทางแห่งการยุติความขัดแย้งลงด้วย



SIU ขอนำเสนอบทวิเคราะห์ผลกระทบต่อสงครามครั้งนั้น ซึ่งส่งผลมายังผลกระทบที่ทำให้ พคท. ต้องพ่ายแพ้ในตอนแรก ก่อนจะนำเสนอบทวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันในวันพรุ่งนี้]





……



เมื่อพูดถึงขบวนการเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย ที่มีขนาดใหญ่ ชัดเจนที่สุด และมีกำลังกล้าแข็งที่สุด คงไม่อาจไม่พูดถึง “พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” ได้ ขบวนการของ พคท. ดูเหมือนว่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากขบวนนักศึกษา-ปัญญาชน หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เพิ่มมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงในศูนย์การนำของ พคท. เองก็มีความแตกแยกทางความคิดกันอยู่ก่อนหน้านั้นหลายปีแล้ว เริ่มตั้งแต่



* การแยกตัวของ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร และ ผิน บัวอ่อน โดยประเสริฐ เสนอแนวทางการสู้ในสภา ส่วนผินไม่เห็นด้วยกับแนวทางซ้ายจัดของนักศึกษา

* การวิพากษ์ศูนย์กลางของพรรคภายใต้การนำของดำริห์ เรืองสุธรรม เรื่องนี้ถึงกับทำให้พรรคเกือบแตกและรบกันเอง [ดูกรณีการวิพากษ์ศูนย์กลางของพรรคภายใต้การนำของดำริห์ เรืองสุธรรม ใน สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, ประวัติ พคท. ฉบับ พคท. (2), ฟ้าเดียวกัน 1:2]

* การวิพากษ์ของแกนนักศึกษาที่เข้าป่าไปสมทบ กับพคท. นักศึกษามองว่า แกนนำพคท. เก่าล้าหลัง ที่เชื่อทฤษฎี กึ่งศักดินา กึ่งเมืองขึ้น แล้วเลยกำหนดยุทธศาสตร์เป็น ชนบท ล้อมเมือง กล่าวคือไปลอกแนวยุทธศาสตร์เอามาจากจีนโดยไม่ดัดแปลง เรื่องนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ “สหายนักศึกษารุ่นใหม่” เข้าร่วมการปฏิวัติกับ พคท. ก็เริ่มมีการแตกแยกทางความคิด ในแง่ “การวิเคราะห์สังคมไทย” ขึ้นมา (ดู ธิกานต์ ศรีนารา, จาก “กึ่งเมืองขึ้น กึ่งศักดินา” ถึง “ทุนนิยม” : วิวาทะว่าด้วย “ลักษณะสังคมไทย” ใน พคท., ฟ้าเดียวกัน 4:4)









เอกสารบรรยายสรุป นโยบาย 66/2523



ดูเหมือนแวดวงวิชาการจะยอมรับว่าความแตกแยกทางความคิด ในเรื่อง “การวิเคราะห์สังคมไทย” เป็นปัจจัยภายในด้านหลัก ที่ทำให้ขบวน พคท. ล่มสลาย โดยมีปัจจัยภายนอก คือการแตกแยกใน communist bloc ของ สหภาพโซเวียต และจีน มีบางส่วนอาจกล่าวถึง นโยบาย 66/2523 ว่าเป็นปัจจัยหนุนเสริมบ้าง



เนื้อหาใน “วันนั้นจะชนะได้ยังไง” ของ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ สร้างความเชื่อมโยงและบ่งบอกแง่มุมทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจกว่านั้น



(1) พล.อ. ชวลิต ให้ความสนใจในแนวคิดของ มาร์กซ์-เหมา หลังจากพบว่า ปฏิบัติการทางทหาร ที่เขากล่าวว่าได้รับความรู้มาจากสหรัฐฯ ไม่สามารถใช้ต่อสู้กับ พคท. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ลักษณะยุทธศาสตร์ของ พคท. เป็นลักษณะของการเมืองนำการทหาร ซึ่งเหนือกว่ากองทัพไทยและโลกเสรีในสมัยนั้นที่ยังมีลักษณะเน้นหนักด้านการท หาร)



ตอนนี้เองที่กองทัพ เริ่มศึกษาพิจารณากันอย่างหนักถึงเหตุผล พยายามแสวงหาหนทางที่จะกลับเป็นฝ่ายที่เห็นชัยชนะได้บ้าง ลูกหลานจบการศึกษาจากโรงเรียนทหาร ตำรวจ ใช้เวลาเรียน 5-6 ปี ออกมารับราชการ ลงพื้นที่ปฏิบัติการในสนามเพียง 6 เดือน ก็ต้องสูญเสียแขน ขา อวัยวะ และแม้ชีวิต สภาพขณะนั้นผู้ใดไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่ใกล้ชิดดังกล่าว จะไม่มีวันได้รับทราบความเจ็บปวดในหัวใจที่เกิดขึ้นตลอดทั้งวันและคืน ของเหล่าทหารหาญและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน



ผมเริ่มได้คิดว่า “ด้วยความถือตัวว่าเป็นผู้รู้และชำนาญ ในกระบวนการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์” ซึ่งเป็นความคิดและหลักการที่ผิด เพราะได้รับมาจากการปฏิบัติการกับกองทัพสหรัฐฯ ในต่างแดน ผมเกือบนำกองทัพและประเทศชาติไปสู่ความหายนะเสียแล้ว จึงเริ่มกลับมาพิจารณาหลักการพื้นฐาน ในการต่อสู้หรือการทำการรบ ซึ่งจะต้องเริ่มด้วยการพิจารณาเพื่อให้เข้าใจฝ่ายตรงข้ามให้ถ่องแท้ เป็นขึ้นตอนแรก และจะต้องศึกษาพิจารณาโดยตรงจากบุคคล/หลักฐานเอกสารของฝ่ายคอมมิวนิสต์ ไม่ใช่ศึกษาจากฝ่ายเราหรือฝ่ายสหรัฐฯ ซึ่งเรายึดถือมาตลอด



(2) พล.อ.ชวลิต ได้รับความช่วยเหลือ/คำแนะนำ จาก ผิน บัวอ่อน, ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร, ซึ่ง พล.อ. ชวลิต ระบุว่าได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือจาก พล.ต. ระวี วันเพ็ญ พล.ท. ประสิทธิ์ นวาวัฒน์ พล.อ. มานะ เกษรสุข พ.อ.ชวัติ วิสุทธิพันธุ์ โดยแนะนำให้รู้จัก ประเสริฐ และ ผิน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของคำสั่ง 66/2523 ประเสริฐ เคยต่อว่า พล.อ. ชวลิต ที่ใช้กำลังปราบปราม พคท. หลังการออกคำสั่ง 66/2523











รูป ผิน บัวอ่อน หรือในนามปากกา “อำนาจ ยุทธวิวัฒน์” เขาเคยดำรงตำแหน่งกรมการเมืองของพคท.





(3) เบื้องหลังการเปลี่ยนนโยบายของกองทัพในการต่อสู้กับ พคท. ก็ต้องมีการอธิบายและต่อสู้ทางความคิดภายในกองทัพไทยเองด้วย



(4) มีการเจรจาให้พรรคคอมมิวนิสต์จีน (พคจ.) ยุติความช่วยเหลือ ต่อความเคลื่อนไหวของ พคท. ชัดเจนที่สุดคือการขอให้ ยุติการออกอากาศ สถานีวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย (สปท.) โดย พล.อ. ชวลิต เดินทางไปปักกิ่งร่วมกับ พล.อ. พัฒน์ อัคนิบุตร และ พล.ท. ผิน เกษร โดยไปพบปะกับ เติ้ง เสี่ยว ผิง



นอกจากจีนแล้ว ลาวก็ยังตัดความสัมพันธ์กับ พคท. โดยปิดพรมแดนด้านไทยและจีน ไม่ให้พคท. ใช้เป็นทางผ่าน รวมทั้งให้ พคท. อพยพสำนักต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในลาวออกไปท้งหมด สมพรให้สัมภาษณ์ว่า ใช้เวลาในการ “อพยพ 2 เดือน และใช้ช้าง 100 เชือก” (ดูสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, อ้างแล้ว)



พคจ. ยังเสนอให้ สปท. งดโจมตีไทย (ข้อเสนอนี้ จีนเริ่มเสนอตั้งแต่ปลายปี 2521 แต่ ธง, อุดม, ประสิทธิ์, ดำริห์, อัศนี เห็นว่า ถ้าจะให้งดโจมตีรัฐบาล ก็ให้ปิดไปเลยดีกว่า ในขณะที่วิรัช และสมาชิกบางคน เสนอว่าน่าจะกระจายเสียงต่อไป ภายหลังมีการลงมติ ฝ่ายให้ปิดเป็นฝ่ายชนะคะแนน ดังนั้น สปท. จึงมีการกระจายเสียงครั้งสุดท้ายวันที่ 11 กรกฎาคม 2522 (ดูสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, อ้างแล้ว)



ปี 2524 เกิดวิกฤตศรัทธาครั้งใหญ่ ผู้ปฏิบัติงาน พคท. ทยอยออกจากป่า หลังจากรัฐบาลออกคำสั่ง 66/2523 ภายหลังมีคำสั่ง 65/2525 เรื่อง แผนรุกทางการเมือง ซ้ำอีกครั้ง ปฏิบัติการของ พคท. อ่อนกำลังลงทุกที (ปี 2525 ศูนย์การนำย้ายจากภาคเหนือไปอยู่ภาคใต้, 2530 ศูนย์การนำที่ย้ายมาอยู่ภาคตะวันตก สลายไปโดยปริยาย เนื่องจากระดับนำถูกจับกุมเป็นครั้งที่ 2)



ปี 2534 ผู้ปฏิบัติงานชุดสุดท้ายของ พคท. ในเขตงานภาคใต้ ออกจากป่า.






http://www.prachatai.com/05web/th/home/15594

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 17/2/2552

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

กก.สิทธิฯ สรุป 10 ความคืบหน้า-10 ความถดถอยในไทย

กก.สิทธิฯ สรุป 10 ความคืบหน้า-10 ความถดถอยในไทย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 กุมภาพันธ์ 2552 18:37 น.



กก.สิทธิจับมือ ครส.สรุป 10 ความคืบหน้า และ 10 ความถดถอยในสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย พบปี 51 เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน-การขึ้นแบล็กลิสต์ 14 อาจารย์ฉาวละเมิดเซ็กซ์ การจ่ายค่าชดเชยเหยื่อคิลตี้ ถือเป็นความก้าวหน้า ขณะที่ การปราบปรามประชาชนในเหตุการณ์ 7 ต.ค.เซ็กซ์แลกเกรด ความรุนแรงภาคใต้ การคุกคามนักต่อสู้สิทธิมนุษยชน ความไม่คืบหน้าในคดีสมชาย และพระสุพจน์ ถือเป็นความถดถอย

วานนี้ (18 ก.พ.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) นำโดย นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ ผอ.ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติธรรม นายเมธา มาศขาว เลขาธิการ ครส.และ นางอังคณา นีละไพจิตร นักสิทธิมนุษยชน แถลง 10 ความคืบหน้า และ 10 ความถดถอย ของสถานการณ์สิทธิมนุษยชนไทยปี 2551 โดย 10 สถานการณ์คืบหน้า ประกอบด้วย
1.การมีส่วนร่วมของประชาชนในทางสังคมการเมือง เริ่มขยายตัว และก่อรูปของสภาพัฒนาการเมือง
2.รัฐเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศรับรองสิทธิของผู้พิการ ซึ่งไทยต้องทำตามและให้สิทธิด้านต่างๆ แก่ผู้พิการ
3.ศาลเปิดคำสั่งศาลนราธิวาส “อิหม่ามยะผา” ถูกซ้อมเสียชีวิต กับบรรทัดฐานใหม่ความเป็นธรรม และสิทธิมนุษยชน (25 ธันวาคม) โดยเป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2551 ในคดีชันสูตรพลิกศพ นายยะผา กาเซ็ง อิหม่ามประจำมัสยิดบ้านกอตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ตามที่พนักงานอัยการยื่นคำร้อง โดยศาลเชื่อว่า “อิหม่ามยะผา” ถูกทำร้ายจนเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวโดยทหาร
4.กลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนมีเค้าลางจะเป็นจริง เมื่อกฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ และก่อให้เกิดคณะทำงานเพื่อจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Regional Working Group for an ASEAN Human Rights Mechanism) ขึ้น
5.สกอ.(สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา) กระทรวงศึกษาธิการ แบล็กลิสต์ 14 อาจารย์ฉาว กรณีล่วงละเมิดทางเพศ ลวนลามนักศึกษา
6.ศาลปกครองกลางสั่งกรมควบคุมมลพิษจ่ายค่าชดเชยเหยื่อคลิตี้
7.การประกาศใช้ พ.ร.บ.คำนำหน้านามหญิง พ.ศ.2551 โดยให้เลือกใช้ นาง-นางสาว ได้ตามความสมัครใจ
8.สิทธิผู้บริโภคเริ่มได้รับความใส่ใจ เช่น การดำเนินคดีแพ่งกับบริษัทที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค หรือการสั่งปรับสินค้าที่โฆษณาเกินจริง
9.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขยายสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพประชาชน ครอบคลุมชนกลุ่มน้อย ขยายสิทธิการเข้าถึงผู้ป่วยโรคเฉพาะ ไต มะเร็ง ฯลฯ และ
10.กฎหมายค้ามนุษย์มีผลบังคับใช้

ขณะที่ 10 สถานการณ์ถดถอย ประกอบด้วย
1.ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้การใช้กฎอัยการศึก และ พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินโดยไม่มีการประเมิน การใช้นโยบายการทหารนำการเมือง
2.เหตุการณ์ 7 ตุลาคม และความรุนแรงจากความขัดแย้งทางการเมืองที่สืบเนื่อง การปราบปรามประชาชน การเผชิญหน้า 2 สี การเกิดการบุกยึดสถานที่ราชการ ที่สาธารณะ และการปะทะกันเองโดยที่เจ้าหน้าที่รัฐเพิกเฉย
3.ปัญหากระบวนการยุติธรรมและกฎหมาย เช่น การ พ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ร.บ.กฎอัยการศึก โดยไม่ได้ประเมิน รวมไปถึงการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย การอ้างคำสั่งศาล และการซ้อม ทรมานผู้ต้องหา
4.วิกฤตเศรษฐกิจ ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น รวมถึงไม่มีหลักประกันการว่างงาน แก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ฯลฯ สิทธิของผู้ด้อยโอกาส คนชายขอบซึ่งถูกแย่งที่ดินและโอกาสทำกิน ทั้งจากนายทุนและหน่วยงานรัฐ
5.กรณีเซ็กซ์แลกเกรด คลิปฉาว ความรุนแรงในโรงเรียน และกรณีนักเรียนตีกันระหว่างสถาบันการศึกษา
6.ผลกระทบจากโครงการของรัฐที่เดินหน้าต่อและสร้างผลกระทบกับประชาชน เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ โครงการโรงถลุงเหล็กที่ป่าพรุ บางสะพาน บ่อขยะสุราษฎร์ ฯลฯ
7.การคุกคามนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน เช่น การอุ้ม นายกมล เหล่าโสภาพันธ์ หลังเดินทางไปติดตามคดีที่ สภ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น รวมไปถึงคดีที่ยังไม่คลี่คลาย เช่น กรณี นายสมชาย นีละไพจิตร และ พระสุพจน์ สุวโจ
8.การคุกคามสื่อ ยึดสำนักงาน เอ็นบีที ปิดกั้นวิทยุชุมชน ข่มขู่ คุกคาม ทำร้ายบุคลากรด้านสื่อมวลชน เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และอำนาจการปิดเว็บไซต์ของกระทรวง ICT ตาม พ.ร.บ.และคดีฟ้องร้อง และหมิ่นประมาท ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
9.การห้ามมอญจัดงานวันชาติ ที่ จ.สมุทรสาคร โดย กอ.รมน.ซึ่งถือเป็นสิทธิ์ทางวัฒนธรรมขั้นพื้นฐาน และ
10.กรณี โศกนาฏกรรมแรงงานข้ามชาติจากพม่า เสียชีวิตบนรถห้องเย็น ซึ่งเป็นผลจากการค้ามนุษย์

โดย นางอังคณา ได้กล่าวถึงสถานการณ์ในภาคใต้ ว่า เป็นเรื่องความรุนแรงในการปราบปรามและการละเมิดสิทธิ์ของ 2 ฝ่าย และเป็นสถานการณ์พิเศษ และการแก้ปัญหาเป็นแบบเบ็ดเสร็จที่ให้อำนาจกับ กอ.รมน.ภาค 4 ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนสูงมาก และมีแนวโน้มว่าจะยกเลิกยุทธศาสตร์สันติวิธี ทำให้กังวลว่า กอ.รมน.และ สมช.จะนำยุทธศาสตร์คีมสองง่าม ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติ การจัดทำบัญชีรายชื่อประชาชนที่รัฐมองว่าเป็นผู้สนับสนุนผู้ก่อความไม่สงบ การเข้าถึงพยานหลักฐานในคดีอาญาของผู้เสียหายที่ผ่านมาไม่สามารถทำได้ และมีการคุกคามนักสิทธิมนุษยชน เช่น การเข้าตรวจค้นสำนักงานและปล่อยข่าว ว่า เป็นผู้ช่วยผู้ก่อความไม่สงบ ที่สำคัญเริ่มมีการสร้างค่ายทหารในโรงเรียนมากขึ้น

นางอังคณา กล่าวว่าตน และ ครส.มีข้อเสนอไปยังรัฐบาล ประกอบด้วย
1.รัฐต้องคลี่คลายปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเสียชีวิตในช่วงสงครามการปราบ ปรามยาเสพติด หรือเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ ที่ผ่านไปกว่า 2 ปีแล้ว แต่อัยการยังไม่ได้นำเรื่องขึ้นสู่ศาล
พร้อมให้ความคุ้มครองนักสิทธิมุนษยชนภาคใต้
2.ยกเลิกการใช้ พ.ร.บ.บริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน และหันมาใช้ยุทธศาสตร์พลเรือนนำการทหาร โดยจัดองค์กรบริหารภาคใต้ในรูปแบบพิเศษที่ให้อำนาจอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ กอ.รมน.ภาค 4
3.ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมใหม่ โดยแก้กฎหมายให้การทรมานเป็นอาชญากรรมใหม่
4.ให้รัฐตั้งกรรมการอิสระขึ้นมาตรวจสอบในกรณีที่ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมในคดีต่าง และ
5.เลิกวัฒนธรรมผู้กระทำผิดลอยนวลไม่ว่ากรณีใดๆ ต้องหาตัวผู้กระทำความผิดให้ได้



http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000018884

โพลเผย สารเสพติดเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เด็กใช้ความรุนแรงถึง 20 เท่า

โพลเผย สารเสพติดเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เด็กใช้ความรุนแรงถึง 20 เท่า

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 กุมภาพันธ์ 2552 11:26 น.


พบ “สารเสพติด” เป็นปัจจัยให้เด็ก-เยาวชน ใช้ความรุนแรงมากสุดถึง 20 เท่า ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ติดเกมออนไลน์ เห็นภาพการใช้อาวุธทำร้ายกันในทีวีเสี่ยง 9.34, 3.43 และ 2.23 เท่า ตามลำดับ แนะหน่วยงานรัฐ-ผู้ใหญ่ในสังคม-พ่อแก่เร่งเยียวยา





นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “สถานการณ์การใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร” จำนวน 2,511 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 10-17 ก.พ.ที่ผ่านมา พบว่า รายการโทรทัศน์ที่ติดตาม อันดับแรก หรือร้อยละ 64.3 ชมละครโทรทัศน์ รองลงมา คือ ร้อยละ 57.9 ระบุรายการเพลง ร้อยละ 55.6 ระบุ รายการข่าว หรือวิเคราะห์ข่าว ร้อยละ 44.5 ระบุรายการเกมโชว์ ร้อยละ 40.3 ระบุ รายการวาไรตี้ หรือ ทอล์กโชว์ และร้อยละ 34.2 ระบุรายการการ์ตูน ตามลำดับ ที่น่าสนใจ คือ เด็กและเยาวชน ร้อยละ 52.2 พบเห็นภาพความรักความอบอุ่นของครอบครัวผ่านรายการโทรทัศน์ รองลงมา คือ ร้อยละ 40.3 พบเห็นภาพการทำบุญทำทาน กิจกรรมทางศาสนา และเพียงร้อยละ 39.4 ที่พบเห็นภาพการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม

ที่น่าเป็นห่วง คือ เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 60.8 พบเห็นภาพการใช้อาวุธ เช่น อาวุธปืน มีด ทำร้ายกันบ่อยๆ รองลงมา คือ ร้อยละ 57.5 พบเห็นภาพการต่อสู้ทำร้ายร่างกายกัน ร้อยละ 51.4 พบเห็นภาพของสงครามและการฆาตกรรม ร้อยละ 49.3 พบเห็นภาพการคุกคามทางเพศ ร้อยละ 46.5 พบเห็นพฤติกรรมการพูดจาหยาบคาย ด่าทอ โต้เถียงกัน เป็นต้น

เมื่อถามถึงกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่เด็กและเยาวชนผู้ถูกศึกษาทำเป็นประจำในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 67.9 ระบุเรียนพิเศษ แต่ที่น่าพิจารณา คือ เด็กและเยาวชนในช่วงเศรษฐกิจถดถอยนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.4 ทำงานหารายได้ ทำงานพิเศษ ร้อยละ 53 ทำกิจกรรมเพื่อสังคม แต่เพียงร้อยละ 44.5 อ่านหนังสือ ร้อยละ 42.9 เล่นกีฬา เล่นดนตรี ส่วนกิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55 เล่นเกมคอมพิวเตอร์/เกมออนไลน์ประเภท เกมต่อสู้ ร้อยละ 34.1 ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ ร้อยละ 25.9 เที่ยวกลางคืน และที่น่าเป็นห่วง คือ เกือบ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 23.7 หนีเรียน ร้อยละ 21.4 เล่นการพนัน ร้อยละ 16.7 เข้าร่วมกับกลุ่มเพื่อนบุกยกพวกตีกัน ร้อยละ 16.7 ทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นโดยใช้กำลัง ร้อยละ 13.5 ใช้สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ และร้อยละ 14.1 ทะเลาะกับผู้อื่นโดยใช้อาวุธ

นายนพดล กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ค่าสถิติวิจัยด้วยค่า Odds Ratio ทำให้เห็นพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชนอย่างชัดเจน ดังนี้ เด็กและเยาวชนที่ใช้สารเสพติดประเภทต่างๆ มีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึงประมาณ 20 เท่า หรือ 19.75 เท่ามากกว่าเด็กและเยาวชนที่ไม่ใช้สารเสพติด เด็กและเยาวชนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึง 9.34 เท่า เด็กและเยาวชนที่ติดเกมออนไลน์ เกมคอมพิวเตอร์ประเภทเกมต่อสู้มีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึง 3.43 เท่า เด็กและเยาวชนที่พบเห็นภาพการใช้อาวุธทำร้ายกันผ่านรายการโทรทัศน์บ่อยๆ มีความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงสูงถึง 2.26 เท่า

นายนพดล กล่าวว่า หน่วยงานรัฐและผู้ใหญ่ในสังคมที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องรีบเยียวยาปัญหาเหล่านี้ ไม่เช่นนั้นจะมี “เหยื่อบริสุทธิ์” ของพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงจากกลุ่มเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน กลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการเป็นผู้มีความมั่นคงในอารมณ์ ไม่ใช้ความรุนแรงเสียเอง ส่วนกลุ่มวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน ควรลดการนำเสนอภาพการใช้ความรุนแรงในสถานศึกษา และชุมชน ควรมุ่งเน้นการนำเสนอสาระของเหตุการณ์ และข้อคิด เพื่อเตือนให้สังคมเกิดความตระหนักในปัญหาการใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กเยาวชน

ด้านกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ออกกฎหมาย ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายที่เด็ดขาดในการลดปัญหาเด็กและเยาวชนที่เข้าถึงการใช้อาวุธ ยาเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย และถึงเวลาหรือยังต้องมีบทลงโทษพ่อแม่ผู้ปกครองที่ปล่อยปละละเลยให้เด็กและเยาวชนอยู่บ้าน หน้าจอโทรทัศน์และเกมออนไลน์เพียงลำพัง และรัฐบาลต้องเข้ามาร่วมสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ไม่ใช่เข้ามาแสดงบทบาทตามกระแสเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ชาติเพื่อเฝ้าระวังดูแลรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชนแบบบูรณาการทุกหน่วยงานรัฐและทุกภาคส่วนของสังคม
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000018620

จวก กม.“ขอทาน” เลอะเทอะ ซัดบีบให้ถือกะลา-น้อยใจหมาจรจัด ยังดีกว่า

จวก กม.“ขอทาน” เลอะเทอะ ซัดบีบให้ถือกะลา-น้อยใจหมาจรจัด ยังดีกว่า

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 กุมภาพันธ์ 2552 14:02 น.





“สภาคนพิการ” จวกให้ยกเลิกความคิดนำเสนอ พ.ร.บ.ควบคุมขอทาน เข้าสู่การพิจารณา ครม.ระบุเหมือนการตอกย้ำ ส่งเสริมให้คนเป็นขอทาน แนะรัฐบาลสนใจให้การศึกษา ฝึกอาชีพ ดีกว่าโยนกะลาให้ ด้าน “อิสสระ” แจงต้องทำประชาพิจารณ์-ศึกษาให้รอบด้าน ก่อนตัดสินใจนำเข้า ครม.อีกครั้ง

วันนี้ (18 ก.พ.) นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยถึงกรณีการถอนพิจารณา พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน ว่า ภายหลังจากที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวถูกบรรจุอยู่ในระเบียบวาระเพื่อพิจารณาของครม.แต่ด้วยความเป็นห่วงของนายกรัฐมนตรีในประเด็นที่จะมีการขึ้นทะเบียนขอทานนั้น ทำให้ต้องถอนวาระออกไปก่อน เนื่องจากอยากให้มีการศึกษา ทบทวนให้รอบคอบอีกครั้ง โดยการที่จะนำคนขอทานมาจดทะเบียนนั้น อยากให้มีการหาข้อมูลที่รอบด้าน เพราะอาจมีคนมองได้ว่าเป็นการสนับสนุนให้มีอาชีพขอทานเกิดขึ้น ต้องให้มีคณะทำงานศึกษา ทั้งด้านสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อีกทั้งการยอมรับของสังคมไทยว่าการที่นำขอทานมาขึ้นทะเบียนจะเท่ากับเป็นการตีตราและประจานหรือไม่ จะยอมรับได้หรือไม่ ซึ่งตนจะเชิญอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการมาพบหารือเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง

นายอิสสระ กล่าวอีกว่า ตนเข้าใจดีว่า พ.ร.บ.ควบคุมการขอทานนี้อาจครอบคลุมถึงการกีดกันคนต่างด้าว ที่จะเข้ามาปะปน ทำงานในไทย จึงอยากให้มีการขึ้นทะเบียนขอทานซึ่งส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.ก็น่าจะมาจากเหตุนี้เช่นกัน แต่ถึงอย่างไรก็ต้องมีการทำประชาพิจารณ์ถึงความเหมาะสม ก่อนจะมีการเสนอเข้าพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ยืนยันได้ว่าจะใช้เวลาในการศึกษาไม่นาน และจะดูแลปัญหานี้อย่างจริงจัง

ด้านอาจารย์ประหยัด ภูหนองโอง ประธานฝ่ายการศึกษา สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตา กล่าวว่า ในเรื่อง พ.ร.บ.ควบคุมขอทานนั้น ตนอยากให้มีการยกเลิกความคิดไปเลย เพราะนั่นจะเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความเลวร้ายในสังคมไทย คือ การที่จะขอทานก็ต้องมาจดทะเบียน เป็นการส่งเสริมให้มีอาชีพขอทานหรือไม่ รัฐบาลควรจะให้การศึกษา อาชีพ แทนที่จะให้กะลา หากให้การศึกษาที่ดีเราก็จะได้คนพิการ คนด้อยโอกาส ที่มีศักยภาพมากขึ้น หากให้ พ.ร.บ.นี้ออกไปก็เท่ากับว่ายื่นกะลาให้พวกเขา และเราก็จะได้ประชากรขอทานเพิ่มขึ้น ส่วนเนื้อหาของ พ.ร.บ.ฉบับใหม่ที่จะมีการพิจารณานี้ก็ไม่ได้มีอะไรใหม่ เพียงแต่เปลี่ยนจากกะลา มาเป็นเครื่องดนตรี เปลี่ยนจากขอทานมาเป็นนักแสดงสาธารณะ ไม่ได้เป็นการสร้างมนุษย์แต่เป็นการทำลายความสามารถกันมากกว่า

“รัฐบาลลงทุนแจกเงิน 2 พันบาท เพื่อสนับสนุน ช่วยเหลือคนที่มีโอกาส มีงานทำอยู่แล้ว แต่คนพิการกลับไม่ได้ดูแลเท่าที่ควร กลับจะมายัดเยียดให้มีอาชีพเป็นวณิพก ปัญหาที่เป็นอยู่ตอนนี้ คือ เมื่อเก็บขอทานได้ ก็เอาไปไว้ยังสถานสงเคราะห์ ซึ่งคิดว่าน่าจะทำอะไรได้ดีกว่านี้และสอดคล้องกับยุคสมัยมากกว่านี้ ควรให้ความสำคัญกับการศึกษา ฝึกอาชีพ ส่งเสริมให้พวกเขาเหล่านั้นมีงานทำมากกว่าจะตอกย้ำให้เขามาเป็นขอทาน หากเป็นไปได้ก็จะเห็นว่าพวกเขามีศักยภาพที่จะทำอะไรได้มากกว่าการมาเป็นขอทาน เป็นวณิพก คนในรัฐบาลไม่ควรคิดแบบไดโนเสาร์ อย่ามาบังคับกัน”อ.ประหยัด กล่าว

อ.ประหยัด กล่าวอีกว่า ใน กทม.อดีตผู้ว่าฯ กทม.ที่ผ่านมา ให้ความสนใจคนพิการคนด้อยโอกาสน้อย มัวแต่สนใจแต่เรื่องหมา แมว เพราะคนด้อยโอกาสที่มาเป็นขอทานที่อยู่ในพื้นที่ของ กทม.มีความเสี่ยงมาก ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเร่งดูว่าจะให้ความช่วยเหลืออย่างไร เพื่อไม่ให้มีคนขอทานเกิดขึ้น เอาใจใส่ ปรับความรู้สึกสงสาร เวทนาให้หมดไป ต้องกลับมาค้นหาว่าจะช่วยในการพัฒนาศักยภาพพวกเขาอย่างไร ขาที่เคยง่อยก็จะได้เดินได้ ตาที่บอดก็จะได้ทำในสิ่งที่มากกว่าขอทาน จึงอยากให้รัฐบาลคิดอะไรให้มีความก้าวหน้า ไม่ใช่สิ่งคิดมาแล้วจะทำให้คนมีแต่ความล้าหลังลงไปอีก

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000018694

ประวิตร โรจนพฤกษ์: คำถามค้างคาใจกรณีใจ อึ๊งภากรณ์

ประวิตร โรจนพฤกษ์: คำถามค้างคาใจกรณีใจ อึ๊งภากรณ์



ประวิตร โรจนพฤกษ์





การหนีลี้ภัยของอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์ เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อหลบข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ก่อให้เกิดคลื่นช็อกกระทบสังคมไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการตอกย้ำถึงราคาค่างวดอันสูงยิ่งของผู้ที่กระทำการหมิ่นเหม่ต่อกฏหมายนี้ และต้นทุนสูงซึ่งสังคมไทยแบกรับในการมีกฏหมายนี้ – ซึ่งดูเหมือนว่าต้นทุนของสังคมในสายตานานาอารยะประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่ถือว่าการแสดงความเห็นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานจะมีราคาค่างวดสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกครั้งที่มีข่าวทำนองนี้ออกสู่สายตาชาวโลก



ล่าสุดหนังสือพิมพ์ไฟแนนซ์เชียลไทมส์ของลอนดอนได้สัมภาษณ์นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และลงตีพิมพ์เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (F T Weekend, หน้า Life & Arts 3) ซึ่งผู้สัมภาษณ์ได้ถามเพียงไม่กี่ประเด็นแต่ปรากฏว่าหนึ่งในคำถาม ได้แก่ เรื่องกฏหมายหมิ่นฯ ส่วนในเมืองไทยนั้นกลุ่ม นปช. และเสื้อแดงก็รีบปฏิเสธไม่รู้ไม่เห็นและไม่สนับสนุนกับมุมมองของนายใจ ซึ่งตอนหลังได้มีโอกาสขึ้นเวทีัทักทายผู้ชุมนุมเสื้อสีนี้ ในขณะที่หนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการรายวัน ได้โอกาสถล่มใจและโยงใจกลับไปหาทักษิณและกลุ่มเสื้อแดง



หลายคนคงทราบว่า ใจได้ทิ้งจดหมายแดงสยามที่เป็นเหมือนระเบิดลูกใหญ่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ทหารและสถาบันกษัตริย์อย่างรุนแรง และเรียกร้องความเท่าเทียมในสังคมไทย หรือแม้กระทั่งความจำเป็นที่ประเทศไทยควรจะเป็นสาธารณรัฐ หากสถาบันกษัตริย์ไม่สามารถปฏิรูปตนเองได้ จดหมายฉบับนี้รุนแรงมากจนกระทั่งสื่อทั้งกระแสหลักและกระแสรองรวมถึงประชาไทมิกล้าลงตีพิมพ์ทั้งฉบับ และไม่ว่าผู้อ่านหรือใครจะเห็นด้วยหรือเห็นต่างจากใจหรือไม่ก็ตาม แต่ก็คงปฏิเสธมิได้ว่าผู้ที่กำลังถูกดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพคนอื่นอาจได้รับผลกระทบทางลบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยที่พวกเขาอาจมิได้รับการประกันตัวหรือต้องถูกรีบคุมขังเพราะกลัวจะหนีไปต่างประเทศอย่างใจ นักกิจกรรมทางสังคมและการเมืองบางคนก็โกรธมากและวิพากษ์ใจอย่างรุนแรงว่าสิ่งที่ใจทำเป็นการละทิ้งกระบวนการล่าลายเซ็นเพื่อยกเลิกกฏหมายหมิ่นฯ ที่เพิ่งเริ่มต้นได้ไม่นาน บ้างก็ว่าใจกระทําเช่นนี้ได้เพราะว่าตัวใจนั้นถือสองสัญชาติทั้งไทยและอังกฤษ แถมยังมาจากครอบครัวที่มีอันจะกินและมีชื่อเสียง และก็มีอาจารย์บางคนที่กล่าวว่า อาจารย์ใจ “ใจไม่ถึง” หนีไปต่างประเทศแทนที่จะยืนสู้กับกฏหมายที่พวกตนเชื่อว่าไม่ชอบธรรมและขัดกับหลักประชาธิปไตยพื้นฐาน



ไม่ว่าผู้อ่านจะคิดอย่างไรกับอาจารย์ใจ อาจารย์ใจในมุมมองของผู้เขียนก็ยังคงเป็นเหยื่อของกฏหมายที่ขัดกับหลักประชาธิปไตยและมีโทษรุนแรงจำคุกถึง 15 ปี กฏหมายนี้ขัดกับหลักพื้นฐานของสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และตราบใดที่ยังมีคนถูกจองจำภายใต้กฏหมายนี้ (ซึ่งตอนนี้มี 4 คน 2 คนที่ถูกตัดสิน 1, 2 และอีก 2 คนยังรอการตัดสินอยู่ในคุก 1, 2) ตราบใดที่ความแตกต่างทางอุดมการณ์เป็นอาชญากรรมและเป็นอาชญากรรมที่ถูกประณามโดยคนจำนวนมากในสังคม สังคมย่อมย่ำอยู่กับความเห็นแบบพืชเชิงเดี่ยว กล่าวคือคือความเห็นหรือสภาพที่บีบรัดให้มีความเห็นเพียงอย่างเดียวต่อสถาบันฯ ซึ่งก็คือ สรรเสริญเทิดทูนและประจบให้มากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนจะมากเกินพอเพียงหรือไม่นั้น ไม่ต้องพูดถึงเพราะภายใต้กฏหมายนี้การพูดพาดพิงถึงสถาบันฯ อย่างเท่าทันกระทำไม่ได้เพราะเป็นอาชญากรรมขัดต่อกฏหมายทั้งๆ ที่ประชาชนจำนวนหนึ่งมีคำถามค้างคา อยากเห็นการแลกเปลี่ยนความเห็นพวกนี้อย่างเปิดเผย แต่ก็ดูเหมือนว่าสื่อกระแสหลักและผู้มีอำนาจในสังคมกลับมองว่าการมีกฏหมายนี้เป็นสิ่งที่ดีมี “เหตุผล” ยิ่งสำหรับสังคมไทย (ยกตัวอย่าง คงไม่มีสื่อกระแสหลักที่ไหนเขียนตั้งคำถามว่าการเทิดทูนหรือแม้กระทั่งประจบเจ้ามีอยู่มากเกินไปหรือเพียงพอหรือไำม่ในสังคมไทย ถึงแม้หลายๆ ที่ได้ติดป้ายเ้ทิดทูนสรรเสริญในหลวงอย่างถาวรไปแล้ว มิได้มีเฉพาะช่วงเดือนธันวาคมหรือสิงหาคม ล่าสุด เมื่อวันที่ 16 ก.พ. ผู้เขียนมีโอกาสผ่านโรงพยาบาลลาดพร้าวก็ปรากฎเห็นป้ายผ้าแขวนอยู่ข้างตึก มีความยาวประมาณ 3-4 ชั้นของตัวตึกเป็นอย่างน้่อย ป้ายนี้มีไว้่เพื่อฉลอง 80 พรรษาภูมิพลมหาราช ซึ่งเป็นงานฉลองของเมื่อเกือบ 2 ปีที่แล้ว ส่วนด้านหน้าก็เป็นรูปในหลวงและเขียนว่า ฉลองครองราชย์ 60 ปีซึ่งก็ผ่านมาแล้วเกือบ 3 ปี) หรือหากใครคิดจะทำการศึกษาเปรียบเทียบกับการเทิดทูนผู้นำเกาหลีเหนือก็คงเป็นสิ่งผิดกฏหมายจนต้องติดตารางหัวโตเป็นแน่แท้



พลเอกอภิชาต เพ็ญกิตติได้ให้สัมภาษณ์ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการรายวันเมื่อศุกร์ที่แล้ว ว่าควรเพิ่มโทษกฏหมายหมิ่นฯ ให้หนักขึ้น หลังจากเกิดกรณีใจหนี ในขณะเดียวกัน นายวริษฐ์ ลิ้มทองกุล ก็ได้เขียนในคอลัมน์เดินย้อนตะวัน (Giles on the run …, 12 ก.พ.52) โดยพูดเหมารวมว่า “พวกเราเต็มใจและยินดีที่จะอยู่กับ “พ่อ” ของเราอย่างนี้” (ส่วนจดหมายถึงบรรณาธิการ ก็มีแต่ข้อความเห็นด้วยกับบทความและต่อต้านใจ ซึ่งไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของสังคมไทย) ซึ่งหากสถานการณ์เป็นจริงอย่างที่นายวริืษฐ์ว่า หรืออย่างที่วาทกรรมหลักที่กล่าวไว้ว่าทุกคนในประเทศไทยเทิดทูนและรักในหลวงเป็นจริงแล้ว ทำไมกระทรวงไอซีทีถึงได้ต้องออกมายอมรับว่า กำลังเล็งบล็อคเว็บไซต์ถึง 10,000 เว็บ และได้บล็อคไปแล้ว 2,300 เว็บ นอกจากนี้ทางกลุ่ม ส.ส.นำโดย ส.ส.ประชาธิปัตย์ นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาคได้ตั้งเว็บไซต์เกสตาโปขึ้น เพื่อให้ประชาชนสอดแนมกันและกันว่ามีใครละเมิดกฏหมายหมิ่นฯ หรือไำม่ สิ่งเหล่านี้ย่อมชี้ให้เห็นชัดแจ้งเกินกว่าการปฏิเสธใดๆ ว่า จริงๆ แล้วคนในสังคมไทยมิได้มีมุมมองเดียวเหมือนกันไปหมดต่อสถาบันกษัตริย์ หากมีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องการเห็นสถาบันฯ ที่โปร่งใสตรวจสอบได้และมีสัมพันธ์กับประชาชนอย่างเท่าเทียมกว่าที่เป็นอยู่ ฯลฯ



อีก 50-60 ปีในอนาคตรัฐบาลและสังคมไทยในปัจจุบันจะถูกพิพากษามิเพียงจากสังคมโลกที่เป็นประชาํธิปไตย แต่จะถูกพิพากษาทั้งจากคนรุ่นหลังด้วย ทางเลือกนั้นค่อนข้างชัดเจน – ปราบปรามให้มากขึ้น กดทับและเซ็นเซอร์ความคิดต่างต่อไป และเสี่ยงต่อการตอบโต้ และกลายเป็นที่ขบขันในสายตาของประชาคมประชาธิปไตยโลก อาจารย์ใจ ณ วันนี้อยู่ที่เมืองออกซ์ฟอร์ด และได้แต่งตั้งตนเองเป็นฝ่ายค้านนอกรัฐนอกสภาผู้มิสามารถกลับมาเหยียบย่ำแผ่นดินไทย แต่เขาก็ได้กระชากหน้ากากสังคมไทยให้ชาวโลกได้เห็นแล้วว่า ในเมืองไทยนั้นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สุดอันได้แก่ สิทธิในการแสดงความเห็น ไม่มีอยู่จริง และผู้ที่ใช้สิทธิจะถูกตราหน้าว่าเป็นอาชญากรของแผ่นดิน






http://www.prachatai.com/05web/th/home/15607

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 18/2/2552

21 -22 กุมภาพันธ์ 2552

http://www.ngosthailand.com/activity_detail.php?activity_id=44
วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 9.00 ถึง 11.00 น.

http://www.ngosthailand.com/activity_detail.php?activity_id=43
วันอาทิตย์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒

วันที่ 20-22 กุมภาพันธ์ 2552 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ “Advancing a Peoples’ ASEAN”

http://www.ngosthailand.com/activity_detail.php?activity_id=38
มหกรรมประชาชนอาเซียน “Advancing a Peoples’ ASEAN” 20-22 กุมภาพันธ์
มหกรรมประชาชนอาเซียน
“Advancing a Peoples’ ASEAN”
ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
วันที่ 20-22 กุมภาพันธ์ 2552
__________________________________________________________________________

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552
08.00 น. – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 น. – 10.30 น. พิธีเปิด
กล่าวต้อนรับโดยผู้เข้าร่วมงานมหกรรมประชาชนอาเซียน
โดยผู้แทนชาวบ้าน
กล่าวต้อนรับโดยองค์กรที่จัดงาน
10.30 น. – 13.00 น. เวทีอภิปรายกลุ่มใหญ่ 1
ประเด็นท้าทายสำคัญที่เผชิญโดยประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้วันนี้
- วิกฤตอาหารและวิกฤตเศรษฐกิจ
- วิกฤตพลังงานและวิกฤตสิ่งแวดล้อม
- สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ
- แรงงานและแรงงานอพยพ
13.00 น. – 14.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
14.00 น. – 14.30 น. เวทีอภิปรายกลุ่มใหญ่ 2
สถานการณ์ในประเทศไทย
14.30 น. – 16.00 น. เวทีอภิปรายกลุ่มใหญ่ 3
ปฏิบัติการร่วมสำหรับประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- เศรษฐกิจและการค้าทางเลือก
- ภาวะโลกร้อน เพื่อโลกที่เป็นธรรม
- สิทธิมนุษยชน
- ประชาธิปไตย
- ศาสนา
- แรงงานและแรงงานอพยพ
16.00 น. – 20.00 น. งานวัฒนธรรมและงานเลี้ยงต้อนรับ

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2552
09.00 น. – 11.00 น. เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อย 1
11.00 น. – 13.00 น. เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อย 2
13.00 น – 14.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
14.00 น. – 16.00 น. เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อย 3
16.00 น. – 18.00 น. เวทีอภิปรายกลุ่มใหญ่ 4
แลกเปลี่ยนผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อย
18.00 น. – 19.30 น. งานวัฒนธรรม และ กิจกรรมถาม-ตอบสุดมันส์กับอาเซี่ยน

18.00 น. * คณะทำงาน The ASEAN Civil Society Conference (ACSC) เตรียมทำข้อเสนอแนะจาก ผลการประชุมกลุ่มย่อย



วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2552
09.00 น. – 12.00 น. เวทีอภิปรายกลุ่มใหญ่ 5
การประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน IV (The ASEAN Civil Society Conference (ACSC)
12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
การประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน IV
13.30 น. – 15.00 น. เวทีอภิปรายกลุ่มใหญ่ 5 (ต่อ)
16.00 น. – 18.00 น. ยุทธศาสตร์แผนงานร่วมมือในอนาคต
วางแผนสำหรับมหกรรมประชาชนอาเซี่ยนใน ปี 2552
รายงานข้อเสนอแนะของ ACSC และแผนปฎิบัติการ
18.00 น. คณะทำงานประชุม




***************************

ก.ม.แก้ความรุนแรงในครอบครัวมากกว่าให้ความสงสาร-โกรธแค้น

ก.ม.แก้ความรุนแรงในครอบครัวมากกว่าให้ความสงสาร-โกรธแค้น

ด้วยความต้องการให้การดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ศาลอาญาธนบุรี ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัดประชุมสัมมนา เรื่อง “วิธีพิจารณาคดีความรุนแรงในครอบครัวตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 เฉพาะส่วนที่อยู่ในอำนาจศาลธนบุรี” ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ โดยศ.เสน่ห์ จามริก ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายในคดีความรุนแรงในครอบครัวว่า คือความหมายของสิทธิมนุษยชน สังคม ครอบครัวต่างๆ น่าจะทำความชัดเจน เพราะทั่วไปมักตีความหมายสิทธิมนุษยชนในเชิงใครดีใครได้ ความจริงแล้วสิทธิมนุษยชนเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวชีวิตในสังคม หัวใจสำคัญสิทธิมนุษยชนให้ความเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของแต่ละบุคคล

ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนกล่าวถึงประเด็นที่สอง คือการออกกฎหมายหรือการวางกระบวนการพิจารณาต่างๆ ต้องมองในความมีชีวิตของสังคมโดยรวมด้วย จึงให้ความสำคัญกับมาตรการป้องปรามเป็นอันดับแรก ป้องปรามเชิงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ในกระบวนการยุติธรรม น่าจะมีบทบาทที่เกี่ยวข้องในมาตรการนี้ด้วย เช่นการออกกฎหมายในการวางมาตรการต่างๆ อยากเห็นกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวข้อง ไม่ควรปล่อยให้เป็นเรื่ององค์กรใดองค์กรหนึ่ง โดยเฉพาะคดีความในครอบครัวจะช่วยอย่างมาก และประเด็นที่สาม ความพยายามทั้งหมดจะมีหลักเกณฑ์การประเมินความสำเร็จหรือความล้มเหลวอย่างไร ไม่ใช่เป็นการประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลวเฉพาะในส่วนของคดี แต่เป็นในแง่ของความมั่นคงและสันติสุขของสังคมโดยรวม

ศ.พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ปัญหาความสำคัญความรุนแรงในครอบครัว ชุนชน สังคม และวิถีชีวิตของคนในสังคมนิยมความรุนแรงในการแก้ปัญหา โดยมองไม่เห็นพิษภัยอันร้ายแรง สังคมตะวันตกตระหนักถึงปัญหาภัยร้ายของความรุนแรงมานาน และเริ่มต้นแก้ปัญหาที่บ้าน โรงเรียน ศาสนา ซึ่งบ้านเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่สุด ความรุนแรงในจิตใต้สำนึก ในระบบคิด และพฤติกรรมของคนเริ่มต้นที่บ้านและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจากผู้กระทำจะพร้อมเรียนรู้พฤติกรรมและกระทำต่อคนรอบข้างที่อ่อนแอกว่าต่อไป เจตนารมณ์ประการแรกของกฎหมายการคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว มุ่งแก้ปัญหาที่จุดเริ่มต้นของปัญหาความรุนแรงในสังคม ก่อนขยายกลายเป็นปัญหาทางด้านสังคม ชีวิต เศรษฐกิจ การเมือง

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงประการที่สองว่ามุ่งเปลี่ยนหลักคิดความเชื่อและวิธีปฏิบัติเดิมของสังคมไทย ว่าปัญหาของครอบครัว เป็นเรื่องภายในครอบครัว คนนอกและรัฐไม่เกี่ยว จุดเล็กๆขยายตัว วันหนึ่งกลายเป็นระเบิดให้คนในระบบงานยุติธรรม กฎหมายต้องเข้าไปจัดการ และจัดการอย่างผิดพลาด เพราะคุ้นเคยกับการกับอาชญากร แต่เรื่องนี้เป็นปัญหาของวิถีชีวิตมนุษย์ที่รอการพิจารณาแก้ไข ประการที่สาม ต้องการเปลี่ยนการใช้ระบบงานยุติธรรมทางอาญา กฎหมายอาญา เป็นระบบงานประสานระหว่างระบบงานยุติธรรมทางอาญา งานสังคมสงเคราะห์ งานเวชกรรม งานสาขาอื่นๆ เนื่องจากพบชัดเจนว่า ระบบงานยุติธรรมอาญาของแทบทุกสังคมไม่ได้ออกแบบหรือถูกสร้างขึ้นมาแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว แต่เพื่อป้องกันปรามปราบอาชญากรรม ส่วนประการที่สี่ ต้องการช่วยผู้ถูกกระทำไม่ใช่ผิดแค่เอาตัวผู้กระทำไปดำเนินคดีอาญาเท่านั้น
“เจตนารมณ์สุดท้ายของกฎหมายนี้ ถูกทำให้ชัดขึ้น เพราะคำวิจารณ์และข้อขัดค้านการนำเสนอร่างกฎหมายนี้ในยุคแรกๆว่า กฎหมายนี้จะมาทำลายครอบครัว ซึ่งจากการประชุมได้ข้อยุติว่า เจตนารมณ์ต้องชัดเจนว่า ระบบงาน คนเข้าทำงาน อย่าทำในการสงสารเหยื่ออย่างเดียว และโกรธแค้นรังเกียจผู้กระทำรุนแรง ต้องเปลี่ยนหลักคิดใหม่เหยื่อรอการช่วยเหลือแบบหนึ่ง ผู้กระทำความรุนแรงก็รอการช่วยเหลืออีกแบบหนึ่ง และเป็นครอบครัวที่น่าสงสารกำลังล่มสลาย ต้องมีส่วนช่วยอย่างมาก” ศ.พิเศษจรัญกล่าว
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=191171&NewsType=1&Template=1

สังคายนาตลาดจตุจักร ล้างภาพแหล่งผลประโยชน์แดนสนธยา

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 08:59 น. |
"คุณชาย"เล็งสังคายนาตลาดจตุจักร
ล้างภาพแหล่งผลประโยชน์แดนสนธยา

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 17 ก.พ. ที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายสงวน ดำรงไทย ประธานตัวแทนโครงการตลาดนัดจตุจักร และนายชาตรี ภวะคงบุญ ตัวแทนผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรได้นำกลุ่มผู้ค้าตลาดนัดจตุจักร จำนวนกว่า 150 คน มาชุมนุมเรียกร้องให้ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. รีบดำเนินการเจรจากับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อต่อสัญญาเช่าที่ ก่อนจะหมดสัญญาใน พ.ศ. 2555 นี้ โดยผู้ค้าได้ยื่นเรียกร้อง ผู้ว่าฯกทม.เร่งสรุปการเจรจากับทาง รฟท. เนื่องจากเกรงว่าการรถไฟฯ จะให้สัมปทานกับบริษัทเอกชนเพื่อบริหาร ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ค้าแบกรับภาระค่าเช่าแผงที่สูงขึ้น เปิดโอกาสผู้ค้ามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และเข้าไปเป็นบอร์ดบริหารตลาดนัด เร่งจัดระเบียบถนนคนเดินภายใน และเร่งปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในตลาดนัดจตุจักร ซึ่งขอให้เร่งดำเนินการภายใน 1 เดือน

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. กล่าวถึงปัญหาในตลาดนัดจตุจักรว่า อะไรที่ไม่ถูกต้องตนจะเข้าไปสะสางปัญหาให้ ซึ่งในส่วนของตลาดนัดจตุจักร มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมานานว่าเป็นแดนสนธยาเพราะไม่ได้เข้าระบบงบประมาณของกทม.การตรวจสอบทำได้ยาก อีกทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทยและกระทรวงคมนาคมต้นสังกัด ก็ใช้เป็นข้ออ้างว่ากทม.มีปัญหาในการบริหารจึงเคยตั้งแง่ในการต่อสัญญาเช่าที่ดินให้จากที่จะหมดสัญญาเช่าในปี 2555 นี้ ซึ่งตนจะตั้งคณะกรรมการเข้าไปดูว่า ระบบที่มีอยู่มีปัญหาหรือช่องโหว่เช่นไร หากระบบไม่ดีก็จะเปลี่ยนระบบใหม่ เช่น การให้เป็นหน่วยงานการพาณิชย์ เพื่อให้ตรวจสอบง่ายขึ้น ซึ่งหากแก้ปัญหาภายในได้ก็จะเป็นข้อต่อรอง ในการขยายเวลาเช่าที่ดินได้ ตนมั่นใจว่าการที่รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมอยู่ในพรรคเดียวกับรัฐบาลประชาธิปัตย์ คาดว่าการเจรจาต่อสัญญาเช่าที่ดินจะเป็นไปได้ดี อย่างไรก็ตาม คาดว่าภายใน 1 เดือน การแต่งตั้งบอร์ด ผอ.และรองผอ.กองอำนวยการจะชัดเจน ทั้งนี้ยอมรับว่าปัญหาในตลาดนัดจตุจักร เป็นปัญหาที่สะสมมานาน ระยะเวลาเพียง 1 เดือนคงสะสางไม่หมด ซึ่งไม่ว่าใครจะได้มาเป็นผอ.กองอำนวยการตลาดนัดฯ ตนจะให้ลงนามในหนังสือลาออกล่วงหน้า 1 ปี หากทำงานครบ 1 ปี การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ตนก็จะใช้ใบลาออกดังกล่าวทันที.
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=191248&NewsType=1&Template=1

สอบ Wi-fi เอื้อเอกชน กทม.ไม่ยอมตั้งกรรมการสอบ หมด"อภิรักษ์"โครงการเดี้ยง

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 09:00 น. |

สอบ Wi-fi เอื้อเอกชน
กทม.ไม่ยอมตั้งกรรมการสอบ หมด"อภิรักษ์"โครงการเดี้ยง

รายงานข่าวแจ้งว่า แม้กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะมีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯกทม. พ้นข้อกล่าวหาจากการถูกร้องเรียนทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง กรณีการแจกพาสเวิร์ด wi-fi อินเทอร์เน็ตไร้ สายฟรี เพราะนายอภิรักษ์ ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าฯกทม. แล้วนั้น อย่างไรก็ตามในส่วนของ กทม. ซึ่งนายไชยวัฒน์ ฉลองพันธรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจ ได้ทำเรื่องถึงนายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัดกทม.เสนอให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณี wi-fi เนื่องจากป้ายประกาศโครงการ wi-fi ตามที่สาธารณะ เช่น ป้ายรถเมล์ เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อเอกชน ซึ่งโดยปกติจะไม่มีสิทธิโฆษณาสินค้าของตนเองในที่สาธารณะ เว้นแต่จะได้สัมปทานและจ่ายเงินเป็นรายได้ให้กทม. และเมื่อครบกำหนดอุปกรณ์หรือสิ่งก่อสร้างในที่สาธารณะนั้นต้องตกเป็นสมบัติของกทม. ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่ากทม.เสียประโยชน์แก่เอกชน และการที่กทม.ต้องทำป้าย wi-fi ติดในที่สาธารณะให้เป็นเวลา 3 ปี ต้อง เสียงบประมาณจัดทำกว่า 9 ล้านบาท เป็นเงินภาษีของประชาชนเสียหายต่อกทม.นั้น จนถึงขณะนี้ทางผู้บริหารยังไม่ได้แต่งตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงแต่อย่างใด

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า การที่กทม.ลงนามในข้อตกลงร่วม (เอ็มโอยู) ไว้กับบริษัททรู ทำให้กทม.เสียเปรียบอย่างยิ่ง เพราะขณะนี้บริษัทสามารถติดป้ายโฆษณาโครงการในที่สาธารณะได้จนครบ 3 ปี ขณะที่กทม.ไม่เคยประเมินว่ามีประชาชนใช้ประโยชน์จาก wi-fi มากน้อยเพียงใด ขณะที่กทม.ต้องเสียงบในการจัดทำป้ายติดตั้ง และเสียงบค่าโฆษณาให้ ขณะที่การใช้ประโยชน์กับประชาชนไม่คุ้มค่า และเมื่อนายอภิรักษ์ หมดตำแหน่งปัจจุบันไม่มีการใช้งานแล้ว เพราะข้อจำกัดต่าง ๆ เช่นเข้าระบบไม่ได้ เนื่องจาก
สปีดน้อย ขณะที่บริษัทผู้ติดตั้งได้ประโยชน์ไปเต็ม ๆ.
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=191249&NewsType=1&Template=1

'เงิน-ไฮโซ-พระ' ระวัง! 'มาฆะจันทร์มัว' หลักโหรชี้ 'มีปัญหา?'

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 00:00 น. |

'เงิน-ไฮโซ-พระ' ระวัง! 'มาฆะจันทร์มัว' หลักโหรชี้ 'มีปัญหา?'




ปรากฏการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในปี 2552 นี้ต้องถือว่า “บังเอิญอย่างน่าประหลาด” ซ้ำ ๆ ถึง 2 ครั้ง 2 ครา หรือจริง ๆ ต้อง บอกว่า “2 คราส” ซ้อน ๆ แล้ว !! เริ่มจากสุริยคราสหรือสุริยุปราคาที่เกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเกิด“สุริยคราสวันตรุษจีน” จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอึงมี่

แล้วล่าสุดก็จะเกิด “จันทรคราส” ในคืนวันที่ 9 ก.พ.นี้

และบังเอิญว่าเป็น “จันทรคราสวันมาฆบูชา” พอดี !!!

ทั้งนี้ กับการเกิดจันทรคราสหรือจันทรุปราคา โดยเฉพาะที่จะเกิดในคืนวันที่ 9 ก.พ.นี้ สำหรับในทาง “ดาราศาสตร์” จากข้อมูลของสมาคมดาราศาสตร์ไทยที่เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ thaiastro.nectec.or.th ระบุว่า... เป็น “จันทรุปราคาเงามัว” ซึ่งจะเกิดขึ้นให้คนไทยเห็นในเวลา 21.49 น.

จันทรุปราคาเงามัว หรือในภาษาอังกฤษ “พินัมบรัล อิคลิพซ์ (Penumbral eclipse)” นั้น จะ “เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามัวของโลก” โดยจันทรุปราคาแบบเงามัวนี้จะสังเกตเห็นได้ยากมาก เนื่องจากดวงจันทร์จะลดความสว่างลงเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะมองดูคล้ายกับว่ามีเมฆบาง ๆ มาบังดวงจันทร์

ปรากฏการณ์จันทรุปราคา จะเกิดขึ้นเฉพาะในคืนวันเพ็ญ 15 ค่ำ หรือคืนพระจันทร์เต็มดวง แต่ก็ใช่ว่าจะเกิดขึ้นทุกเดือนในคืนจันทร์เต็มดวง เนื่องจากระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ และระนาบที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก มิใช่ระนาบเดียวกัน หากตัดกันเป็นมุม 5 องศา ในการเกิดจันทรุปราคาดวงจันทร์จะต้องอยู่บริเวณจุดตัดของระนาบวงโคจร ทั้งสอง และต้องอยู่ใกล้จุดตัดนั้นมาก จึงจะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงหรือบางส่วนได้

แต่ 9 ก.พ. 2552 นี้...ที่เป็นวัน “ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3”

เป็นวัน “มาฆบูชา” จันทร์เต็มดวง...ก็เกิด “จันทรคราส”

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลของสมาคมดาราศาสตร์ไทยระบุอีกว่า... ในเดือน ก.พ.นี้ จะเกิด “ปรากฏการณ์ของดวงจันทร์” หลายครั้ง อาทิ... วันพฤหัสบดีที่ 12 ก.พ. เวลาเช้ามืด ตามมุมมองจากบนโลกจะเห็นดวงจันทร์โคจรเข้าใกล้ตำแหน่งดาวเสาร์, วันพุธที่ 18 ก.พ. เวลาเช้ามืด ดวงจันทร์จะโคจรเข้าใกล้ดาวแอนทาเรส (Antares) หรือดาวปาริชาต เป็นดาวฤกษ์ดวงที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวแมงป่อง มีสีแดงและความสว่างใกล้เคียงดาวอังคาร มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ราว 700 เท่า อยู่ห่างจากโลกราว 604 ปีแสง

วันศุกร์ที่ 20 ก.พ. ดวงจันทร์จะโคจรอยู่ห่างจากโลกที่สุด (ระยะห่าง 405,129 กม.), วันจันทร์ที่ 23 ก.พ. ดวงจันทร์จะโคจรเข้าบังดาวพฤหัสบดี ซึ่งจะมองเห็นได้ทั่วประเทศขณะท้องฟ้าเริ่มสว่าง (ใกล้ขอบฟ้าตะวันออก) และเวลาเช้ามืดดวงจันทร์จะอยู่ใกล้ดาวพุธ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี, วันพุธ 25 ก.พ. 2552 จะเกิดปรากฏการณ์ “จันทร์ดับ” (จันทร์ดับ หรือในภาษาอังกฤษ “นิวมูน (New Moon)” เป็นวันที่ดวงจันทร์โคจรอยู่ในตำแหน่งลองจิจูดเดียวกับดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ไม่เห็นดวงจันทร์ ซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นปกติทุกเดือน) และวันเสาร์ที่ 28 ก.พ. เวลาหัวค่ำ ดวงจันทร์จะโคจรเข้าใกล้ดาวศุกร์

สรุปคือเดือน ก.พ.ปีนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์หลายครั้ง

จากดาราศาสตร์ มาดูด้าน “โหราศาสตร์” บ้าง อ.เก่งกาจ จงใจพระ ประธานสถาบันโหราศาสตร์เก่งกาจพยากรณ์ บอกว่า... ปรากฏการณ์จันทรุปราคาหรือ “จันทรคราส” นั้น ในทางโหราศาสตร์แล้วการที่ดาวจันทร์ถูกคราสมีความหมายในทาง “ไม่ดี” การคราสหมายความว่ามีเงาดำมาบดบัง ทำให้ “เกิดเรื่อง” ซึ่งในช่วงประมาณ 3 วัน 7 วัน และ 15 วัน ก่อนและหลังจะเกิดจันทรคราส ห้ามประกอบหรือทำพิธีมงคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะทำบุญขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ฯลฯ เพราะจะทำให้มีแต่เรื่องไม่ดี ทำอะไรไม่สำเร็จ ล้มเหลว ผิดหวัง

สำหรับดาวจันทร์ที่ถูกคราสในคืนวันที่ 9 ก.พ.นี้ อยู่ในราศีกรกฏ ในทางโหรชี้ว่าจะทำให้ “มีปัญหาเกี่ยวกับการเงิน” และคราสครั้งนี้ “มีผลกระทบกับผู้หญิงในสังคมชั้นสูง” จะเกิดปัญหาเรื่องการเงิน เกิดปัญหาอื้อฉาวเรื่องชู้สาว เกิดเรื่องเสียหายมัวหมอง อีกทั้งยังต้องระวังเรื่อง “พระผู้ใหญ่จะมีข่าวไม่ดี มีเรื่องอื้อฉาวเสียหายเกี่ยวกับผู้หญิง” รวมถึง “อาจจะมีการสูญเสียพระผู้ใหญ่” ด้วย

“และเรื่องทางการเมืองนั้นก็น่าเป็นห่วง เนื่องจากดาวพฤหัส ดาวอาทิตย์ ดาวอังคาร ดาวพุธ ดาวราหู รวมทั้งดาวเนปจูน อยู่ในราศีมังกร ซึ่งอยู่ในจุดรวมคราส สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นกับรัฐบาลมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการถูกฟ้องร้องหลายคดี ที่สำคัญรัฐบาลอาจจะเกิดปัญหาเรื่องการเงิน ซึ่งปัญหานี้ก็จะส่งผลกระทบทำให้ประชาชนต้องเดือดร้อนด้วย” ...ผู้เชี่ยวชาญโหราศาสตร์ระบุ

พร้อมทั้งบอกอีกว่า... นอกจากนี้ ด้านภัยธรรมชาติก็จะเกิดผลกระทบด้วย โดยผลจากการที่ดาวจันทร์ถูกคราสนั้นจะส่งผลให้ “มีปัญหาในเรื่องของการขาดแคลนน้ำ” ปีนี้น้ำจะแล้งหนัก

“ดาวจันทร์ถูกคราสจะเกิดเรื่องไม่ดี ดังนั้น ในระยะนี้ไม่ว่าจะทำอะไรก็ยิ่งต้องรอบคอบ ต้องมีสติ มีความยืดหยุ่น แล้วปัญหาทุกอย่างก็จะผ่านพ้นไปได้” ...อ.เก่งกาจกล่าว

“จันทรคราส” ในด้านหนึ่งเป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์

แต่ในด้านโหราศาสตร์ก็เป็นอีกปรากฏการณ์ที่มีคำทำนาย

“เกิดคืนมาฆบูชา” แปลก-ไม่แปลก...ก็ “อย่าประมาท”.


http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=69646&NewsType=2&Template=1

เรื่องจริง...จากงานวิจัย 'ค้ากามผ่านเน็ต' ชายขาย-หญิงซื้อ..ก็มี

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 00:00 น. |

เรื่องจริง...จากงานวิจัย 'ค้ากามผ่านเน็ต' ชายขาย-หญิงซื้อ..ก็มี




ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงเทศกาล “วาเลนไทน์” นอกจากปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรแล้ว ก็ไม่รู้ว่ามี “คนขาย” กับ “คนซื้อ” ตกลงการค้าทางเพศกันได้กี่คู่ ที่รู้แน่ ๆ คือกรณีประกาศ “ขายบริการทางเพศผ่านเว็บไซต์-อินเทอร์เน็ต” นั้น ในเมืองไทยเราน่ะมีการทำกันจริง ๆ มิใช่แค่ลือ...

หลายวันก่อนมีข่าวว่าหน่วยงานรัฐจะเข้มงวดเรื่องนี้

แต่เอาเข้าจริงก็ยังไม่รู้ว่าจะสกัดกั้นได้สักแค่ไหน ?!?

“เพราะมีความคิดกันว่า... การซื้อและขายบริการทางเพศกลายเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมปัจจุบัน ไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจแต่อย่างใด เป็นสิ่งที่ผิดครึ่งหนึ่งถูกครึ่งหนึ่ง

และเป็นสิทธิส่วนบุคคล ถึงจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง แต่ก็เป็นเรื่องของผู้ซื้อและผู้ขายบริการ ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น”

...นี่เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ปรากฏออกมาภายหลังมีการทำวิจัย “การขายบริการทางเพศผ่านห้องสนทนาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต” โดย ศศิดารา สิงหเนตร ภายใต้การสนับสนุนการทำวิจัยโดย มูลนิธิดำรงชัยธรรม ซึ่งข้อมูลจากการทำวิจัยชิ้นนี้ก็ตอบโจทย์ปัญหาการขายตัวของคนไทยรุ่นใหม่

ทั้งนี้ กับการขายบริการทางเพศผ่านห้องสนทนาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น งานวิจัยชิ้นนี้พบว่า... สาเหตุแห่งการขายของหญิงยุคนี้นั้นมีหลากหลาย เช่น เพราะต้องการเงินไปใช้จ่ายทั้งในเรื่องจำเป็นและไม่จำเป็น ต้องการหาเงินได้มาก-ได้เร็ว ไม่ต้องทำงานหนัก, เพราะผิดหวังในความรัก ต้องการประชดแฟน, เพราะความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ใช้สิ่งของราคาแพง เลียนแบบต่างชาติ ตามแฟชั่น ชิงดีชิงเด่นกันในกลุ่มเพื่อน ฯลฯ

ค่านิยมของวัยรุ่นที่เปลี่ยนแปลงไปในเรื่องเซ็กซ์ ที่กลายเป็นเรื่องธรรมดา, การมีกิ๊ก, การแลกคู่นอน หรือสวิงกิ้ง รวมถึงเป็นความต้องการส่วนบุคคลในเรื่องเพศ นี่ก็เป็นสาเหตุเช่นกัน !!

สำหรับสาเหตุที่หญิงไทยยุคใหม่เลือกใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการขายบริการทางเพศ หลัก ๆ ก็เพราะ... ต้องการเงินไปจับจ่ายใช้สอยง่าย ๆ โดยไม่ต้องไปขายตามสถานบริการต่าง ๆ ไม่ต้องไปหาลูกค้าเอง เป็นวิธีที่ลูกค้าติดต่อโดยตรงไม่ต้องผ่านเอเย่นต์-ไม่ต้องถูกหักหัวคิว ได้ราคาดีกว่าการขายบริการผ่านช่องทางอื่น ง่าย สะดวก ทำได้ทุกที่ทุกเวลา เลือกได้ว่าต้องการจะขายบริการหรือไม่ จะขาย-ไม่ขายให้ใคร

และส่วนใหญ่ก็จะคิดว่าวิธีนี้เป็นความลับ...ไม่มีใครรู้

ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วในที่สุดก็จะไม่ลับ...มีคนรู้เพียบ !!

ในส่วนของผู้ชายที่ซื้อบริการทางเพศ จากการวิจัยพบว่าสาเหตุที่ทำให้เลือกซื้อบริการผ่านอินเทอร์เน็ตก็เพราะ... ง่าย สะดวกรวดเร็ว สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา, ค่าใช้จ่ายถูกกว่าการไปซื้อตามสถานบริการที่อาจต้องมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก เช่น ค่าดริ๊งค์ อีกทั้งการเข้าไปซื้อในสถาน บริการอาจจะทำให้ภาพลักษณ์ไม่ดี

นอกจากนี้ ผู้ชายนักซื้อยังมีความคิดว่า...ผู้หญิงที่ขายบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต-ผ่านห้องสนทนาส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา...ซึ่งอาจไม่ใช่ !! คิดว่าไม่ใช่ผู้หญิงที่ขายบริการเป็นประจำ ปลอดภัยกว่าหญิงตามสถาน บริการที่ขายเป็นประจำ...ซึ่งก็อาจไม่ใช่ และจะใช่-ไม่ใช่ก็เสี่ยงทั้งนั้น !!

ข้อมูลจากงานวิจัยยังระบุไว้อีกว่า... ผู้ชายจะมองว่านี่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการซื้อบริการทางเพศ ผู้ซื้อก็มีทั้งคนที่มีความต้องการทางเพศสูง แฟนหรือภรรยาให้เรื่องทางเพศไม่ได้ตามต้องการ, เบื่อภรรยา หรือทะเลาะกับภรรยา หรือเลิกกับภรรยาแล้ว หรือเพราะยังไม่มีภรรยา, ทำตามเพื่อน, อยากลอง อยากรู้

อย่างไรก็ตาม เรื่องการ “ค้ากามผ่านเน็ต” นี้ก็ใช่ว่าจะมีแต่กรณีหญิงขาย-ชายซื้อเท่านั้น แบบ “ชายขาย-หญิงซื้อก็มี” โดยข้อมูลอีกส่วนหนึ่งจากงานวิจัย “การขายบริการทางเพศผ่านห้องสนทนาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต” ที่สนับสนุนโดยมูลนิธิดำรงชัยธรรม ระบุว่า... มีผู้หญิงที่ซื้อบริการทางเพศจากผู้ขายบริการที่เป็นผู้ชาย โดยสาเหตุที่ผู้หญิงเลือกซื้อบริการผ่านทางช่องทางนี้ก็เนื่องจากคิดว่าสามารถเก็บเป็นความลับได้ ไม่เป็นที่เปิดเผย ไม่ต้องไปตามสถานบริการ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ง่าย และสะดวกรวดเร็วอีกต่างหาก

ถามว่าหญิงกลุ่มไหนที่เป็นนักซื้อ คำตอบคือ... มีหลายกลุ่ม เช่น ผู้หญิงที่มีความต้องการทางเพศสูง แต่สามีให้ได้ไม่เพียงพอ หรือสามีหมดสมรรถภาพทางเพศ, แม่ม่าย, ผู้หญิงที่ทะเลาะกับแฟน ต้องการประชด, ผู้หญิงที่ยังไม่มีสามี ทั้งนี้ นี่ยังไม่รวมกลุ่มรักร่วมเพศ “ชายขาย-ชายซื้อ” ที่ก็มีไม่น้อย

“เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปในทางที่อันตรายขึ้น มีแนวโน้มที่จะรุนแรงและขยายมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสื่ออินเทอร์เน็ตได้ขยายวงกว้างออกไป ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนระดับบน ระดับกลาง หรือระดับล่างที่สามารถเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์จากบุคคลอื่น ๆ เมื่อใช้อินเทอร์เน็ตเป็นก็สามารถที่จะเข้าใช้งานช่องทางนี้และใช้เป็นสื่อในการซื้อขายบริการทางเพศได้ด้วย” ...นี่เป็นส่วนของแนวโน้มในอนาคต ซึ่งงานวิจัยของ ศศิดารา สิงหเนตร ระบุไว้ในช่วงท้าย ๆ ซึ่งก็มิได้เกินเลยความจริง

“อินเทอร์เน็ต” กลายเป็น “ช่องทางค้ากาม” มานานแล้ว

และยิ่งนับวันก็ยิ่งเป็น “ตลาดใหญ่-มีสินค้าหลายกลุ่ม”...

คนไทยซื้อขายกันมากขึ้น...แม้แต่ผู้หญิงก็เป็นนักซื้อ !!!.
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=69946&NewsType=2&Template=1

ชาวบ้านสุขสวัสกิ์ฮือต้านกทม.สร้างถนนโดนเวนคืนที่ดิน

ชาวบ้านสุขสวัสกิ์ฮือต้านกทม.สร้างถนนโดนเวนคืนที่ดิน
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 - เวลา 15:02:04 น.




ผู้สื่อข่าว"ประชาชาติธุรกิจ"รายงานจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 10.00 น.มีชาวบ้านจากเขตจอมทองที่ได้รับผลกระทบประมาณ 100 คนมาชุมนุมที่หน้าศาลาว่าการกทม. เพื่อยื่นหนังสือให้ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ขอให้ยกเลิกและทบทวนโครงการก่อสร้างถนนตามแนวผังเมือง ง.3 เชื่อมถนนสุขสวัสดิ์-พระรามที่2-ถนนสามแยกตากสิน-ถนนเพชรเกษม-ถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้ ตามที่สำนักการโยธาของกทม.ได้ลงนามสัญญาว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมของแนวเส้นทางโครงการอยู่ในขณะนี้

เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดิน ภายหลังจากที่กทม.ได้ปรับแนวเส้นทางใหม่จากแนวเดิมของกรมโยธาธิการที่ขีดไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ทำให้ชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวถูกเวนคืนจำนวนมากร่วม 5,000-6,000 ราย มีโครงการบ้านจัดสรรกว่า 100 รายที่ได้รับผลกระทบจากการตัดถนนครั้งนี้ จึงอยากขอให้ทางผู้ว่าฯกทม.ยกเลิกโครงการและให้ไปสร้างรถไฟฟ้าแทนดีกว่า และชาวบ้านไม่มีใครรับทราบข้อมูลโครงการเลยที่ผ่านมา กทม.งุบงิบจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่มย่อยๆเท่านั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางผู้ว่าฯกทม.ไม่ได้มาพบชาวบ้าน มอบหมายให้แพทย์หญิงมาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าฯมารับหนังสือร้องเรียนแทน ซึ่งทางผู้บริหารขอดูรายละเอียดก่อนถึงจะให้คำตอบกับชาวบ้านได้ หลังจากนั้นเวลาประมาณ 11.00 น.เศษชาวบ้านได้เคลื่อนขบวนโดยรถบัสขนาดใหญ่ 4 คันเดินทางไปยื่นหนังสือต่อที่สภาผู้แทนราษฎรยังสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ เพื่อพลักดันให้มีการยกเลิกโครงการนี้ต่อไป

โดยชาวบ้านระบุว่า การที่กทม.มีแนวคิดจะตัดถนนเส้นนี้ เนื่องจากมีเบื้องหลังซ่อนอยู่ คือ ต้องการเพิ่มงบประมาณศึกษาและงบก่อสร้าง ที่สำคัญขณะนี้มีกลุ่มนายทุนและนักการเมืองในพื้นที่บางกลุ่มเข้าไปกว้านซื้อที่ดินจากชาวบ้านตุนไว้แล้ว และเบี่ยงแนวใหม่ให้ตัดผ่านพื้นที่ของตัวเองเพื่อให้ได้ค่าเวนคืนที่ดินและขายได้ในราคาที่สูงขึ้น

ขณะเดียวกันทางนายสุทธิชัย วีรกุลสุนทรและนายพิรกร วีรกุลสุนทร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร(สก.)เขตจอมทองได้ทำหนังสือถึงชาวบ้านเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืน โดยในรายละเอียดของหนังสือระบุว่ามีกลุ่มบุคคลแอบอ้างว่าสามารถระงับโครงการก่อสร้างถนนสายดังกล่าวได้ โดยมีการเรียกเก็บเงินจากชาวบ้านตั้งแต่บ้านละ 1,000-5,000 บาท ซึ่งในข้อเท็จจริงบุคคลดังกล่าวมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่สามารถระงับหรือยับยั้งโครงการได้ เพียงแต่ต้องการหาประโยชน์ใส่ตัวและหลอกหลวงพี่น้องชาวจอมทองที่ได้รับผลกระทบแค่นั้น พร้อมระบุว่าในวันที่ 19 กุมภาพันธ์นี้เวลา 17.00 น.ผู้ว่าฯกทม.จะไปพบชาวจอมทองเพื่อทบทวนและยกเลิกโครงการดังกล่าวที่สำนักงานเขตจอมทอง

ในเบื้องต้นจากผลการศึกษาแนวเส้นทางโครงการแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ
ช่วงที่ 1สุขสวัสดิ์-พระรามที่ 2-เพชรเกษม ระยะทาง 15 กม.
ช่วงที่ 2 แยกจุดตัดกับถนนสาย ง.3-กาญจนาพิเศษ (ด้านใต้) ระยะทาง 4-5 กม. รวมระยะทาง 20 กม. ตัดผ่านพื้นที่ 5 เขตได้แก่ ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ จอมทอง บางขุนเทียน ภาษีเจริญ มีหมู่บ้านที่อยู่ในแนวเส้นทางประมาณ 20 หมู่บ้าน ชุมชนดั้งเดิมอีก 5 ชุมชน ผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นทาวน์เฮาส์และบ้านเดี่ยวประมาณ 900 หลัง และอยู่ในเขตถนนในเมือง คาดว่าจะใช้ค่าก่อสร้างและเวนคืนประมาณ 1-2 หมื่นล้านบาท เป็นถนนขนาด 4-6 ช่องจราจร
http://www.matichon.co.th/prachachat/news_title.php?id=8834

รวมมิตรค่าโง่แสนล้านรัฐ-เอกชนซัดกันนัวคดีค้างศาล-อนุญาโตฯอื้อ

http://www.matichon.co.th/prachachat/news_detail.php?id=2836&catid=1

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 - เวลา 08:48:25 น.



รวมมิตรค่าโง่ รัฐเสียหายยับแสนล้าน โดยเฉพาะกทพ.เผยฟ้องกันนัว 11 คดี ค้างอยู่ในอนุญาโตฯและศาลฎีกาเพียบ"จรัญ"ชี้โกงทั้งระบบ เสียเปรียบตั้งแต่กระบวนการร่างสัญญา


แหล่งข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กทพ.มีข้อพิพาทที่เป็นคดีความกับภาคเอกชนอยู่หลายคดีที่อยู่ในกระบวนการของคณะอนุญาโตตุลาการและศาล ที่ตัดสินไปแล้วมีคดีค่าโง่ทางด่วนบางนา-ชลบุรี ที่กิจการร่วมค้าบีบีซีดี ซึ่ง บมจ.ช.การช่างเป็นแกนนำรับเหมาก่อสร้างฟ้องเรียกค่าชดเชยวงเงิน 6,200 ล้านบาท จากที่ กทพ.ส่งมอบพื้นที่ล่าช้า 11 เดือน และไม่เป็นไปตามสัญญา ซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ กทพ.จ่ายเงินค่าชดเชยให้บริษัท แต่ กทพ.คัดค้าน ผู้รับเหมาจึงยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ต่อมา กทพ.ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาและศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้ยกคำฟ้อง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550 ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังมีข้อพิพาทระหว่าง กทพ.กับ บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ หรือบีอีซีแอล และ บจ.ทางด่วนกรุงเทพเหนือ หรือเอ็นอีซีแอล ที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานทางด่วน 11 คดี ทั้งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการและศาลฎีกา แบ่งเป็น 1.ข้อพิพาทเสนอเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทตามสัญญาและเรียกค่าเสียหาย มูลค่าฟ้องร้องจนถึงวันที่ยื่นข้อพิพาท 6,305.4 ล้านบาท 2.ข้อพิพาทที่ กทพ.เรียกร้องแย้งเป็นเงิน 15,575 ล้านบาท 3.ข้อพิพาทที่ กทพ.ยื่นเรียกค่าเสียหายมีมูลค่าฟ้องร้องจนถึงวันที่ยื่นข้อพิพาทมูลค่า 18.4 ล้านบาท 4.ข้อพิพาทมีมูลฟ้องที่บริษัทเรียกแย้ง 5,114 ล้านบาท

สำหรับข้อพิพาทที่บริษัทยื่นเรียกร้องค่าเสียหายมี 7 เรื่อง อาทิ 1.การปรับเพิ่มอัตราค่าผ่านทางปี 2541 ของทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 โดยบริษัทเสนอโครงข่ายในเมืองปรับเพิ่ม 10 บาทสำหรับรถยนต์ 4 ล้อ และ 20 บาทสำหรับรถยนต์ 6-10 ล้อ และเกิน 10 ล้อ มีการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย วันที่ 27 สิงหาคม 2541 ตามอัตราที่บริษัทเสนอ ต่อมามีการร้องเรียนจากผู้ใช้ทาง กทพ.จึงออกประกาศค่าผ่านทางอีกฉบับ วันที่ 23 ตุลาคม 2541 ให้ค่าผ่านทางปรับเพิ่ม 10 บาท สำหรับรถทุกประเภท แต่โครงข่ายนอกเขตเมืองไม่มีการปรับ บริษัทจึงฟ้องร้องต่อศาลเพื่อเรียกค่าชดเชยผลต่างระหว่างอัตราค่าผ่านทางจริง ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2541 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันยื่นข้อพิพาท 360,898,617 บาท ซึ่งวันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ ศาลฎีกาจะมีการอ่านคำพิพากษา ซึ่งหาก กทพ.แพ้คดี คาดว่าจะต้องจ่ายค่าเสียหายให้เอกชน 1,700 ล้านบาท (ล่าสุดกทพ.ชนะคดีแล้วหลังศาลฎีกาสั่งยกคำร้อง)

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ส่วนข้อพิพาทที่ กทพ.ยื่นเรียกค่าเสียหายจากเอกชนคู่สัญญามี 4 เรื่อง คือ 1.การก่อสร้างถนนรวมและกระจายการจราจรหรือซีดีโรด ภายใต้สัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ช่วงพระราม 6-ราชดำริ

2.ให้บริษัทรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาผลกระทบจากทางด่วนขั้นที่ 2 วงเงิน 1.7 ล้านบาท

3.ความรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามสัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 กทพ.ยื่นข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2547 ให้บริษัทรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เป็นเงิน 16.4 ล้านบาท อนุญาโตตุลาการกำลังพิจารณา

4.ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับปัญหาการร้องเรียน เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2548 กทพ.เสนอข้อพิพาทต่อคณะผู้พิจารณาเรียกร้องให้บริษัทชดใช้ค่าใช้จ่ายในการทำทางเข้าออกแก่ที่ดินของผู้ร้องเรียนผ่านเขตทางด่วนขั้นที่ 2 วงเงิน 404,719 บาท บริษัทยื่นคำคัดค้านเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2550

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจาก กทพ.ที่มีคดีความกับคู่สัญญาแล้ว ยังมีกรมทางหลวงที่มีคดีฟ้องร้องกับผู้ถือหุ้นของบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานโทลล์เวย์ คือ บจ.วอเตอร์บาวน์ ผู้รับเหมาจากประเทศเยอรมนี จากการได้รับความเสียหายจากการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และรัฐบาลทำผิดสัญญาจากการให้ปรับลดค่าผ่านทางเหลือ 20 บาทตลอดสาย สร้างทางแข่งขัน เรียกค่าเสียหายเป็นเงินกว่า 6,000 ล้านบาท รอคำชี้ขาดจากอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในเดือนพฤษภาคมนี้

กรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ถูก บจ.โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) คู่สัญญาก่อสร้างฟ้องเรียกค่าชดเชยกว่า 12,000 ล้านบาท เพราะการก่อสร้างไม่เป็นไปตามสัญญา เนื่องจากการรถไฟฯส่งมอบพื้นที่ล่าช้า และยกเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ ซึ่งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2551 ที่ผ่านมา ขณะนี้อัยการสูงสุดยื่นคัดค้านให้การรถไฟฯแล้ว อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของศาลปกครอง

คดีการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร (กทม.) มูลค่า 6,700 ล้านบาท ซึ่ง กทม.จ่ายเงินค่างวดให้กับบริษัทสไตเออร์ฯ ผู้ผลิตรถไปแล้ว จำนวน 5 งวด เป็นเงิน 4,000 กว่าล้านบาท แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้

นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จริงๆ แล้วระบบอนุญาโตตุลาการ โดยตัวของระบบไม่มีอะไรเสียหาย แท้ที่จริงแล้วระบบอนุญาโตตุลาการถูกออกแบบเป็นศาลที่คู่ความเลือก แล้วจัดตั้งขึ้นมาเฉพาะคดีปัญหาที่มันเสียหาย เกิดจากการที่คนเข้าไปร่วมกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ไม่ตรงไปตรงมา เป็นปัญหาของการโกงระบบ เอกชนเมื่อมาพิพาทกับหน่วยงานรัฐมักใช้วิธีการซื้อคนของรัฐ ซื้อตั้งแต่ตอนทำสัญญา ไม่ใช่ในตอนเป็นอนุญาโตตุลาการ มีการซื้อตั้งแต่ตอนร่างสัญญา เพราะฉะนั้น สัญญาจึงออกมา ได้เปรียบเสียเปรียบอย่างซับซ้อนซ่อนเงื่อน และเมื่อพิพาทกันขึ้นมาก็เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ ซึ่งอนุญาโตตุลาการก็ต้องตัดสินไปตามสัญญา เว้นแต่จะตรวจพบและจับได้ว่ามีการไม่สุจริต ในกระบวนการร่างสัญญา ซึ่งจับยากมาก และอนุญาโตตุลาการก็ไม่มีปัญญาจะไปตรวจสอบความไม่สุจริต ส่วนใหญ่ก็เอาสัญญามาดูความถูกต้อง ถ้าไม่ต้องตามสัญญา เอกชนเสียหายเท่าไร ฝ่ายรัฐก็ต้องจ่ายค่าเสียหาย

เร่งสรุปผลศึกษาราคาประมูล 3 โรงขยะ

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6656 ข่าวสดรายวัน


เร่งสรุปผลศึกษาราคาประมูล 3 โรงขยะ



นายกฤษฎา กลันทานนท์ ผอ.สำนักงานกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการจ้างเหมาเอกชนขนมูลฝอยไปทำลายของกรุงเทพฯจำนวน 3 โครงการ มูลค่ารวม 9,589 ล้านบาท แยกเป็นโครงการกำจัดมูลฝอยที่โรงงานกำจัดมูลฝอยอ่อนนุช วงเงิน 3,546 ล้านบาท โครงการกำจัดขยะมูลฝอยที่สถานีขนถ่ายมูลฝอยท่าแร้ง 2,993 ล้านบาท และโครงการกำจัดมูลฝอยที่โรงงานกำจัดมูลฝอยที่หนองแขม วงเงิน 3,050 ล้านบาท หลังจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ระบุว่ากทม.ว่าจ้างเอกชนดำเนินการด้วยวงเงินที่แพงเกินจริงนั้นว่า ภายหลังจากนายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัดกทม. ในฐานะรักษาการผู้ว่าฯกทม.ช่วงก่อนจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.คนใหม่เซ็นลงนามในหนังสือเพื่อเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยชั้นนำประมาณ 6-7 ท่านมาเป็นคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาว่าราคาที่กทม.ว่าจ้างเอกชนนั้นมีราคาแพงตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ท้วงติงมาหรือไม่นั้น ขณะนี้สำนักสิ่งแวดล้อม(สสล.)ทำหนังสือแจ้งกลับมาว่าคณะกรรมการ ชุดดังกล่าว จะเริ่มประชุมเพื่อพิจารณาว่าราคากลางดังกล่าวของกทม. เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งจะได้ข้อสรุปภายในเดือนก.พ.นี้ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเกิดความล่าช้ามากแล้ว

ผอ.สำนักงานกฎหมายและคดี กล่าวต่อว่า ขณะที่ทางสำนักงานฯจะทำหนังสือแจ้งไปที่กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกำกับดูแล รวมทั้งสตง.ให้ทราบด้วยว่าคณะกรรมการชุดดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการ

"ทั้งนี้หากผลการศึกษาระบุออกมาว่าราคาที่ กทม.ว่าจ้างนั้นไม่แพง กทม.จะทำหนังสือแจ้งไปที่สตง.และกระทรวงมหาดไทย แต่หากผลการศึกษาระบุออกมาว่าราคาแพงเกินจริง กทม.จะตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเพื่อหาผู้รับผิดชอบต่อไป" นายกฤษฎา กล่าว

หน้า 30 http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROaVoyc3dNakU0TURJMU1nPT0=§ionid=TURNek1nPT0=&day=TWpBd09TMHdNaTB4T0E9PQ==

"มหัศจรรย์...กับสารพันการ เกษตร" ที่ เดอะ มอลล์ บางแค

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11302 มติชนรายวัน


วันนี้บอกหลายเรื่อง

คอลัมน์ โลกสองวัย

โดย บางกอกเกี้ยน





วันนี้ น้องหนูอย่าลืมชวนคุณพ่อคุณแม่ไปงานวันเทคโนโลยี เกษตรมหัศจรรย์ "มหัศจรรย์...กับสารพันการ เกษตร" ที่ เดอะ มอลล์ บางแค นะจ๊ะ

ทำไมต้องไปจัดที่ เดอะ มอลล์ บางแค ใครรู้มั่งเอ่ย

ใครไม่รู้ต้องกลับไปอ่านที่เคยเขียนไปบ้างแล้วเมื่อปลายสัปดาห์ก่อน

บอกอีกครั้งก็ได้ เพราะย่านฝั่งธนฯ ยังเป็นย่านของเรือกสวนไร่นาอยู่มาก ใครที่มีบ้านอยู่ฝั่งธนฯ การเดินทางมักจะผ่านสวนที่มีต้นไม้ร่มครึ้ม บางแห่งยังมี "ท้องร่อง" ให้เห็น

ย่านบางแค เป็นตลาดใหญ่ของพืชผักผลไม้ และ เดอะ มอลล์ บางแค เคยจัดงานที่เกี่ยวกับปลาสวยงาม การประมงมาแล้วหลายครั้ง

ที่สำคัญ งานวันเส้นทางเศรษฐีครั้งหลังๆ ที่จัดมาก็ไปใช้สถานที่ของ เดอะ มอลล์ บางกะปิ เพราะมีผู้คนพลุกพล่าน ส่วน เดอะ มอลล์ งามวงศ์วานก็อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากมติชน (แหะ แหะ ไม่เกี่ยกับงานนี้ดอกครับ เขียนบอกไว้อย่างนั้นเอง)

งาน "มหัศจรรย์...สารพันการเกษตร" มีพิธีเปิดบ่ายวันนี้ ด้วยรายการยิ่งใหญ่ และรายการเสวนาน่ารู้เรื่อง "มหัศจรรย์ข้าวกล้องงอก" เป็นอย่างไรต้องไปฟังด้วยหูดูด้วยตา

พรุ่งนี้ วันพฤหัสบดี เป็นวันที่ 2 มีหลายเรื่องหลากรส "ไผ่แตกกอต่อรายได้" "พลังงานชุมชนของคนพอเพียง" "พันธุ์ปลาเศรษฐกิจ & ปลาบึกเชิงพาณิชย์" "เรื่องมันๆ กันมันสำปะหลัง" "ปาล์มน้ำมัน ยอดพันธุ์พืชเศรษฐกิจ" และ "(รัง)มดแดงแฝงอาชีพ" กับเรื่องราวดีๆ จากสถาบันหม่อนไหมฯ (ทุกวัน)

วันศุกร์ที่ 20 มีเรื่อง "ปุ๋ยสามัญประจำบ้าน" (เอ๊ะ เป็นยังไง) "กวาวเครือกับความงามและสุขภาพ" "ผลิตภัณฑ์จากแพะ ต่อยอดสร้างรายได้" "ข้าวพื้นเมืองกับ(สาธิต)น้ำข้าวหอมเพื่อสุขภาพ"

สองวันสุดท้าย เสาร์-อาทิตย์ ว่าถึงวันเสาร์ก่อน "มะรุมเอกมหาชัย พืชมีอนาคต" "(สาธิต)น้ำข้าวกล้องเสริมสุขภาพ" "พริก ความเผ็ดทำเงิน" "เลี้ยงและขยายพันธุ์สุนัขเล็กเชิงพาณิชย์" และ "สัตว์ป่าสู่สัตว์เศรษฐกิจ"

วันอาทิตย์ สุดท้าย "เห็ด พืชเล็กตลาดโต" "มะพร้าว พืชพันธุ์รับใช้มนุษย์" ข้าวเพื่อสุขภาพ กับ(สาธิต)ไอศครีมข้าวกล้องงอก"

อย่าลืมชมการสาธิตและผลิตผ้าไหมจากสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทุกวัน

ในงาน ตื่นตากับเทคโนโลยีเกษตรนวัตกรรมใหม่ ตื่นใจกับผลิตผลเกษตรมหัศจรรย์ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์จุใจกว่า 150 คูหา

เพลิดเพลินกับมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังแกรมมี่ทุกวัน (ใครบ้าง เตรียมตัวไปดูรายการหน้างาน)

พิเศษเด็ดสะระตี่ พบกับสุดยอดผลิตภัณฑ์ OTOP (๑T๑P) กว่า 40 ชนิด ชั้นนำจากทั่วประเทศ

แหม มางานเกษตรไม่มีของติดไม้ติดมือกลับบ้านได้อย่างไร โดยเฉพาะในงานนี้ "วันเทคโนโลยีชาวบ้าน เกษตรมหัศจรรย์" ก่อนกลับบ้านแต่ละวัน อย่าลืมรับต้นมะเขือยักษ์ เมล็ดพันธุ์พืช ผัก ไม้มงคล พืชน้ำมันตัวใหม่ "เอกมหาชัย" เอาไปกินไปปลูก

ยัง ยังไม่หมด ในงานให้ชิมน้ำข้าวกล้อง และน้ำเพื่อสุขภาพมากชนิด ชิมแล้วลองขอสูตรเขาดู เผื่อจะได้ไปผลิตเอง ดื่มเอง หรือทำขายก็ไม่ว่ากัน

เดินไปเดินมา ชมฟรีการสาธิต การประกวดชวนชม การแสดงของสัตว์แสนรู้ ชมนักร้องฟังเพลงจากศิลปินแกรมมี่ ชมการแปรรูปข้าวเป็นของขวัญและอาหารสารพัน

สำหรับน้องนักอ่าน มีหนังสือลดกระหน่ำ ทั้งเส้นทางเศรษฐี และเทคโนโลยีชาวบ้าน เล่มเก่าแต่เรื่องไม่เก่า ที่หายากและขายดี อ่านได้ทั้งปี และลดตั้งแต่ 20-90% ของสำนักพิมพ์มติชน

พบกันในงานครับ

หน้า 21 http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra04180252§ionid=0131&day=2009-02-18