วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เมื่อเสรีภาพออนไลน์เป็นตัวประกันทางการเมือง

http://www.thairath.co.th/content/tech/3078

เมื่อเสรีภาพออนไลน์เป็นตัวประกันทางการเมือง

เมื่อเสรีภาพออนไลน์เป็นตัวประกันทางการเมือง

Pic_3078

ผล พวงจากการใช้ พ.รบ.คอมพิวเตอร์ฯ ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อสังคมอินเทอร์เน็ต จนคนบนโลกไซเบอร์ คือ เหยื่อตรงกลางความขัดแย้งจาก 2 ขั้วการเมือง เมื่อรัฐบาลต้องการลิดรอนสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็น เพื่อปิดกั้นอีกฝ่ายไม่ให้ขยับ...

เมื่อการเคลื่อนไหวของเครือข่าย ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่ง ชาติ (นปช.) หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง ยุติลง หลังจากที่ปักหลักชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล จนกระทั้งมาแตกหักเอาในวันที่ 11 เม.ย.เมื่อ กลุ่มผู้ชุมชนุมคนเสื้อแดง บุกล้มประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและคู่เจรจา ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ทำให้ผู้นำจากประเทศต่างๆ ไม่สามารถอยู่ร่วมประชุมได้ ต้องเดินทางกลับและกลุ่มผู้ชุมนุมได้กลับเข้ามารวมตัวกันในกรุงเทพมหานคร นำมาสู่การสลายการชุมชุม

ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็ตัดสินใจประกาศใช้ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ขั้นร้ายแรงในเขตกรุงเทพและปริมลฑล โดยตัวกฎหมายฉบับนี้ส่งผลให้ภาครัฐสามารถปิดเว็บไซต์ ที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศจำนวนกว่า 100 เว็บไซต์ ทั้งนี้ ผลของ พรก.ฉุกเฉินฯ ทำให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) สั่งปิดเว็บไซต์ที่กระทบต่อความมั่นคงได้โดยไม่ต้องขออำนาจศาล ตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่นายกรัฐมนตรี ประกาศยกเลิกการใช้ พรก.ฉุกเฉินแล้วเมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา อาจดูเหมือนว่าสถานการณ์ในบ้านเมืองปกติ แต่บรรยากาศความหวาดกลัว และผลพวงจากการใช้กฎหมายด้านความมั่นคงยังมีอยู่ แม้เว็บไซต์ที่ถูกรัฐบาลปิดไป 71 เว็บไซต์ ในขณะที่มีการประกาศ พรก.ฉุกเฉิน จะเปิดให้เข้าชมได้แล้ว แต่ปัญหาที่ก่อนตัวมาก่อนหน้านี ้ เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง และการโพสข้อความหมิ่นประมาบนเว็บไซต์ รวมไปถึงการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพสื่อบนอินเทอร์เน็ตมองว่า เป็นการนำสถาบันฯ มาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อจัดการสื่อที่อยู่ตรงข้ามฝ่ายรัฐบาล หรือ กลุ่มคนที่เห็นต่างไปจากรัฐบาล

ทำให้มีผู้ดูแลเว็บไซต์ และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องถูกเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินคดีตามกฎหมาย พรบ.คอมฯ ในมาตราที่ 14, 15 คือ เป็นผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำผิด นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ซึ่งอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยที่จะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงประเทศ และเผยแพร่ หรือส่งต่อ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์

ทั้ง หมดเท่าที่มีข้อมูลผู้ที่ถูกดำเนินคดีในกรณีเหล่านี้ มีประมาณ 5 คน และใน 5 คนนี้ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ก็แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ เครือข่ายพลเมืองเน็ต จึงได้จัดเสวนา "วิพากษ์ผลกระทบจากกฎหมายและการเมือง ต่อสิทธิมนุษยชนพลเมืองเน็ต" เพื่อร่วมกันหารือแล เสนอข้อเรียกร้องต้อภาครัฐในการแก้ไขกฎหมายให้มีความเท่าเทียมกัน และต้องการให้เจ้าหน้าที่ภารรัฐดำเนินการเรื่องเหล่านี้อย่างชัดเจน บนมาตรฐานเดียวกัน และไม่ซ้ำซ้อน เพื่อให้เป็นกฎหมายที่ปกป้องประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช้นำมาใช้เป็นเครื่องมือให้ภาครัฐจัดการสื่อออนไลน์ หรือผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

นาย จอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) อธิบายถึงผลกระทบจากกฎหมายด้านความมั่นคง และพรบ.คอมฯ ว่า ในโลกของกฎหมายไม่มีการออกกฎหมายครั้งใดสามารถหยุดยั้ง การเผยแพร่ความรู้ และกดขี่การแสดงความคิดเห็นของประชาชนได้ ความขัดแย้งทางการเมืองจากทั้ง 2 ฝ่าย ขณะนี้ ผู้นำของทั้ง 2 ฝ่ายคือคนที่กดขี่ประชาชน โดยเฉพาะ พรก.ฉุกเฉิน ที่ทำให้ประชาชนต้องเป็นเบี้ยงล่างผู้ใช้กฎหมายออกมาที่ ครอบคลุมหลายชั้น เช่น การหมิ่นประมาทตามกฎหมายแพ่ง และหมิ่นประมาทบนอินเทอร์เน็ต ตาม พรบ.คอม ที่ยังมีการเลือกปฏิบัติในการใช้กฎหมายกับประชาชน

ผอ. iLaw อธิบายต่อว่า ที่ผ่านมาการปิดกั้นเว็บไซต์ในประเทศไทย มีที่เป็นเว็บไซต์การเมืองจริงๆ น้อยมาก ที่ผ่านมากระทรวงไอซีทีมักพูดตัวเลขเกินความจริง นั่นเป็นส่เหตุให้ประชาชนทั่วไปถูกลูกหลงจากสงครามของ 2 ขั้ว หากเป็นสถานการณ์ปกติเชื่อว่าจะ ไม่มีผู้ถูกดำเนินคดีตาม พรบ.คอมฯ หรือ กฎหมายด้านความมั่นคง เรื่องนี้เลยกลายเป็นสัญลักษณ์ของความไม่สงบทางการเมือง ที่มีการดึงเอาสถาบันฯ มาเป็นประเด็น การที่กระทรวงไอซีทีดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ เป็นสิ่งที่พยายามจะแสดงออกมาได้ทำอะไรบางอย่างแล้ว ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

นาย จอน อธิบายเพิ่มเติมว่า วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ในเมื่อรัฐบาลอ้างการหมิ่นสถาบันฯ ก็ควรให้อยู่เหนืออำนาจการเมืองที่ คนไม่อาจสงสัยในความเกี่ยวข้องกับการเมืองได้ ขณะเดียวกัน การที่รัฐบาลยกเลิกการใช้ พรก.ฉุกเฉิน ส่วนตัวเห็นว่าเป็นผลดีต่อการเจรจาสันติภาพของทั้ง 2 ฝ่าย และน่าจะทำให้นายกรัฐมนตรีแก้ปัญหากฎหมาย นำไปสู่ความปรองดองภายในชาติ

ด้าน นายกานต์ ยืนยง ผู้อำนวยการ Siam intelligence Unit (SIU) และเครือข่ายพลเมืองเน็ต อธิบายถึงผลจากการวิจัยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วงเดือน ม.ค.-เม.ย.2552จากกลุ่มตัวอย่าง 914 คน พบว่าใช้งานอินเทอร์เน็ตจากบ้านมากที่สุด และใช้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว โดยเมื่อศึกษาความจำเป็นในการใช้งานของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ใช้มากที่สุดเพื่อการศึกษาและทำงาน ขณะเดียวกันมองว่าอินเทอร์เน็ตและการเมืองไม่มีความสำคัญมากนัก อย่างไรก็ตามจากการสรวจทำให้ทราบว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่สนใจศึกษาสิทธิ์ในการใช้งาน (EULA) และพรบ.คอมฯ มากนัก และมองว่ามีผลกระทบต่อการใช้งานด้านลบมากกว่าแง่บวก?

ผอ.SIU อธิบายอีกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมออนไลน์ ขณะนี้ ได้แก่ กฎหมาย พรบ.คอมฯ มาจากรัฐบาลของคณะรัฐประหาร ส่งผลให้เกิดผลกระทบแง่ลบ ไม่พอใจต่อกฎหมาย และการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ขณะเดียวกัน กระทรวงไอซีทียังมีแผนการที่เป็นเป็นผู้ Hack&Crack เสียเอง ถือว่าเป็นความผิดตาม พรบ.คอมฯ ด้วย ขณะเดียวกันภาระในการเก็บข้อมู ลล็อกไฟล์ยังตกเป็นของเอกชน ดังนั้นอยากเสนอนะว่า เห็นควรที่จะแยกเรื่องเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต ออกจาก พรบ.คอมฯ เน้นการเอาผิดผู้กระทำความผิดต่อคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่าย มากกว่าการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อทำความผิด

นายกานต์ อธิบายเสริมว่า ต้องผลักดันกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาถ่วงดุลการใช้อำนาจตาม พรบ.คอมฯ ขณะเดียวกันความเป็นไปได้ที่จะปิดกั้นเว็บไซต์ทำได้น้อยมาก จึงต้องให้ภาครัฐจริงจังเป็นหากแนวทางที่เป็นไปได้มากกว่านี้ อย่างไรก็ตามส่วนตัวเห็นว่า สื่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้มีอิทธิพลมากไปกว่าสื่อหลัก เพราะคนใช้อินเทอร์เน็ตเมืองไทยมีแค่ 11 ล้านคน ใช้จริงจังมีไม่ถึง 10% บรอดแบนด์ก็มีผู้ใช้ประมาณ 1 ล้านคน แต่โทษความผิดทางอินเทอร์เน็ตกลับรุนแรงมากกว่ากฎหมายหมิ่นประมาทที่ใช้กับ สื่อสิ่งพิมพ์ หรือวิทยุ โทรทัศน์

ส่วน นายสุเทพ วิไลเลิศ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) อธิบายถึงผลกระทบทางการเมืองและกฎหมาย ต่อเสรีภาพของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า ที่ผ่านมาเห็นชัดว่ารัฐบาลมองสื่ออินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่แหลมคมที่สุด ด้วยภาพของสื่อที่มีแต่เรื่องเลวร้าย เนื้อหาไม่เหมาะสม แต่การจับกุมที่ผ่านมาข่าวแต่ละครั้งมีแต่การจับข้อหาหมิ่นประมาทบุคคล และหมิ่นสถาบันฯ มากกว่าการดำเนินคดีเว็บที่เนื้อหาไม่เหมาะสม จึงอยากเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายโดยประชาชนจึงมีความสำคัญ และเท่าที่เห็นทางรัฐบาล และพรรคประชาธิปัตย์ก็พยายามเร่งดำเนินการอยู่เช่นกัน

สิ่งที่อยาก ฝากให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ตระหนัก คือ การระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็น ในช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองยังไม่สงบ และยังมีความเคลื่อนไหวของขั้วต่างๆ เพื่อต้องการให้กิจกรรมทางการเมืองขับเคลื่อนต่อ เพราะตราบใดที่สังคมมองว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งไม่ดี มีแต่เรื่องร้ายๆ ก็ยิ่งเปิดช่องสนับสนุนให้ภาครัฐเข้ามาควบคุมมากขึ้น สิ่งที่จำเป็น คือ คนบนโลกออนไลน์ต้องทำตัวให้ดี และมุ่งเน้นเสนอความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์ เพื่อแสดงให้สังคมภายนอกรู้ถึงประโยชน์ ที่ประชาชนจะได้รับจากเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น จากการทำหน้าที่สื่อพลเมือง และเป็นส่วนหนึ่งสื่อออนไลน์ยุ คใหม่

ขณะ เดียวกันภาครัฐจำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติ วัฒนธรรมเสรีที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต และเปิดโอกาสให้สังคมบนอินเทอร์เน็ตได้ร่วมในการออกแบบกฎหมาย ที่จะมาปกป้องความให้เกิดความสงบ ไม่ใช่กฎหมายเพื่อปิดกั้น ขัดขวาง หรือเป็นเครื่องเพื่อมุ่งทำลายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยที่ผู้ใช้เองยังไม่รู้ถึงพลานุภาพ และอำนาจหน้าที่ที่ตัวเองต้องใช้...



จุลดิส รัตนคำแปง
itdigest@thairath.co.th

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ทีมข่าววิทยาการ-ไอที
  • 1 พฤษภาคม 2552, 09:55 น.
 
tags:
เสรีภาพออนไลน์, การเมือง,

Insert movie times and more without leaving Hotmail®. See how.

ไม่มีความคิดเห็น: