วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2551

วันพุธที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๑ ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ

30 เม.ย. 2551

เวทีสมัชชาผู้ใช้แรงงาน ปฏิรูปประกันสังคมสู่การบริหารงานอย่างมีส่วนร่วมของผู้ประกันตนและขยายการคุ้มครองสู่แรงงานนอกระบบ




กำหนดการเวทีสมัชชาผู้ใช้แรงงาน

“ ปฏิรูปประกันสังคมสู่การบริหารงานอย่างมีส่วนร่วมของผู้ประกันตน

และขยายการคุ้มครองสู่แรงงานนอกระบบ ”

ในวันพุธที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๑ ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.

ณ ห้องประชุมสโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ

ร่วมจัดโดย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย , มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

มูลนิธิเพื่อนหญิง , มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)



๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน/รับเอกสาร

๐๙.๐๐ – ๐๙.๑๕ น. ชมสารคดี วิดีทัศน์ “ ระบบประกันสังคมในประเทศไทย ”

๐๙.๑๕ – ๐๙.๓๐ น. กล่าวต้อนรับและรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดเวทีสมัชชาผู้ใช้แรงงาน

โดย นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย

ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

๐๙.๓๐ – ๐๙.๔๕ น. กล่าวเปิดงาน

โดยท่าน อุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

๐๙.๔๕ – ๑๐.๒๕ น. ปาฐกถานำ เรื่อง “การบริหารประกันสังคม เพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิต

ของผู้ใช้แรงงาน”

โดย นพ. วิชัย โชควิวัฒน์ รองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ

(สสส.) หรือผู้แทน

และ ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๐.๒๕ – ๑๐.๔๐ น. การแสดงละครสะท้อนชีวิตแรงงานนอกระบบ

โดย คณะเครือข่ายแรงงานนอกระบบ

๑๐.๔๐ - ๑๑.๐๐ น. ประกาศเจตนารมณ์“ ปฏิรูปประกันสังคมสู่การบริหารงานอย่างมีส่วนร่วม และ คุ้มครองแรงงานนอกระบบ”

๑๑.๐๐ – ๑๑.๑๕ น. พัก - อาหารว่าง

๑๑.๑๕ – ๑๒.๓๐ น. เวทีเสวนา “ผ่าโครงสร้างประกันสังคม สู่การบริหารงานอย่างมีส่วนร่วม

ของผู้ใช้แรงงาน : ทิศทางไปทางไหน..?”

นำเสนอผลการรับฟังความคิดเห็นการปฏิรูปประกันสังคม โดย

ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ ผู้อำนวยการมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน





เสนอข้อคิดเห็นโดย

นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม

นายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนา

เอกชน (กป.อพช.)

นางสุจินต์ รุ่งสว่าง ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ

นายอุดมศักดิ์ บุพพนิมิตร ประธานจัดงานวันแรงงานแห่งชาติปี ๒๕๕๑

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

นางสิริวัน ร่มฉัตรทอง เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย

ดำเนินรายการโดย ดร.ยุพดี ศิริสินสุข คณะเภสัชกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๒.๓๐ – ๑๓.๓๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๓๐ – ๑๕.๐๐ น. เวทีเสวนา “การขยายความคุ้มครองประกันสังคม ครอบคลุมแรงงานทุกภาคส่วน”

โดย นายสมคิด ด้วงเงิน ประธานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ

นายดำรง สังวงศ์ เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา

นายคำปึก ขวัญกล้า กลุ่มคนงานคุ้ยขยะ

นางอาภา หน่อตา กลุ่มเอ็มพาวเวอร์

นางกนกวรรณ โมรัฐเสถียร กลุ่มคนทำงานบ้าน

ผู้แทนกลุ่มคนขับรถแท็กซี่ / รถรับจ้าง

นายรักษ์ศักดิ์ โชติชัยสถิตย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านประกันสังคม

ผู้อำนวยการ โครงการขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ

นายชฤทธิ์ มีสิทธิ์ หัวหน้าโครงการพัฒนานโยบายสาธารณะ

แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ

ดำเนินรายการโดย

รศ. แล ดิลกวิทยรัตน์ ศาสตราภิชาน

(คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

๑๕.๐๐ – ๑๕.๑๕ น. พัก - อาหารว่าง

๑๕.๑๕ – ๑๖.๐๐ น. การแสดงดนตรีแรงงาน โดย วงภราดร

๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. สรุปเวทีเสวนา เช้าและบ่าย โดย นายจะเด็จ เชาวน์วิไล

ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนหญิง

กล่าวปิดการเสวนา โดย นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย

ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

๑๖.๓๐ น. กิจกรรมปิด



หมายเหตุ : 1. จัดแสดงนิทรรศการตลอดวัน

2. ออกร้านขายสินค้าจากเครือข่ายพี่น้องแรงงานนอกระบบ

3. ผู้ร่วมงานจะได้รับสื่อรณรงค์ แผ่นพับ โปสเตอร์ และเสื้อยืดรณรงค์คนละ 1 ตัว











โครงการ

เวทีสมัชชาผู้ใช้แรงงาน

เรื่อง “ ปฏิรูปประกันสังคมสู่การบริหารงานอย่างมีส่วนร่วมของผู้ประกันตน

และขยายการคุ้มครองสู่แรงงานนอกระบบ”

๒. หลักการและเหตุผล :

รัฐธรรมนูญปีพ.ศ.2550 ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนใน ‘มาตรา 84 (7) ส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี จัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคีที่ผู้ทำงานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน จัดระบบประกันสังคม รวมทั้งคุ้มครองให้ผู้ทำงานที่มีคุณค่าอย่างเดียวกันได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ’ และนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นางอุไรวรรณ เทียนทอง) ‘นโยบายข้อที่ 5 แรงงานนอกระบบ: ขอให้เร่งดำเนินการให้แรงงานนอกระบบได้รับการคุ้มครองดูแลในเรื่องสิทธิ สวัสดิการ และผลประโยชน์ตอบแทนการทำงานที่เหมาะสมเท่าเทียมกับแรงงานในระบบด้วยการพิจารณาขยายการประกันสังคมออกไปยังกลุ่มอาชีพต่างๆ



สำนักงานประกันสังคมได้จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นเวลากว่า ๑๖ ปีแล้ว โดยกระบวนการขับเคลื่อนและผลักดันของผู้ใช้แรงงานในระบบ ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมมีผู้ประกันตนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนถึงกว่าเก้าล้านคน เนื่องจากการขยายความคุ้มครองไปยังนายจ้างที่มี ลูกจ้างตั้งแต่ ๑ คนขึ้นไป และในอนาคตอันใกล้นี้แนวทางการบริหารของสำนักงานประกันสังคมต้องขยายความคุ้มครองไปยังกลุ่มอาชีพอื่นๆที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจนอกระบบ ซึ่งจะมีผู้ประกันตนเพิ่มมากขึ้นในระบบประกันสังคม ในขณะเดียวกันเงินกองทุนประกันสังคมก็เพิ่มขึ้นถึงสี่แสนล้านบาท แต่การบริหารงานของสำนักงานประกันสังคมยังมิได้มีการพัฒนาเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานเพื่อรองรับการเติบโตแต่อย่างใด และยังขาดการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นผู้ประกันตนอย่างแท้จริง



ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น ในประเด็นการบริหารสำนักงานประกันสังคม และการผลักดันให้ประกันสังคมขยายความคุ้มครองไปถึงผู้ประกอบอาชีพต่างๆในภาคเศรษฐกิจนอกระบบ และขยายสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมให้เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นประเด็นที่สังคม นักวิชาการ และหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการสร้างหลักประกันทางสังคมให้กับคนจนและผู้ด้อยโอกาส (ซึ่งกลุ่มผู้ใช้แรงงานทั้งในและนอกระบบ เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของความเป็นคนจนและคนด้อยโอกาส) ให้ความสนใจและอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงตามที่ได้มีข้อเสนอทั้งจากฝ่ายวิชาการและผู้ใช้แรงงานเอง



แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบและแผนงานสุขภาวะในองค์กร สสส.โดยความร่วมมือกับภาคีหุ้นส่วน จึงได้พิจารณาถึงแนวทางการสื่อสารและการสร้างกระแส เพื่อผลักดันให้เกิดการพิจารณาและปฏิบัติการทางนโยบายที่มีผลต่อการคุ้มครองและการสร้างหลักประกันทางสังคมแก่ผู้ใช้แรงงานในอนาคตอันใกล้ “เวทีสมัชชาผู้ใช้แรงงาน” ซึ่งเป็นเวทีที่เปิดพื้นที่ทางสังคมให้แรงงานนอกระบบได้แสดงตัวตนและปัญหาความต้องการต่อสังคม นักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้เห็นปัญหาและตัวตนรวมถึงเอาใจใส่มากขึ้น จากผลการจัดเวทีสมัชชาแรงงานนอกระบบก่อนที่จะถึงวันแรงงานแห่งชาติในปีที่ผ่านมา เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อหน่วยงานนโยบายที่นำข้อเสนอและคำประกาศเจตนารมณ์ของแรงงานนอกระบบไปขับเคลื่อนต่อในรูปของคณะทำงานต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันยังมีการดำเนินงานบางส่วนต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน และกองเศรษฐกิจการเกษตรได้มีโครงการศึกษาปัญหา สถานการณ์และผลกระทบของเกษตรพันธสัญญา



ด้วยเหตุผลดังกล่าวแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ,แผนงานพัฒนาสุขภาวะองค์กรร่วมกับภาคีหุ้นส่วนหลักซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย, มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย,มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน, มูลนิธิเพื่อนหญิง,และศูนย์ยุทธศาสตร์วิชาการแรงงานนอกระบบ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้วิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกที่เกิดขึ้นจากเวทีสมัชชาในปีที่ผ่านมาและมีความเห็นร่วมกันว่า ควรจะคงเวทีสมัชชาผู้ใช้แรงงานโดยรวมทั้งในและนอกระบบอย่างต่อเนื่อง ประเด็น”ประกันสังคม” จึงเป็นประเด็นหลักและประเด็นร่วมของกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ได้ตกลงร่วมกันเพื่อผลักดันประเด็นที่เป็นปัญหาและความต้องการของผู้ใช้แรงงานต่อหน่วยงานผู้มีบทบาทในการกำหนดนโยบายผ่านช่องทางการสื่อสารกับสังคม



๓. กรอบคิดและยุทธศาสตร์ :

เปิดเวทีสาธารณะเพื่อนำเสนอความต้องการของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะในประเด็นนโยบายการคุ้มครองและการขยายหลักประกันทางสังคมของภาครัฐต่อผู้ใช้แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ ผ่านกลไกเครื่องมือที่มีอยู่อย่างคือสำนักงานประกันสังคม เพื่อผลักดันให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารงานสำนักงานประกันสังคม การขยายสิทธิประโยชน์คุ้มครองให้แก่ผู้ประกันตนและการขยายความคุ้มครองไปสู่ผู้ประกอบอาชีพในภาคเศรษฐกิจนอกระบบที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง



๔. เป้าหมายและวัตถุประสงค์ :

๔.๑. เป้าหมาย :

ข้อเสนอและประเด็นสาระสำคัญของผู้ใช้แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ ต่อระบบประกันสังคมที่ครอบคลุมทั่วถึงได้รับการเสนอสู่สาธารณะ หน่วยงานที่มีบทบาทหลักและมีการตอบสนองจากภาครัฐในการดำเนินนโยบาย



๔.๒. วัตถุประสงค์ :

๑. เพื่อนำเสนอและผลักดันให้มีกระบวนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานสำนักงานประกันสังคมอย่างมีส่วนร่วม

๒. นำเสนอแนวทางในการขยายสิทธิประโยชน์ของการบริการประกันสังคม และการขยายการคุ้มครองไปยังผู้ประกอบอาชีพในเศรษฐกิจนอกระบบที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามการตอบสนองจากภาครัฐในการดำเนินนโยบายดังกล่าว

๓. สร้างกระแสให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของความต้องการการมีส่วนร่วม ปัจจัยและข้อจำกัดของการบริหารจัดระบบประกันสังคมในปัจจุบันและการขยายประเด็นสังคมสู่แรงงานนอกระบบให้ครอบคลุมทั่วถึง เพื่อเป็นแรงผลักดันร่วมกับขบวนการของผู้ใช้แรงงาน

ไม่มีความคิดเห็น: