วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2551

มหัศจรรย์นิทานดนตรี…ครั้งแรกของเมืองไทย


ผ่านไปหมาดๆ กับงาน "เอนฟา เอพลัส มหัศจรรย์แห่งนิทานดนตรี" ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ เอนฟาโกร เอพลัส ได้นำท่วงทำนองแห่งเสียงดนตรี Symphony โดย Mahidol Pop Orchestra แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล มาผสมผสานกับเทคนิคการเล่าเรื่องนิทานแสนมหัศจรรย์ 4 เรื่อง ได้แก่... นิทานประกอบฟองสบู่เรื่อง "เจ้าชายสายลมกับเจ้าหญิงสายรุ้ง", นิทานเพลงหุ่นเรื่อง "มหัศจรรย์วันน้ำท่วมโลก", นิทานประกอบหุ่นเงาเรื่อง "ปูยักษ์ใต้ทะเล", นิทานละครเพลงเรื่อง "ช้างกับเรือ"

ดร.พัฒนา ชัชพงศ์ ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มศว. ยืนยันว่า "นิทานคือการเสริมสร้างความดี ความมีวินัย และจริยธรรมด้านต่างๆ ให้กับเด็ก ช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ และสามารถนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน จริยธรรม คุณธรรมที่ดี

ที่สำคัญ นิทานคือสายป่านอันสวยงามที่ร้อยผูกสายใยระหว่างพ่อแม่กับเด็ก ครูกับนักเรียน ให้มีนาทีที่ดี นาทีที่มีความสุข นาทีแห่งการร่วมกันฝัน สร้างความอบอุ่น มั่นใจก่อนที่จะหลับตาลงในยามค่ำคืน สร้างรอยยิ้ม และความมั่นใจให้เกิดขึ้นในใจ และบนใบหน้าของเด็ก"

นอกจากนี้ "ดนตรี" ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างมหัศจรรย์แห่งสมองและพัฒนาการของเด็กได้ โดยเฉพาะดนตรีคลาสสิก จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของเด็กให้เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี

"นิทานดนตรี" คือการผสมผสานระหว่างการเล่านิทาน บทเพลง และดนตรีที่ผ่านการสร้างสรรค์ให้มีความซับซ้อนของตัวโน้ต และเหมาะสมกับเด็ก ถือเป็นบรรยากาศและ สิ่งแวดล้อมที่ดี ที่จะช่วยกระตุ้นคลื่นสมองเด็กให้เกิดการจัดเรียงตัว พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ภาษา และอารมณ์ให้เด็กได้อย่างดี สามารถกระตุ้นเซลล์ประสาทของเด็กให้แตกแขนงได้มากมาย ส่งผลให้มหัศจรรย์แห่งพัฒนาการด้านต่างๆ เกิดขึ้น

พฤหัส พหลกุลบุตร จากกลุ่มละครมะขามป้อม บอกว่า "การใช้ดนตรี ใช้ภาษาผ่านการเล่าเรื่องของนิทาน และการแสดง จะมีผลต่อการพัฒนาสมอง เด็กได้ซึมซับความงามทางภาษาผ่านการเล่านิทาน การเล่าเรื่องที่มีเทคนิคให้เด็กสนุก เป็นการพัฒนาจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ การใช้ดนตรี Symphony บรรเลง ทำให้เด็กมีความละเมียดละไมทางอารมณ์ และพัฒนาสุนทรียภาพของเด็กๆ ไปพร้อมกัน"

อ.นพีสี เรเยส จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล "เทปนิทานเด็กที่พบเห็นทั่วไปในท้องตลาด มักใช้ดนตรีสังเคราะห์บรรเลง ไม่ได้ใช้เครื่องดนตรีจริง แต่การใช้เครื่องดนตรีจริงๆ ที่เป็นดนตรีวงใหญ่ สร้างเป็นผลงานดนตรีที่มีรสนิยม ทำให้เด็กได้เห็นการใช้เครื่องดนตรี ได้เห็นศักยภาพของเครื่องดนตรีต่างๆ และได้ฟังเสียงดนตรีแต่ละชนิดว่าออกมาเป็นแบบไหน ทำให้สมองเกิดการพัฒนา ปกติเพลงช้าๆ ก็ทำให้สมองเด็กพัฒนาได้ แต่การใช้ดนตรีที่เป็น Symphony ยิ่งเห็นผลได้ชัดเจนขึ้น"

ไม่มีความคิดเห็น: