วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551

วันพฤหัสที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ ณ ห้องประชุมสโมสรนักศึกษา ศูนย์อเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท

็บขวน
ขอเชิญร่วมเวทีเสวนาเรื่องประเมินสถานการณ์ไอซีทีในสังคมไทย [17 เม.ย. 51] [11 เม.ย. 51 - 17:02]
โครงการเวทีประเมินสถานการณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสังคมไทย
(๑) หลักการและเหตุผล
ในช่วง ๒ ปีที่ผ่านมา เราจะพบว่าสถานการณ์ที่เกี่ยวกับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่ปรากฎในสังคมไทย มักจะเป็นไปในทิศทางที่นำมาซึ่งผลกระทบในเชิงลบต่อความมั่นคงของมนุษย์ในสังคมไทย ทั้งนี้ สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ที่เข้าไปใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หากพิจารณาต้นเหตุของสถานการณ์อันเป็นปัญหานั้น เราจะพบว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุหลัก ๕ ส่วน กล่าวคือ
ส่วนที่ ๑ เกิดขึ้นจากเนื้อหาของสื่อที่ไม่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่มีความรุนแรงมากขึ้น และ มีปริมาณมากขึ้น เช่น กรณีการ์ตูนสื่อลามก กรณีเว็บไซต์ลามก ที่มีเนื้อหาที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของมนุษย์ในสังคมไทยมากขึ้น ทั้ง กรณีของเว็บไซต์ที่ขายยาหรืออุปกรณ์ทางเพศ เว็บบล็อกที่มีเนื้อหาทางเพศ การแอบถ่าย (webblog) ซึ่งเป็นการให้ผู้ใช้บริการสามารถเปิดพื้นที่และนำืข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในเว็บไซต์หรือในพื้นที่ส่วนตัวได้ โดยเฉพาะ เว็บไซต์เพศสัมพันธ์ของคนในครอบครัว การแอบถ่าย รวมถึง กรณีเซ็กส์โฟน เกมคอมพิวเตอร์ที่มีเนื้อหาที่มีความรุนแรง เช่น เกม GTA เกมที่เป็นภัยต่อสังคม เช่น เกมข่มขืน ลักหลัก ลวนลาม
ส่วนที่ ๒ เกิดขึ้นจากการขาดความเข้มแข็งในเด็ก เยาวชนและครอบครัว เช่น กรณีการถูกล่อลวงผ่านเว็บไซต์ HI 5 กรณีการติดเกมคอมพิวเตอร์ การใช้ไอซีทีในทางที่ไม่สร้างสรรค์ การโชว์ผ่านโปรแกรมการสนทนาออนไลน์ในระบบ Camfrog การใช้บริการเซ็กส์โฟน
ส่วนที่ ๓ เกิดขึ้นจากปัญหาด้านพื้นที่ในการเข้าถึง หรือ ช่องทางในการเข้าถึงสื่อที่ไม่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ เช่น กรณีที่เกิดขึ้นจากเด็กหนีเรียนเข้าไปใช้บริการในร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ สถานประกอบการที่จำหน่ายสื่อที่ไม่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ การเข้าถึงเว็บไซต์ ดาวน์โหลดเกมที่อันตรายและเป็นภัยต่อมนุษย์ในสังคมไทย
ส่วนที่ ๔ เกิดขึ้นจากการขาดกระบวนการคิดค้น พัฒนา ชุดกฎหมายและนโยบาย รวมถึงการขาดกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย จากการสำรวจกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาเรื่องสื่อเทคโนลีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่า กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องนั้นจะเน้นหนักไปที่กฎหมายที่มีผลต่อการปราบปราม กำกับดูแล และในบรรดากฎหมายที่มีอยู่นั้นก็ไม่ได้ครอบคลุมปัญหาที่เกิดขึ้นจากสื่อในทุกประเภท และในทางตรงกันข้าม กฎหมายที่เน้นด้านการส่งเสริมให้เกิดสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กฎหมายที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็ง ภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก เยาวชน ครอบครัว รวมถึง กฎหมายและนโยบายที่มีผลต่อการส่งเสริมให้เกิดพื้นที่ ช่องทางของการเข้าถึงสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ไม่ปรากฏอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
ส่วนที่ ๕ เกิดขึ้นจาการขาดเจ้าภาพในการทำงาน ทั้งเจ้าภาพในส่วนของภาคนโยบาย พบว่านโยบายของรัฐ มักจะแปรผันไปตามนโยบายทางการเมืองเป็นหลัก ในขณะเดียวกันเจ้าภาพในภาคประชาชน เจ้าภาพในภาคของภาคเอกชน และ เจ้าภาพในทางวิชาการ ก็อยู่ในสภาวะเช่นเดียวกัน ทำให้การทำงานอยู่ในสภาพของการแยกกันทำงาน ไม่ได้ทำงานอย่างเป็นเอกภาพ รวมถึงการทำงานที่ไม่ต่อเนื่อง เป็นสาเหตุที่สำคัญอันเป็นอุปสรรคในการจัดการปัญหาเรื่องนี้
ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์แห่งชาติ ได้มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานหลักในการแสวงหาและพัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของเว็บไซต์ ดังนั้น ทางกระทรวงฯจึงได้มอบหมายให้สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล และสถาบันราชานุกูล ศึกษาวิจัยเพื่อตอบโจทย์ในการจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ รวมทั้ง กลไกในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ใช้ได้จริง และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
เพื่อให้เกิดการประเมินสถานการณ์ด้านเกมคอมพิวเตอร์ร่วมกันจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อันจะนำมาซึ่งการคิดค้น พัฒนากลไกที่ทำให้การจัดระดับความเหมาะสมของเว็บไซต์มีความสมบูรณ์ ตลอดจน แนวทางในการจัดการปัญหาที่เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ทางชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ : โทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเทอร์เน็ต และ เกมคอมพิวเตอร์ หรือ ME จึงได้หารือร่วมกับคณะนิติศาสตร์ ม.กรุงเทพในการจัดเวทีประเมินสถานการณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้น

(๒) เป้าหมายของการจัดเวทีประเมินสถานการณ์
๒.๑ เพื่อสำรวจสถานการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสังคมไทย
๒.๒ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนแนวคิดในการจัดการปัญหาเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
๒.๓ เพื่อแสวงหาองค์ความรู้ในการจัดทำกฎหมายลูกบทที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
๒.๔ เพื่อให้เกิดการสร้าง ขยาย และพัฒนาเครือข่ายในการจัดการปัญหาเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในระบบการส่งเสริมและระบบการกำกับดูแล

(๓) ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำงาน
๓.๑ เกิดความเข้าใจร่วมกันถึงสถานการณ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสังคมไทย
๓.๒ เกิดข้อสรุปทางวิชาการเกี่ยวกับมุมมองและแนวทางการจัดการปัญหาเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
๓.๓ เกิดชุดความรู้ในการจัดทำกฎหมายลูกบทที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
๓.๓ เกิดเครือข่ายทางสังคมที่เข้มแข็งในการช่วยติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล การจัดการปัญหาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสังคมไทย

(๔) กลุ่มเป้าหมาย
๔.๑ ภาคธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
๔.๒ ภาคราชการและภาคการเมือง
๔.๓ ภาคนักวิชาการ
๔.๔ ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน
๔.๕ ภาคประชาชน

(๕) ผู้รับผิดชอบกิจกรรม

๕.๑ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ : โทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเทอร์เน็ต และ เกมคอมพิวเตอร์ (ME) สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล
๕.๒ คณะนิติศาสตร์ ม.กรุงเทพ
๕.๓ กระทรวงวัฒนธรรม

(๖) วันเวลา สถานที่
วันพฤหัสที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ ณ ห้องประชุมสโมสรนักศึกษา ศูนย์อเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท

กำหนดการจัดเวทีประเมินสถานการณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสังคมไทย
วันพฤหัสที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ ณ ห้องประชุมสโมสรนักศึกษา ศูนย์อเนกประสงค์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท

เวลา
รายละเอียด
๑๓.๐๐ น. – ๑๓.๓๐ น.
ลงทะเบียนและรับเอกสาร
๑๓.๓๐ น. – ๑๓.๔๕ น.
กล่าวต้อนรับ โดย ผศ.ดร.อรรยา สิงห์สงบ คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.กรุงเทพ
๑๓.๔๕ น. – ๑๔.๐๐ น.
ชี้แจงวัตถุประสงค์และความเป็นมา โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร ที่ปรึกษาประจำโครงการฯ (รอการหารือ)
๑๔.๐๐ น. – ๑๕.๐๐ น.
เปิดประเด็นการประเมินสถานการณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสังคมไทยโดย
(๑) แนวโน้มเชิงพฤติกรรมและทัศนคติในการใช้อินเทอร์เน็ตในสังคมไทย โดย คุณศรีดา ตัณธะอธิพานิช มูลนิธิอินเทอร์เน็ตพัฒนาประเทศไทย(อยู่ระหว่างการประสานงาน)
(๒) สถานการณ์ด้านเทคโนโลยี โดย วิทยาลัยนวัตกรรม ม.ธรรมศาสตร์(อยู่ระหว่างการประสานงาน)
(๓) การสร้างความเข้มแข็งในชุมชนบนโลกอินเทอร์เน็ต โดย คุณวันฉัตร ผดุงรัตน์ (อยู่ระหว่างการประสานงาน)
(๔) สถานการณ์ด้านเนื้อหาของเว็บไซต์ที่ปรากฎในสังคมไทย โดย ผศ.ดร.อรรยา สิงห์สงบ คณะนิติศาสตร์ ม.กรุงเทพ
ดำเนินการโดย อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล
๑๔.๔๕ น. – ๑๖.๑๕น.
เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมเสวนา
ดำเนินการเสวนา โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร
๑๖.๑๕ น. – ๑๖.๓๐น.
สรุปและปิดการเสวนา
โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร ที่ปรึกษาประจำโครงการฯ (รอการหารือ)


รายชื่อเครือข่ายในการจัดเวทีประเมินสถานการณ์
-------------------------------------------------
เครือข่ายภาครัฐ
-------------------------------------------------
(๑) คุณลัดดา ตั้งสุภาชัย กลุ่มเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๙-๙๓๕-๙๐๐๕
(๒) อ.ณรงค์ ลมลอย ศูนย์อินเทอร์เน็ตปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑-๓๓๘-๓๘๘๕
(๓) คุณทวีศักดิ์ กออนันตกูล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 111 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 01-8353555,02-5646900 ต่อ 2310 (เลขา-คุณนุ้ย) e-mail : htk@nactac.or.th
(๔) พล.ต.ต.ญาณพล ยั่งยืน สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ชั้น 19 อาคารศุภพฤกษ์ ถนนประชาชื่น เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800 โทรศัพท์ 01-344-4996 ,02-913-6609 โทรสาร 02-913-6609 e-mail : yanahol@dsi.go.th
(๕) พ.ต.อ.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำความผิดทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถนนพระราม 1 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
(๖) คุณชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ, รองปลัดกระทรวงยุติธรรม, อาคารกระทรวงยุติธรรม ถ.แจ้งวัฒนะ ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด, จ.นนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 02 502 8186 โทรสาร 02 502 8195 Email: charnchao@moj.go.th
(๗) คุณศรัณย์ ทองคำ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โทรศัพท์ 02-5057142 มือถือ 081-9131372
(๘) พ.ต.ท.ปัญญา ชะเอมเทศ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี มือถือ 089-744724
-------------------------------------------------
เครือข่ายภาคเอกชน
-------------------------------------------------
(๑) คุณเลิศชาย กันภัย บริษัท เอเซียซอฟท์ จำกัด ๙ อาคารยูเอ็ม ห้อง ๙/๒๘๓-๕ ชั้น ๒๘ ถ.รามคำแหง สวนหลวง กรุงเทพ ๑๐๒๕๐ โทรศัพท์ ๐๒-๗๖๙-๘๘๘๘
(๒) คุณอนุชา ตันตราภรณ์ บริษัท ตรัยคาสต์ จำกัด ๒๕๔ ซ.ลาดพร้าว ๑๐๗ ถ.ลาดพร้าว กรุงเทพ ๑๐๒๔๐ โทรศัพท์ ๐๘๖-๖๖๖-๐๒๕๐
(๓) คุณสิทธิชัย เทพไพฑูรย์ บริษัท ดีบัสซ์ จำกัด ๒๑/๙๐๙ หมู่ ๕ คลองกุ่ม บึงกุ่ม กรุงเทพ ๑๐๒๔๐ โทรศัพท์ ๐๘๑-๘๑๗-๖๙๓๖
(๔) คุณเอกพล สมมัตถิยดีกุล สมาคมการค้านักธุรกิจผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ๔๗๓/๕๑ถ.จรัญสนิทวงศ์ ซอย ๓๕ บางขุนศรี บางกอกน้อย ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐๘๖-๓๐๘-๘๘๕๐
(๕) คุณเพิ่มบุญ เอี่ยมสุภาษิต นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์เกมไทย ๓๙/๕๐ หมู่ที่ ๑๑ แขวงลาดพร้าว เจตลาดพร้าว กรุงเทพ ๑๐๒๓๐ โทรศัพท์ ๐๘๑-๖๖๘๙-๘๑๕๙
(๖) คุณเพชรสิริ เหลืองไพโรจน์ บรษัท ไมโครซอฟท์ จำกัด ชั้น ๓๗-๓๘ อาคาร CRC ออลซีซั่นเพลส ๘๗/๒ ถ.วิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพ ๑๐๓๓๐ โทรศัพท์ ๐๘๑-๗๕๐-๙๔๘๒ ๐๘๖-๓๐๗-๐๒๐๕
(๗) คุณธีรชาติ ออสมาน ประธานสภาผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ตเกมเกมแห่งประเทศไทย ๕๓๙ ถ.เจริญนคร ๕/๑ คลองต้นไทน คลองสาน กรุงเทพ โทรศัพท์ ๐๘๙-๗๘๒-๙๓๘๓
(๘) คุณวันฉัตร ผดุงรัตน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทอินเทอร์เน็ตมาร์เก็ตติ้ง จำกัด 63/4 ซ.อินทามะระ ถ.สุทธิสารวินิจฉัย สามเสนในพญาไท กทม.10400 โทรศัพท์ 01-6131084 ,02-3571960แฟ็ก 02-3571962 wanchat@pantip.com
(๙) คุณวรพจน์ หิรัญประดิษฐ์กุล pantip.com โทรศัพท์ 0-2357-1960-1 e-mail :varaport@pantip.com
(๑๐) คุณธีรพงษ์ สุทธิวราภิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการสภาวิชาชีพเวปมาสเตอร์ มือถือ 0-1626-9199
e-mail : uncle_piak@noknoi.com
(๑๑) คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ เลขาธิการสมาคมผู้ดูแลเวปไทย โทรศัพท์ 0-1933-2190 Email: pawoot@tarad.com
(๑๒) คุณมรกต กุลธรรมโยธิน บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) 1768 อาคาร ไทยซัมมิท ทาวเวอร์ ชั้น 10-12 และชั้น IT ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์ : 0-2257-7000 โทรสาร : 0-2257-7222
(๑๓) คุณมนวิภา เพ็ชรสุวรรณ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) โทรศัพท์ 02-5749398
(๑๔) คุณสุภาพรรณ จันทนา บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) โทรศัพท์ 02-5748779
(๑๕) คุณสุชาวดี โหมดชัย บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) โทรศัพท์ 02-5748779
(๑๖) นายวีรยุทธ ศิรามังคลานนท์ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) โทรศัพท์ 02-5749398
(๑๗) นายชนัท กลิ่นขจร บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) โทรศัพท์ 02-5749398
(๑๘) คุณจักรพันธ์ จุมพลภักดี บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด โทรศัพท์ 02-6992616 มือถือ 089-1204645
(๑๙) คุณศิรินภา สุวรรณพานิช บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด โทรศัพท์ 02-6992621 มือถือ 085-0001283
-------------------------------------------------
เครือข่ายภาคประชาชน
-------------------------------------------------
(๑) คุณศรีดา ตัณทะอธิพาณิช มูลนิธิอินเทอร์เน็ตประเทศไทย โทรศัพท์ ๐๘๙-๐๙๘-๔๓๒๑

(๒) อิทธิพล สงวนดีกุล ปรธานที่ปรึกษาเครือข่ายประธานนักเรียน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ๑๓๔๓ ถ.สุขุมวิท วัฒนา พระโขนงเหนือ กรุงเทพ ๑๐๑๑๐ โทรศัพท์ ๐๘๗-๐๐๓-๗๒๗๒
(๓) คุณวันชัย บุญประชา มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว โทรศัพท์ ๐๘๑-๕๖๗-๘๒๔๖
(๔) คุณอัญญาอร พานิชพึ่งรัถ แกนนำเครือข่ายครอบครัวอาสาเฝ้าระวังสื่อ โทรศัพท์ ๐๘๙-๘๒๒-๗๔๙๔
-------------------------------------------------
เครือข่ายภาควิชาการ
-------------------------------------------------
(๑) รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน, กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์/โทรสาร : 022182552 มือถือ 081 585 5132
(๒) รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เลขที่ ๒ ถ.พระจันทร์ พระนคร กรุงเทพ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐๒-๖๑๓-๒๑๔๘
(๓) ผส.ดร.พิรงรอง รามสูตร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน, กรุงเทพฯ 10330
(๔) อาจารย์ ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม มือถือ 01-828-6989
(๕) พญ. พรรณพิมล หล่อตระกูล สถาบันราชานุกูล เลขที่ 4737 ถนน ดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 มือถือ 01-928-8152 อีเมล: drpanpimol@yahoo.com
(๖) ศ.เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ กทช. สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ถนนพหลโยธิน กทม. 10400 ติดต่อผ่าน คุณสุดารัตน์ แก้วงาม ๐๘๕-๘๑๑-๐๔๕๔
(๗) นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
(๘) ผศ.ดร.ชนวัฒน์ ศรีสอ้าน คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.รังสิต ๕๒/๓๔๗ ถ.พหลโยธิน หลักหก เมือง ปทุมธานี ๑๒๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๒-๙๙๗-๒๒๒๒-๓๐ ต่อ ๑๖๐๑ โทรศัพท์ ๐๘๑-๖๖๖-๗๗๔๐

ไม่มีความคิดเห็น: