วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552
เขายายเที่ยง ส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน
http://www.mee-sook.com/news/25493.htm/มีสุข.คอม พื้นแห่งความสุขและการแบ่งปัน
http://www.mee-sook.com/news/25493.htm
Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
Windows Live™: Keep your life in sync. Check it out!
วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552
อ่านฟรี กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว White Ocean Strategy
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.tzuchithailand.org
From: info@dmgbooks.com
To:
Subject: อ่านฟรี กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว White Ocean Strategy
Date: Mon, 22 Jun 2009 17:26:31 +0700
กราบขออภัยอย่างสูง หากอีเมล์นี้รบกวนความเป็นส่วนตัวของท่าน
If you cannot read this mail, please click here
![]() |
ISSUE 01 : 22 JUNE 2009 (เสริฟ์ถึงจอ ทุกต้นสัปดาห์) |
![]() อ่านหนังสือดี หนึ่งประโยค เปลี่ยนความคิด หนึ่งความคิด พลิกชีวิต สร้างชาติ อิสระในการเรียนรู้ อิสระที่จะพัฒนาตนเอง อ่านหนังสือเล่มนี้ก่อนใคร คลิกที่นี่ ฟรี!!! สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี โทร. 0 2685 2254-5 อีเมล์ info @ dmgbooks.com |
Windows Live™: Keep your life in sync. Check it out!
ต้นวรเชษฐ์ วงมโหรีเครื่องเล็ก ส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน
วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552
หุ่นสาย ส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน
http://www.oknation.net/blog/kontummadha/2009/05/15/entry-2 โครงการต้นกล้าดนตรี
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.tzuchithailand.org
http://www.biz652.com
http://dbd-52.hi5.com
OpenOffice ส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน
ไวรัส, โทรจัน, เวิร์ม ส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน
เพลง ฝากฝน / http://www.oknation.net/blog/folkner/2009/06/25/entry-1
Please visit my blog.
Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://www.biz652.com
http://dbd-52.hi5.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552
บทเพลง...เพื่อเธอ เพลงนี้ก็เช่นกัน walk on พวกเขาแต่งให้กับนาง ออง ซาน ซูจี www.managerradio.com
Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
บทเพลง...เพื่อเธอ | ![]() |
![]() |
โดย นพวรรณ | 24 มิถุนายน 2552 10:55 น. |
![]() |
|
Invite your mail contacts to join your friends list with Windows Live Spaces. It's easy! Try it!
คอลัมน์ ถาม-ตอบครอบอาณาจักร
Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11431 มติชนรายวัน
คอลัมน์ ถาม-ตอบครอบอาณาจักร
โดย นายเหล็กหวาน
นกเขาคู
นกเขาใหญ่ขันคูกูจะกู้กูจะกู้ เหล่าวิหคก็เกรียวกรูกู้กันใหญ่
กูจะกู้ กูจะกู้บ้างเป็นไร ไม่ว่าใครจะกู้กูก็อาน
สูจะกู้สูจะกู้ไปทำไม นกเขาใหญ่พลันขยับเสียงขับขาน
กูจะกู้ กูจะกู้มันคืองาน ประเทศชาติจะสำราญบานตะไท
ใครจะกู้ใครจะกู้กูเป็นหนี้ หลังพากันย่ำยีหนีไปไหน
ทิ้งซากศพเกลื่อนกล่นล้นเมืองไทย เอาผีเน่าลงใส่ในโลงพัง
ส่วนส่ำสัตว์ที่กินหญ้าอยู่ป่าไพร ต่างร่ำไห้แทบด่าวดิ้นสิ้นความหวัง
กูไม่กู้กูเป็นหนี้สิน่าชัง หนักเต็มหลังพวกกูเพราะสูกู้
สูจะกู้สูจะกู้ก็จงกู้ แต่อย่าให้พวกกูหนักแทนสู
สูจงกู้ใส่บ่าสูใช่บ่ากู กูจะกู้กูจะกู้สูกู่ดู
วชิรญาโณ
ความสุขจากสัตว์
เมื่อแพนด้าจากจีนคุณ "หลินฮุ่ย" หมีอ้วนยุ้ยอุ้ยอ้ายได้ลูกขวัญ
ทุกวงการยินดีปรีดากัน พร้อมประจันข่าวใหญ่ไปทั้งกรุง
พ่อช่วงช่วง คงหวง ถ้าล่วงรู้ แม่หลินฮุ่ยชื่นชูเลี้ยงดูยุ่ง
ผู้เชี่ยวชาญแพทย์รวมร่วมบำรุง สื่อสานปรุงข่าวปลุกทุกขั้นตอน
ละเอียดยิบหยิบโชว์เริ่มโผล่ออก สื่อในนอกพรรณนาหาข่าวป้อน
ความจำเริญรูปพรรณยันกินนอน นามกรประกวดขันกันครึกโครม
กลบการเมืองเรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ ลุกลามไปทั่วทิศพิษถาโถม
ลดหวาดหวั่นพรั่นพรึงดึงเล้าโลม ช่วยชโลมใจแท้แม้ครั้งคราว
"รุ้งกินน้ำ"
การเมืองใหม่
ฉันทามติสภา พันธมิตรฯ
ต่อแนวคิดสร้างฐาน การเมืองใหม่
ห้าแกนนำก้าวย่าง อย่างมั่นใจ
ร่วมวงในวังวน กลการเมือง
นำการเมือง ภาคประชาชน
ตั้งพรรครวมพล คนเสื้อเหลือง
ปิดถนนต่อสู้ อยู่เนืองเนือง
สานต่อเนื่องทางเลือกใหม่ ให้ปวงชน
การเมืองใหม่ในฝัน ชนชั้นไหน
ตัวแทนใครยุคแบ่งสี มีเหตุผล
เบื่อการเมืองเก่าเก่า เน่าเหลือทน
จุดเริ่มต้นยังไม่สาย ได้ยินดี
รัฐประหาร การเมืองเก่า
คือรากเหง้าเผด็จการ คนมีสี
อำมาตยาฯเป็นใหญ่ ในปฐพี
วนเวียนมีควันหลง เป็นวงจร
ทุนนิยมสามานย์ เผาผลาญชาติ
อุบัติ,อุบาทว์ อุทาหรณ์
โกงกินเชิงนโยบาย หลายขั้นตอน
ปชต.ผุกร่อน อ่อนกำลัง
การเมืองเก่าเข้าก๊วน แบ่งก๊กกลุ่ม
แหล่งซ่องสุมอามิส คิดมุ่งหวัง
ตัวตนพรรคพวกเพิ่ม เสริมพลัง
ชัยชนะเลือกตั้ง ครั้งต่อไป
คนที่ถูกเรียกขาน ว่าบ้านนอก
ไร้ทางออกมืดมน แต่หนไหน
ฟ้ากำหนดล่วงหน้า จะเลือกใคร
การเมืองใหม่โปรดช่วยแก้ เกมกลโกง
จำปา พิรุณ
หน้า 4
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01soc02270652§ionid=0113&day=2009-06-27
check out the rest of the Windows Live™. More than mail–Windows Live™ goes way beyond your inbox. More than messages
วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552
คุณอยากให้ประเทศไทย มี 76 หรือ 73 จังหวัด?
Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
From: info@dmgbooks.com
To:
Subject: คุณอยากให้ประเทศไทย มี 76 หรือ 73 จังหวัด?
Date: Fri, 26 Jun 2009 23:44:16 +0700
กราบขออภัยอย่างสูง หากอีเมล์นี้รบกวนความเป็นส่วนตัวของท่าน
If you cannot read this mail, please click here
|
check out the rest of the Windows Live™. More than mail–Windows Live™ goes way beyond your inbox. More than messages
http://thawatchai.com/articles/internet/gmail_secret_part2.shtml
Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
บัตรประชาชนใบเดียวเที่ยวได้ทุกโรงพยาบาล
Please visit my blog.Thank you so much. http://www.sanamluang.bloggang.com http://tham-manamai.blogspot.com --- On Tue, 6/23/09, churdchoo ariyasriwatana <churdchoo@gmail.com> wrote:
|
Megaproject
และบัตรประชาชนใบเดียวเที่ยวได้ทุกโรงพยาบาล
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ที่ปรึกษาสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
เดี๋ยวนี้ถ้าใครไม่รู้จักคำว่า megaproject ก็คงจะเป็นคนล้าสมัยไปแล้ว ความหมายของมันตามที่ประชาชนเข้าใจก็คือโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลในการที่จะบริหารงานในกระทรวงต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งmegaproject ของรัฐบาลชุดนี้ ต่างมีความต้องการที่จะให้เป็นงบลงทุนขนาดใหญ่ในภาครัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลได้ออกพ.ร.ก. และพ.ร.บ.กู้เงินมาใช้จ่ายในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเป็นจำนวนเงิน 8แสนล้านบาท โดยจะใช้เงินกู้นี้โดยการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐบาล เพื่อให้มีการจ้างงาน และมีเงินหมุนเวียนในประเทศ
สำหรับกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ทั้งนักการเมืองและข้าราชการประจำ ต่างก็วางแผนที่จะทำโครงการใหญ่ๆ เพื่อจะส่งเสริมนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และการจะใช้จ่ายเงินมากๆ เพื่อทำโครงการใหญ่ๆให้สมกับคำว่า megaproject ก็คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการสร้างตึก เพราะนายกรัฐมนตรีเองก็ให้สัมภาษณ์ว่า ไปโรงพยาบาลต่างจังหวัดทีไร ก็พบว่าผู้ป่วยต้องนอนตามระเบียงตึก เพราะในตึกไม่มีเตียงนอนแล้ว
นอกจากสร้างตึกแล้ว ก็คงจะมีโครงการ ซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยราคาแพงแจกตามโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศ โดยส่วนกลางคือสำนักงานปลัดกระทรวงเป็นผู้วางแผนและกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ (specification หรือที่เรียกว่าสป็ก) เหมือนกันทั่วประเทศ โดยให้เหตุผลว่า การรวมกันซื้อเป็นจำนวนมากจะทำให้ได้ราคาถูก แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรงพยาบาลแต่ละแห่งต่างก็มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีได้ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต ที่มีการสั่งซื้อเครื่องตรวจหัวใจที่เรียกว่า exercise stress test ที่ให้ผู้ที่จะทดสอบวิ่งบนสายพาน และมีอุปกรณ์ที่จะประมวลผลการทำงานของหัวใจได้ว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือเปล่า แต่ผู้ที่จะแปลผลได้ก็ต้องเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ (cardiologist)ที่จะอ่านผลการทำงานของหัวใจ แต่สำนักงานปลัดกระทรวงสธ.ก็ซื้อเครื่องมือที่ว่านี้ แจกไปทั่วประเทศ โรงพยาบาลที่ไม่มีแพทย์โรคหัวใจ ก็เอาเครื่องมือพิเศษราคาแพงนี้ ไปให้ผู้ป่วยธรรมดาวิ่งออกกำลังกายเหมือนเครื่องมือนี้เป็นลู่วิ่งธรรมดาๆที่ราคาถูก คือเอาของราคาแพงไปใช้อย่างไม่คุ้มค่า เหมือนกับการซื้อรถSUV (sport utility vehicle) ไว้ขับไปจ่ายตลาดใกล้ๆบ้าน ทั้งที่รถชนิดนี้เป็นรถคันใหญ่ราคาแพง มีสมรรถนะสูง เหมาะสำหรับการบุกตลุยป่าดงพงไพรที่ต้องการความปลอดภัยป็นเยี่ยม
สำหรับโครงการ megaprojectของกระทรวงสาธารณสุขปีนี้ มีข่าวแว่วมาว่าจะมีงบประมาณ ถึง30.000 ล้านบาท
โดยมีโครงการจะสร้างตึกของโรงพยาบาลต่างๆมากมาย มีโครงการจะซื้อเครื่องช่วยหายใจทั้งหมด 1,500 เครื่องงบประมาณไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท เพื่อแจกจ่ายไปถึงโรงพยาบาลชุมชนที่ไม่มีห้องไอซียู (จึงไม่จำเป็นต้องมีเครื่องช่วยหายใจ) แต่เครื่องช่วยหายใจนั้น ต่างก็มีคุณลักษณะเฉพาะที่เหมาะสำหรับการใช้ในผู้ป่วยหลายแบบต่างๆกัน น่าจะให้แต่ละโรงพยาบาลเป็นฝ่ายกำหนดคุณลักษณะที่เหมาะสมตามความจำเป็นในการใช้งานสำหรับผู้ป่วยของแต่ละโรงพยาบาล จึงจะได้เครื่องช่วยหายใจที่มีประสิทธิภาพและใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย และโรงพยาบาลชุมชนที่ไม่มีไอซียูและไม่ได้รักษาผู้ป่วยหนัก ก็ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องช่วยหายใจไปตั้งทิ้งไว้โดยไม่ได้ใช้งาน ทำให้เสียเงินงบประมาณแผ่นดินไปโดยไม่สมควร ควรจะนำเงินเหล่านั้น ไว้ใช้ในสิ่งที่เหมาะสมกว่า
นอกจากนั้น ก็ยังจะมีโครงการที่จะสั่งซื้อวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 อีก 2 ล้านโดส ก็คงเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท การเตรียมซื้อยาต้านไวรัส เพื่อรองรับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งการเตรียมการก่อสร้างอีกมากมาย
รวมทั้งโครงการพัฒนาสถานีอนามัยอีก 1.500 แห่งให้เป็นโรงพยาบาลตำบล ที่มีการรักษาแบบทางไกล คือให้พยาบาลส่งรูปผู้ป่วยทางวีดีโอลิงค์ไปปรึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลอำเภอ เพื่อให้แพทย์ให้คำปรึกษาและแนะนำการรักษาผู้ป่วยผ่านทางวีดีโอลิงค์ ซึ่งโครงการโรงพยาบาลตำบลก็คงจะต้องใช้งบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างอีกหลายพันล้านบาท
จึงเห็นได้ว่ากระทรวงสาธารณสุข ให้ความสำคัญกับการก่อสร้าง และเครื่องมืออุปกรณ์ และเทคโนโลยีต่างๆอย่างมากมาย โดยที่อาจจะไม่เหมาะสมกับการใช้งาน หรืออาจเป็นการลงทุนสูงเกินไป แต่ได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า เรียกว่าพัฒนาแต่ hardware ทั้งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม
การพัฒนาhardware นั้นก็เป็นสิ่งจำเป็น แต่ต้องดูแลควบคุมให้มีการใช้งบประมาณเพื่อผลประโยชน์ในการพัฒนาระบบการแพทย์และสาธารณสุขอย่างเหมาะสม ใช้งานได้คุ้มค่าตรงตามสมรรถนะของhardware นั้นๆ ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์จะได้กลับคืนสู่ประชาชนที่เป็นผู้เสียภาษีใช้หนี้ที่รัฐบาลกำลังจะก่อขึ้นมาในเร็ววันนี้
แต่ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขไม่สนใจที่จะพัฒนาบุคลากรหรือที่เรียกว่า peopleware เพื่อให้บุคลากรมีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีสวัสดิการในด้านเงินเดือนและค่าตอบแทนที่เหมาะสม เมื่อเทียบกับความรู้ความสามารถของบุคลากรระดับเดียวกันในภาคเอกชน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรทำงานบริการประชาชนอย่างมีความสุข ไม่ลาออกจากการทำงานในโรงพยาบาลของรัฐบาลอย่างมากมายเหมือนในปัจจุบัน(1) จนทำให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมีไม่เพียงพอกับการบริการประชาชน จนประชาชนต้องเสียเวลารอพบแพทย์เป็นวันๆ แต่ได้พบและรับการตรวจร่างกายจากแพทย์เพียงคนละ 2 นาทีเท่านั้น(2)
รวมทั้งไม่มีโครงการใดในmegaproject ที่กล่าวถึงการพัฒนาระบบการทำงานในการดูแลรักษาประชาชนให้มีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ ประชาชนไม่เสียเวลารอคอยนาน จนแออัดยัดเยียดจนล้นโรงพยาบาลเหมือนในปัจจุบัน(3 ) ไม่มีการกล่าวถึงโครงการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถและความเชี่ยวชาญอย่างเหมาะสม มีจำนวนพอเพียงกับภาระงาน มีขวัญกำลังใจที่จะปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับการดูแลรักษาพยาบาลตามมาตรฐานที่ดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน
แต่กลับได้อ่านข่าวว่า “ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กำลังจะเปลี่ยนระบบการรักษาผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติใหม่ คือสธ.เตรียมยกเลิกบัตรทองสิ้น ก.ย.นี้ ใช้แค่บัตร ประชาชนใบเดียว โดยนายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้ จะยกเลิกการใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง มาใช้บัตรประจำตัวประชาชนบัตรเดียวเข้ารับการรักษาตามสิทธิในโรงพยาบาลทั่ว ประเทศ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินโครงการในการใช้บัตรประจำตัวประชาชนแทนบัตรทอง มาแล้ว 37 จังหวัดทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่ 30 พฤษภาคม ใน 13 จังหวัด และ 1 มิถุนายน อีก 24 จังหวัด ส่วนในเดือนตุลาคมนี้ จะนำร่องใน 8 จังหวัด ใช้บัตรประชาชนบัตรเดียวเข้ารักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ภายในจังหวัดนั้นๆ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีสิทธิประโยชน์ประกันตนที่ระบุในแต่ละโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้ให้ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ดูความพร้อมของแต่ละโรงพยาบาล และพิจารณางบประมาณก่อนดำเนินการใช้ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขเป็นกังวลในเรื่องของการเวียนเข้าโรงพยาบาลหลายๆ ครั้ง เพื่อนำยามาขายต่อ ซึ่งในเรื่องนี้ได้กำชับให้ทาง สปสช. คิดและหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก”
อ่านข่าวนี้แล้วก็เศร้าใจ เพราะนอกจากผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขจะไม่แก้ไขระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ดี มีมาตรฐาน ประชาชนไม่รอนานเพราะมีแพทย์พยาบาลเพียงพอแล้ว ผู้บริหารกระทรวงกลับจะเพิ่มความสับสนอลหม่านให้แก่โรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศ เพิ่มภาระงานแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ให้มากขึ้น จากการที่ประชาชนถือบัตรประชาชนใบเดียว(สามารถ)ไปเที่ยว(ตรวจรักษาได้)ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ!
การบริการทางการแพทย์จะย้อนกลับถอยหลังเข้าคลองไปตามเดิมก่อนพ.ศ. 2545 (ที่มีการประกาศใช้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) คือประชาชนสามารถไปพบแพทย์ที่ใดก็ได้ตามใจ แต่เมื่อก่อนพ.ศ. 2545 ประชาชนต้องจ่ายเงินเองในการไปโรงพยาบาล ประชาชนต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่ตนต้องมีภาระจ่ายเอง ประชาชนจึงอาจจะไม่ไปโรงพยาบาลซ้ำแล้วซ้ำเล่ามากนัก
แต่ปัจจุบันนี้ประชาชนที่เคยมีบัตรทองไม่ต้องจ่ายเงินของตนเองในการไปโรงพยาบาล จะไปปีละกี่ครั้งก็ไม่มีขอบเขตจำกัด ฉะนั้นประชาชน(บางคน)ก็คงจะไปพบแพทย์ซ้ำๆซากๆจนกว่าจะพอใจผลการรักษา
แพทย์พยาบาลก็คงจะต้องมีภาระงานเพิ่มมากขึ้นมากมายมหาศาลในการตรวจรักษาผู้ป่วยคนเดิมหลายๆครั้งหลายๆโรงพยาบาล
เนื่องจากการใช้บัตรประชาชนใบเดียวแล้วมีสิทธิไปรักษาได้ทุกโรงพยาบาลโดยที่แพทย์ไม่ต้องเขียนใบสรุปการรักษาเพื่อส่งผู้ป่วยต่อไปยังโรงพยาบาลอื่นนั้น จะทำให้แพทย์คนใหม่ที่ผู้ป่วยมาหาต้องตั้งต้นค้นหาสมุฏฐานของโรคใหม่อีกทุกครั้งที่ผู้ป่วยเปลี่ยนโรงพยาบาล เพราะบัตรประชาชนถึงจะสมาร์ทอย่างไร(สมาร์ทการ์ด) ก็ไม่มีชิปที่สามารถบรรจุรายละเอียดในการเจ็บป่วยและการรักษาความเจ็บป่วยครั้งก่อน ที่จะช่วยให้แพทย์คนใหม่ที่ดูแลผู้ป่วยสามารถทราบถึงสาเหตุ การรักษา และการดำเนินโรคของผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยเองก็จะเสียเวลาและเสียประโยชน์จากการรักษา ที่ไม่ต่อเนื่อง และเริ่มต้นใหม่อยู่ร่ำไป และอาจจะทำให้เกิดผลเสียหายแก่สุขภาพของผู้ป่วยเอง
การที่ผู้ป่วยสามารถถือบัตรประชาชนใบเดียวเที่ยวตระเวนไปรักษาได้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศนั้น นอกจากประชาชนจะเสียประโยชน์ดังกล่าวแล้ว แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีจำนวนน้อยก็จะต้องทำงานตรวจรักษาประชาชนคนเดิมซ้ำซากหลายครั้ง ยิ่งจะทำให้ประชาชนต้องเสียเวลาในการไปรับการตรวจรักษามากขึ้น และประเทศชาติก็จะต้องเสียเงินงบประมาณจำนวนมากมายมหาศาลในการจ่ายค่ายา ค่าการตรวจรักษาประชาชนซ้ำซ้อน
เพราะประชาชนคงไปอ้างสิทธิ์ในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเรียกร้องให้แพทย์ตรวจรักษาใหม่ได้ตลอดเวลา เพราะประชาชนไม่ต้องจ่ายค่ายา ค่าตรวจ ค่ารักษา ต้องจ่ายแต่ค่าเดินทางไปโรงพยาบาลเท่านั้น
ถ้าหากว่าแพทย์ไม่ทำการตรวจรักษาตามที่ประชาชนเรียกร้อง เนื่องจากแพทย์เห็นว่าอาการป่วยนั้นยังไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่จะต้องตรวจพิเศษตามที่เรียกร้อง ก็คงจะมี “ความขัดแย้ง”ระหว่างแพทย์และประชาชนเพิ่มขึ้นอีกมากมาย
แต่ถ้าแพทย์ยอมทำตามที่ประชาชนเรียกร้องทุกครั้ง ก็คงจะทำให้ค่าใช้จ่ายในระบบบริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้นอีกอย่างมากมายมหาศาล เนื่องจากประชาชนเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ตามอำเภอใจโดยไม่มีขอบเขตจำกัด
การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขทำเช่นนี้ ทำให้ฉุกคิดขึ้นมาว่า ท่านคงจะคิดว่าการไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาอาการเจ็บป่วยนั้น เหมือนกับการไปร้านเสริมสวย หรือการไปร้านอาหาร เมื่อทำไม่ถูกใจก็มีสิทธิเปลี่ยนใหม่ได้ตลอดเวลา โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลด้วย
แม้แต่ในต่างประเทศ ที่เป็นรัฐสวัสดิการที่ให้การดูแลรักษาประชาชน หรือที่ประชาชนต้องจ่ายเงินในการดูแลสุขภาพเองก็ตาม เช่นประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา สวีเดน ออสเตรเลีย แคนาดา ฯลฯ ประชาชนต่างก็ต้อง “มีความรับผิดชอบ” ในการไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาโรค ประชาชนต้องมีการลงทะเบียนเลือกคลินิกหรือโรงพยาบาลที่จะไปรับการตรวจรักษาเป็นประจำ ในการเจ็บป่วยเบื้องต้น โดยแพทย์ประจำคลินิกหรือโรงพยาบาลนั้นจะเป็นผู้ตรวจรักษาเบื้องต้นก่อน และถ้าแพทย์เห็นว่าจำเป็นต้องส่งผู้ป่วยไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง แพทย์ผู้นั้นก็จะเป็นผู้สรุปผลการตรวจและการรักษาเบื้องต้นที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ส่งไปกับผู้ป่วย เพื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะได้มีข้อมูลการเจ็บป่วยและการตรวจรักษาเบื้องต้นของผู้ป่วยนั้นๆ และทำการตรวจรักษาผู้ป่วยต่อไปได้เลย โดยไม่ต้องมาเริ่มต้นใหม่ซ้ำอีก
ทั้งนี้ เพราะการตรวจรักษาผู้ป่วยนั้น ข้อมูลการเจ็บป่วยเบื้องต้นและการรักษาที่ได้รับมาก่อนแล้ว จะช่วยให้แพทย์ดำเนินการตรวจรักษาโรคได้อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และถูกต้อง ทำให้แพทย์ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อนกัน ผู้ป่วยก็ไม่ต้องเสียเวลาในการเริ่มต้นตรวจรักษาใหม่ และไม่ต้องจ่ายยาซ้ำซ้อนหรือไม่ต้องเอายาไปทิ้ง เนื่องจากเปลี่ยนหมอได้ตามอำเภอใจ
วันนี้เริ่มด้วยการเขียนเกี่ยวกับ megaproject ที่ผู้บริหารกระทรวงคิดแต่จะใช้เงินซื้อ “สิ่งของและวัตถุ” แต่ไม่สนใจที่จะพัฒนาบุคลากรและระบบการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้บุคลากรมีสวัสดิการและค่าตอบแทนที่เหมาะสม มีเวลาทำงานอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน ให้ระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของประชาชน
และผู้บริหารสธ.ยังไม่สนใจจะพัฒนาประชาชนให้มี “ความสามารถในการสร้างสุขภาพและดูแลรักษาตนเองและครอบครัวเมื่อเจ็บป่วยเบื้องต้น” และยังไม่กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการใช้บริการทางการแพทย์ เพื่อที่บุคลากรทางการแพทย์จะมีภาระงานที่เหมาะสม เพื่อที่จะได้มีเวลาทำงานบริการประชาชนอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน
ทั้งนี้ถ้าผู้บริหารกระทรวงสธ.จะสนใจพัฒนา peopleware และพัฒนาระบบการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้เหมือนในต่างประเทศ ก็คงจะทำให้ระบบบริการทางการแพทย์ของประเทศไทยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด คุ้มค่าเงินงบประมาณ
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดและความปลอดภัยของประชาชน ประเทศชาติก็จะสามารถใช้เงินงบประมาณอย่างคุ้มค่า และสามารถประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพประชาชนได้มากขึ้นอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
1.อดุลย์ วิริยเวชกุล. แพทย์ไทยลาออกสนองเมดดิคอลฮับ บทบรรณาธิการ วารสารวงการแพทย์ 2551 : 265,266
2.ฉันทนา ผดุงทศและคณะ. ชั่วโมงการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2550. 16(4) : 493-502
3.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล. วารสารวงการแพทย์ 2551. 16 : 28-29
www.Linuxworld.com.au
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
Lock folder ส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน
ตกแต่งภาพสวยๆ ส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน
เพิ่มไอเท็มใน Start Menu ส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน
วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552
วันที่ 27 มิ.ย. 2552 เวลา 09.00-16.30 น.ที่ Nectec Academy ชั้น 22 อาคารมหานครยิบซั่ม ถ. ศรีอยุธยา
ขอเชิญทุกท่านร่วมงานเสวนาในเรื่อง CMS และ CSS ที่ Nectec Academy ชั้น 22 อาคารมหานครยิบซั่ม ถ. ศรีอยุธยา ซึ่งจะเป็นการพูดคุยของคนทำเว็บกลุ่มหนึ่งเกี่ยวกับ CMS และเกี่ยวกับ CSS โดยรูปแบบงานค่อนข้างเปิดกว้าง มีห้อง
บรรยายขนาดใหญ่ไว้รองรับคนได้ประมาณ 70-80 คน มีทีมกลุ่มหนึ่งพูดคุยกันบนเวที และผู้ที่เข้าร่วมงาน หากสนใจประเด็นไหนก็เสนอมาบนเวทีได้ครับ โดยทางเนคเทคได้เตรียมอาหารกลางวันให้ฟรีครับ ท่านใดที่สนใจรายละเอียด
เพิ่มเติมทั้งหัวข้อในการเสวนา และร่างกำหนดการของงาน สามารถเข้าชมได้ที่ http://www.blognone.com/node/12121 คับผม
ร่างกำหนดการ งานวันที่ 27 มิ.ย. 2552
09.00 น. - 09.30 น. ลงทะเบียน
09.30 น. - 09.45 น. เปิดงาน ชี้แจงวัตถุประสงค์ของงาน
09.45 น. - 10.30 น. ทีม JoomlaShowDown เล่าเรื่อง ธีมที่ทำเสร็จแล้ว เพื่อที่ทาง Open Source2Day
จะไปเขียนสรุป (ระหว่างนี้ทีม WordPress / Drupal ก็ทำของตัวเองต่อให้เสร็จ)
10.30 น. - 10.45 น. พักเบรค
10.45 น. - 12.00 น. ทีม Wordpress และ Drupal รวมถึง CSS/XHTML export เสาวนา ต่อในเรื่องของ
ธีม จากงาน barcamp
12.00 น. - 13.00 น. พักทานอาหาร
13.15 น. - 15.30 น. เสวนา guide line เว็บราชการ ว่าต้องมีอะไรบ้าง
15.30 น. - 15.45 น. เบรค
15.45 น. - 16.30 น. สอบถาม ปรึกษาพูดคุยกันระหว่างผู้ร่วมงานกับทีมที่ทำ ธีม
13.15 น. - 16.00 น. สมาชิก JUG ผลักเปลี่ยนกัน present
"โสภณ"จัดเสวนาชี้ชะตารถเมล์ 4 พันคัน วันที่ 29 มิ.ย. 2552
"โสภณ"จัดเสวนาชี้ชะตารถเมล์ 4 พันคัน
เสียงส่วนใหญ่ค้านพร้อมยกเลิกโครงการ "มาร์ค"เปรยยังมีทางมากกว่าเช่าหรือซื้อ
"โสภณ"จัดเสวนาชี้ชะตา โครงการเช่ารถเมล์ 4 พันคัน วันที่ 29 มิ.ย. หากเสียงส่วนใหญ่ไม่เอา พร้อมยกธง "อภิสิทธิ์"แย้มก่อนไปจีน ยังมีทางเลือกอื่น ไม่แค่เช่าหรือซื้อ ทั้งให้สัมปทาน ตั้งบริษัทลูก บริษัทรูปแบบพิเศษ "สุจินดา"บุกคมนาคมขอเวลาอีกปี แปลงโฉมรถมินิบัส
วันที่ 24 มิถุนายน นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 29 มิถุนายน กระทรวงคมนาคมจะจัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง "รถเมล์....อนาคตของคนกรุง" เพื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และความจำเป็นในการปรับปรุงการบริหารจัดการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยการเสวนาจะหยิบยกประเด็นโครงการเช่ารถเมล์ 4,000 คัน ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) มาพูดคุยรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจในการเดินหน้าโครงการ
"หากส่วนใหญ่บอกว่าไม่เอาโครงการนี้ ผมก็ไม่เอา แต่ต้องเป็นเสียงส่วนใหญ่นะ ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยแค่ 3 คน แล้วมาบอกว่าให้ล้มโครงการ มันไม่ได้ ผมต้องการให้คนกรุงเทพฯมีรถเมล์ใหม่ใช้ อยากให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของกระทรวงคมนาคม"
วันเดียวกัน นางสุจินดา เชิดชัย ในฐานะประธานตัวแทนผู้ประกอบการรถมินิบัส นำทีมผู้ประกอบการรถมินิบัสกว่า 30 คน ไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อยื่นหนังสือต่อนายโสภณ เรียกร้องให้กระทรวงยกเลิกระเบียบและประกาศ ขสมก. ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการดำเนินการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ใหม่เป็นก๊าซเอ็นจีวี และปรับปรุงสภาพรถ สีรถใหม่ รวมถึงต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ที่ทุนจดทะเบียนต้องไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ภายใน 2 ปี ภายในวันที่ 16 สิงหาคมนี้ ไม่เช่นนั้นจะยกเลิกสัญญาสัมปทานทันที
นางสุจินดากล่าวว่า หากกระทรวงยกเลิกระเบียบดังกล่าว ผู้ประกอบการพร้อมจะเปลี่ยนสภาพรถเป็นคันใหม่ แต่จะขอเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคมนี้ แต่จะยังคงเครื่องดีเซลต่อไป "ที่ต้องขอให้ยกเลิกระเบียบดังกล่าว เพราะเห็นเป็นการเพิ่มภาระกับผู้ประกอบการสูงมาก"
นายโอภาส เพชรมุณี รักษาการผู้อำนวยการ ขสมก. กล่าวว่า ผู้ประกอบการรถมินิบัสต้องทำหนังสือและแผนดำเนินการอย่างเป็นทางการ หากจะขอเลื่อนระยะเวลาการปรับเปลี่ยนรถใหม่ เพราะ ขสมก.ไม่สามารถแบกรับภาระค่าเสียหาย ค่าประกันของผู้ประกอบการได้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
วันเดียวกัน นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) ได้เดินทางไปทำเนียบเพื่อยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และเดินทางไปยัง สศช.เพื่อยื่นหนังสือเดียวกัน เพื่อตั้งคำถามใน 4 ประเด็น คือ 1.กระทรวงคมนาคมได้รายงานข้อมูลเรื่องราคาค่าเช่ารถ ซึ่งภาคเอกชนเสนอเพียง 2,500 บาท/คัน/วัน ให้ ครม.รับทราบหรือไม่ เพราะองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เสนอราคาเช่าที่ 4,623 บาท/คัน/วัน 2. การเปลี่ยนเส้นทางเดินรถ ยังไม่ได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนและผู้ประกอบการ 3.และ 4.ขสมก. สั่งให้รถร่วมบริการเปลี่ยนไปใช้ก๊าซเอ็นจีวี และเรียกเก็บค่าตอบแทนจากผู้ประกอบการรถร่วมในอัตราใหม่ 100 บาท/วัน จากเดิม 35 บาท/วัน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้ อาจทำให้ผู้ประกอบการต้องหยุดให้บริการ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางเยือนประเทศจีน ถึงกรณีคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ด สศช.) ขอขยายเวลาศึกษาโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน ของ ขสมก.อีก 1 เดือน ว่ายังไม่มีการขอขยายเวลามาอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม การขยายเวลานั้นก็ไม่นานเกินไป แต่ถ้าทำได้เร็วก็ยิ่งดี และไม่มองว่าเป็นการซื้อเวลา สำหรับการศึกษาครั้งนี้มีการเสนอเพิ่มเติมอีก 2-3 วิธีที่ไม่เฉพาะการเช่าหรือซื้อเท่านั้น เช่น การสัมปทาน การตั้งบริษัทลูก การตั้งบริษัทในรูปแบบพิเศษต่างๆ
หน้า 17
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01eco01250652§ionid=0103&day=2009-06-25
Invite your mail contacts to join your friends list with Windows Live Spaces. It's easy! Try it!
"เสกสรรค์"ให้เพิ่มพื้นที่ภาคปชช. "บัญญัติ"ชี้ภัย"พาณิชยาธิปไตย"
"เสกสรรค์"ให้เพิ่มพื้นที่ภาคปชช. "บัญญัติ"ชี้ภัย"พาณิชยาธิปไตย"
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ มูลนิธิตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ จัดสัมมนาวิชาการหัวข้อ "70 ปีสยามเป็นไทย-ย้อนเวลาสู่อนาคต 24 มิถุนายน-2552" ในช่วงเช้า นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มธ. และอดีตผู้นำนักศึกษา 14 ตุลา 2516 ปาถกฐานำเรื่อง "พัฒนาการของรัฐชาติกับความขัดแย้งภายในของชาวสยาม" แนะนำให้เปิดพื้นที่การเมืองภาคประชาชนให้มากขึ้นกว่าเดิม และหยุดใช้ความขัดแย้งมาเป็นเครื่องมือในการรวมศูนย์อำนาจ
ภาคบ่ายเสวนาหัวข้อ "การเมืองสยามประเทศไทย เราสยามจะไปทางไหน" นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า การรัฐประหารในปี 2549 ไม่ได้ถอยหลังชั่วคราวเพื่อก้าวสู่ประชาธิปไตยแต่อย่างใด ภายในระยะเวลา 3 ปีครึ่ง การเมืองถอยหลังแบบต่อเนื่อง กล่าวได้ว่า 70 ปีประชาธิปไตยไทยทำให้เกิดการเมืองที่ไม่สมดุล ไม่มีพลวัฒน์ มีแต่คำถามว่าจะเลือกตั้งเมื่อไหร่ ยุบสภาเมื่อไหร่ เมื่อการเมืองไม่ลงตัวจึงเป็นอุปสรรคต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ไทยจึงอยู่ในสภาวะวิกฤตที่ไม่สามารถแก้ได้ ทุกฝ่ายต้องช่วยกันคิดว่าทำอย่างไรจะก้าวผ่านไปโดยไม่เกิดความขัดแย้งจนนำไปสู่ความรุนแรง
นายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า 10 ปีที่ผ่านมาเป็นการเมืองภายใต้ยุค "พาณิชยาธิปไตย" เป็นประชาธิปไตยที่มุ่งกำไรสูงสุด มีพ่อค้าพาณิชย์ นักธุรกิจ หลั่งไหลเข้าสู่วงการทางการเมือง คนพวกนี้ส่วนหนึ่งเข้ามาแล้วยังรู้สึกตัวเป็นนักธุรกิจ ใช้กลไกรัฐเอื้อประโยชน์ตัวเองและมุ่งกำไรสูงสุด ทำให้การคอร์รัปชั่นเพิ่มขึ้นจากเดิม 3-5% เป็น 20% มีการเรียกเก็บเบี้ยบ้ายรายทาง มีค่านิยมใหม่เกิดขึ้นว่า "โกงได้แต่ขอให้มีผลงาน" ตรงนี้ทำให้ประชาธิปไตยไม่น่าไว้วางใจและไม่มีประสิทธิภาพ หากไม่ระงับยับยั้งก็คงแย่
ศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การคอร์รัปชั่นถือว่าเป็นตัวหนึ่งที่ทำลายประชาธิปไตย แต่ตัวการสำคัญที่ทำลายการเมืองอย่างแท้จริง คือ การรัฐประหาร การแก้ปัญหาทางการเมืองโดยการใช้รัฐประหารนั้นถือเป็นข้ออ้างเท่านั้น
หน้า 14
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01eco01250652§ionid=0103&day=2009-06-25
See all the ways you can stay connected to friends and family
วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552
แผนธุรกิจ (Business Plan)
แผนธุรกิจ
(Business Plan)
ส่วนที่ 1 สรุปความเป็นมาของธุรกิจ
สรุปความเป็นมาของธุรกิจ
1. ชื่อเจ้าของกิจการ..........................................................................................................................................
ชื่อกิจการ(ถ้ามี)....................................................................................ปีที่ก่อตั้งกิจการ...............................
2. ที่ตั้งของสถานที่ประกอบการ.......................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
3. ประเภทสินค้าหรือบริการ.............................................................................................................................
ตราสินค้า (Branding)...................................................................................................................................
4. ระยะเวลาการก่อตั้ง
ดำเนินธุรกิจมาแล้วมากกว่า 5 ปี ดำเนินธุรกิจมาแล้ว 3-5 ปี
ดำเนินธุรกิจมาแล้วไม่เกิน 1-3 ปี ดำเนินธุรกิจมาแล้วไม่เกิน 1 ปี
5. ลักษณะโครงการ
ขยายกิจการ ปรับปรุงกิจการ
ประวัติและประสบการณ์ผู้บริหาร
ชื่อ-นามสกุล........................................................................................................อายุ....................................ปี
ตำแหน่ง............................................................................................................................................................
ระดับการศึกษา และสถาบัน.............................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
ประวัติการทำงาน จากอดีตถึงปัจจุบัน..............................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
1. ตำแหน่ง...............................................สถานที่ทำงาน...........................................ระยะเวลา....................ปี
2. ตำแหน่ง...............................................สถานที่ทำงาน...........................................ระยะเวลา....................ปี
ประสบการณ์ทางธุรกิจของผู้บริหาร1. .....................................................................................................................................................................
2. .....................................................................................................................................................................
ส่วนที่ 2 แผนธุรกิจ
แนวคิดหรือความเป็นมาของกิจการ (มูลเหตุจูง หรือแรงบันดาลใจ ที่ทำให้ประกอบธุรกิจ หรือขยายกิจการ)
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis)
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ส่วนที่ 4 แผนการตลาด
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ส่วนที่ 5 ประมาณการรายรับและรายจ่ายในการประกอบการรายเดือน (Cash Flow)
|
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
http://www.biz652.com/index.php?modules=item&data=list&board_id=1&data=list
Subject: http://www.biz652.com/index.php?modules=item&data=list&board_id=1&data=list
Date: Thu, 25 Jun 2009 01:09:13 +1200
http://www.biz652.com/index.php?modules=item&data=list&board_id=1&data=list
Windows Live™: Keep your life in sync. Check it out!
What can you do with the new Windows Live? Find out
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552
เสภาตอน "ขึ้นเรือนขุนช้าง" โดย ครูแจ้ง คล้ายสีทอง... /
วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ฉก.กรมทหารราบที่25 กับตม.ระนอง จับเรือหางยาวขนพม่า 100 ลำต่อคืนหวังรอขึ้นทะเบียน 1ก.ค. คาดซ่อนตัวทั้งเก่า,ใหม่ 7 แสน ถึง 1ล้านคนทั่วประเทศ
ร่วมกันจับกุมเรือหางยาวซึ่งเดินทางข้ามฟากจาก จ.เกาะสองประเทศพม่าจำนวน 3 ลำ บริเวณร่องน้ำไทยหน้าบ้านสามแหลม หมู่ 3 ต.ปากน้ำ อ.เมืองระนอง พร้อมคนต่างด้าวลักลอบหนีเข้าเมืองจำนวน 30 คน แยกเป็นลำที่ 1 จำนวน 11 คน ลำที่ 2 จำนวน 8 คน และลำที่ 3 จำนวน 11 คน
ร.อ.เฉลิมพล เทโหปการ ผบ.ร้อย ร.2521 ค่ายเทพสตรี เปิดเผยว่า ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันออกระดมกวาดล้าง ปราบปรามสกัดกั้นการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของคนต่างด้าวตามแนวชายแดนทางทะเลด้านจ.ระนอง-เกาะสอง ซึ่งขณะนี้พบว่ามีการทะลักเข้ามาของแรงงานต่างด้าวผิดกฏหมายจำนวนมากเพื่อเข้ามาแฝงตัวรอขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ที่ประเทศไทยจะเปิดอนุญาตให้แรงงานผิดกฎหมายขึ้นทะเบียนได้ วันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ส่งผลให้ช่วงนี้มีแรงงานต่างด้าวทะลักเข้ามาเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน
"เมื่อหน่วยกำลังตรวจมาถึงจุดเกิดเหตุพบเรือหางยาวจำนวน 3 ลำมาจาก จังหวัดเกาะสอง มุ่งหน้า จังหวัดระนอง ท่าทางมีพิรุธ เนื่องจากไม่ใช่ช่องทางอนุญาตจึงแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานแจ้งความประสงค์ขอตรวจสอบ พบผู้ต้องหาในลำเรือที่ 1 จำนวน 11 คน นอนราบอยู่กับท้องเรือ พบไม่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางมาแสดงแต่ประการใด ลำที่สองพบคนต่างด้าวจำนวน 8 คน นอนราบอยู่กับท้องเรือ และไม่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางมาแสดงต่อ จนท.แต่อย่างใด เช่นเดียวกับเรือลำที่ 3 พบคนต่างด้าวจำนวน 11 คน นอนราบอยู่กับท้องเรือ และไม่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่"
จึงควบคุมตัวมาตรวจสอบโดยละเอียดที่ด่าน ตม.ระนอง ทราบว่าทั้งหมดเป็นคนต่างด้าวชาวพม่า เข้ามายังจ.ระนองเพื่อเข้ามาหางานในจ.ระนอง และจังหวัดชั้นใน จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาคนขับเรือที่ 1, 2, 3 ฐานความผิดร่วมกันนำหรือพา หรือให้การช่วยเหลือด้วยประการใดๆ ให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจกรโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตจริง ส่วนผู้ถูกจับกุมที่เหลือแจ้งข้อหาเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตจริง จึงบันทึกจับกุมตัวผู้ถูกจับพร้อมของกลางส่ง พงส.สภ.ปากน้ำ ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
แหล่งข่าวจากหน่วยงานความมั่นคงในเขตพื้นที่จ.ระนอง เปิดเผยว่า จากมติคณะรัฐมนตรีที่มีมติเปิดให้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายทั่วประเทศขึ้นทะเบียนแรงงานได้ในวันที่ 1 ก.ค.- 31 ก.ค. 2552 นี้ ในเขตพื้นที่ 30 จังหวัดทั่วประเทศที่มีการอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเข้าไปทำงาน ทราบว่าขณะนี้ได้มีแรงงานต่างด้าวที่ทราบข่าว รวมถึงนายจ้างทั้งเก่าและใหม่ที่ต้องอาศัยแรงงานต่างด้าว และยังขาดแคลนได้นำพาแรงงานต่างด้าวเข้ามาหลบซ่อนอยู่เป็นจำนวนมากคาดไม่น่าจะต่ำกว่า 700,000-1,000,000 คนทั่วประเทศ
สำหรับแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ซึ่งส่วนหนึ่งหวังจะอาศัยช่วงจังหวะที่รัฐบาลเปิดขึ้นทะเบียนแรงงานจะได้มีโอกาสขึ้นทะเบียนและได้ใบอนุญาตทำงาน ทำให้ขณะนี้ขบวนการนำพาแรงงานต่างด้าวมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมีการลักลอบขนแรงงานต่างด้าวเข้าไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน โดยเฉพาะ จ.ระนองที่มีแนวพรมแดนติดกับประเทศพม่าเป็นอาณาเขตยาวถึง 169 กม.ซึ่งเอื้อต่อการเดินทางหลบหนีเข้ามายังจ.ระนอง ซึ่งคาดว่าจะมีไม่ต่ำกว่า 100 ลำเรือต่อวัน โดยการเดินทางจะใช้เวลาในช่วงกลางคืนเป็นส่วนใหญ่ซึ่งจะสะดวกและง่ายต่อการหลบหลีกด่าน และการตรวจตราของ จนท. โดยจะมีเครือข่ายแก๊งค้ามนุษย์ฝั่งไทยรอให้การช่วยเหลือ พร้อมเคลียร์เส้นทางเพื่อขนส่งไปยังจังหวัดต่างๆ
นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เปิดเผยว่าจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ เห็นชอบแนวทางการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ต่อใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวที่หมดอายุให้แล้วเสร็จในช่วงระหว่างวันที่ 1-30 มิ.ย. 2552 นี้นั้น ส่วนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายจะเริ่มดำเนินการได้ในเดือนกรกฏาคม แต่ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียด วิธีการ รูปแบบ จำนวนที่จะอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนแรงงาน
ขณะนี้ทางสำนักงานจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งประชาสัมพันธ์ให้นายจ้าง เจ้าของสถานประกอบการทราบ เพื่อจะได้นำแรงงานต่างด้าวไปต่อใบอนุญาต และทำทะเบียนประวัติให้แล้วเสร็จตามที่กำหนดไว้ ทั้งนี้โดยจะเร่งให้ผู้ประกอบการเร่งนำแรงงานต่างด้าวออกมาดำเนินการให้แล้วเสร็จไม่ให้มีปัญหาเช่นที่ผ่านมาที่ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะนำแรงงานต่างด้าวมาในวันที่ใกล้หมดเวลาตามประกาศ จนเกิดปัญหาและต้องยืดระยะเวลาการต่อใบอนุญาต
พร้อมกันนี้ได้มีการประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวเพื่อให้มีการกวดขัน เข้มงวดการผ่านแดน การเดินทางเข้าออกของแรงงานต่างด้าวในช่วงนี้ เพราะกลัวจะมีแรงงานต่างด้าวอาศัยจังหวะช่วงรอยต่อใบอนุญาต เข้ามาสวมรอยหรือขอขึ้นทะเบียนเพิ่ม
นายวันชาติ กล่าวว่า การแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวมีข้อจำกัดหลายประการ ที่สำคัญคือความสลับซับซ้อนของขั้นตอน แนวทาง และวิธีการ เนื่องจากมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึง 22 หน่วยงาน ดังนั้นแต่ละปัญหาที่เกิดขึ้นจึงยากที่จะแก้ไขโดยเฉพาะวิกฤติขาดแคลนแรงงาน รวมถึงปัญหาการทะลักเข้ามาของแรงงานผิดกฏหมายมากมายในขณะนี้
จากการสำรวจข้อมูลล่าสุดของจังหวัดระนองเมื่อปลายปี 2550 ที่ผ่านมาพบว่าปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดระนองจำนวน 64,000 คน ในขณะที่ความต้องการใช้แรงงานภายในจังหวัดจำนวน 50,003 คน แต่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้จ้างได้เพียงจำนวน 17,809 คน ยังขาดแคลนอีกเป็นจำนวนมาก
นายกฤษณะ เอี่ยมวงษ์นที ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง กล่าวว่าตนเห็นด้วยและสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการที่จะให้จังหวัด หรืออนุกรรมการแรงงานระดับจังหวัดมีอำนาจในการดำเนินการแก้ไขเรื่องแรงงานต่างด้าว เพราะการดำเนินการของส่วนกลางล่าช้ามาก ตนรอมากว่า 10 ปีแล้วยังไม่เห็นแนวทางการแก้ปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าวคืบหน้าแต่อย่างใด ซ้ำยังทำให้ปัญหาหมักหมมจนกลายเป็นวิกฤติปัญหาเช่นทุกวันนี้