วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2552

ประเทศไทย: ตัดสินจำคุกสิบปีข้อหาหมิ่นพระบรมฯทางออนไลน์

6 เมษายน 2552
---------------------------------------------------------------------
ประเทศไทย: ตัดสินจำคุกสิบปีข้อหาหมิ่นพระบรมฯทางออนไลน์
ประเด็น: เสรีภาพในการแสดงความเห็น; การเซนเซอร์; การบริหารจัดการความยุติธรรม
---------------------------------------------------------------------
เรียนทุกท่าน,
คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission -AHRC) ขอประณามการตัดสินจำคุกผู้ใช้อินเตอร์เนทรายหนึ่งในประเทศไทย ในข้อหาโพสท์รูปภาพ ที่ถือว่า เป็นการหมิ่นประมาทพระบรมวงศานุวงศ์ เราขอให้รายละเอียดเกี่ยวกับคดีนี้ และขอให้ท่านประท้วงการใช้กฎหมายรุนแรงเช่นนี้ ทั้งกฎหมายเก่าและกฎหมายใหม่ เพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็น
รายละเอียด:
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552 ศาลอาญาในกรุงเทพฯ ได้ตัดสินจำคุกนายสุวิชา ท่าค้อ วัย 34 ปี เป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากเขาโพสท์ภาพที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการละเมิดพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงพระมหากษัตริย์ และ               รัชทายาท ทางอินเตอร์เนท เมื่อปี 2551 เขาถูกตัดสินว่ากระทำผิดข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และใช้คอมพิวเตอร์ไปในทางที่ผิด ตามกฎหมายการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่กำหนดบทลงโทษไว้รุนแรง ที่ร่างโดยฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากเผด็จการทหารเมื่อปี 2550 เขาถูกตัดสินว่า กระทำผิดสองกระทง และต้องโทษกระทงละ 10 ปี แต่ได้รับการลดหย่อนโทษกึ่งหนึ่ง เนื่องจากรับสารภาพ
ตำรวจจับนายสุวิชา เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 ในบ้านของเขาที่จังหวัดนครพนม และนำตัวขึ้นเครื่องบินมากรุงเทพฯ เขาต้องอยู่ในคุกตั้งแต่นั้นมา เนื่องจากศาลปฏิเสธการประกันตัวถึงสองครั้ง
สุวิชาทำงานเป็นวิศวกรของบริษัทน้ำมันข้ามชาติ  หลังจากที่เขาถูกจับ เขาก็ถูกให้ออกจากงานโดยไม่ได้รับค่าชดเชย เขามีลูกสามคน ภรรยา และพ่อ ที่เขาหาเลี้ยงอยู่
ข้อมูลเพิ่มเติม:
การตัดสินจำคุกสุวิชามาพร้อมๆ กับคดีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และข้อกล่าวหาตามพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ที่มีข้อความคลุมเครือเป็นอย่างยิ่ง อีกหลายคดีในช่วงนี้ คดีเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่ งของแนวโน้ม ที่ถอยห่างออกจากสิทธิมนุษยชน และกระบวนการเป็นประชาธิปไตยของประเทศไทย ซึ่งเริ่มตั้งแต่ในช่วงรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่มีการรัฐประหารเมื่อปี 2549 และดำเนินสืบมาภายใต้รัฐบาลปัจจุบัน ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แถลงการณ์ AHRC เรื่องการเข้าค้นสำนักข่าวอิสระประชาไท และการจับกุมผู้ดูแลเวป (AHRC-STM-051-2009, AHRC-STM-054-2009) เรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (AHRC-STM-028-2009) และแถลงการณ์ของศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชีย ที่เสนอต่อสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ว่าด้วยการเป็นรัฐแห่งความมั่นคงภายในในประเทศไทย (ALRC-CWS-10-04-2009) นอกจากนี้ โปรดดูบทความใน UPI Asia ว่าด้วยกฎหมายการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
สำหรับประเด็นสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยในปัจจุบัน ดู 2008 country report ของ AHRC
แนะนำให้ปฏิบัติการ:
กรุณาเขียนจดหมายไปยังบุคคลต่อไปนี้ เพื่อประท้วงการจำคุกสุวิชา และการใช้กฎหมายที่มีบทลงโทษรุนแรงอย่างกฎหมายหมิ่ นพระบรมเดชานุภาพ และกฎหมายที่ควบคุมการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อพยายามจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในประเทศไทย
AHRC เองได้จัดทำจดหมายอีกฉบับหนึ่ง เพื่อเสนอต่อผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ ว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงความเห็น และสำนักข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเรียกร้องให้มีการดำเนินการเกี่ยวกับคดีนี้โดยเร็ว
กรุณาคลิ๊กที่นี่เพื่อสนับสนุนข้อร้องเรียนนี้: 
ตัวอย่างจดหมาย:
เรียน ___________,
ประเทศไทย: ขอเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวผู้ที่ถูกตัดสินจำคุกสิบปี ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ผู้ถูกกักขัง: สุวิชา ท่าค้อ อายุ 34 ปี วิศวกรเครื่องจักร สมรสแล้ว มีบุตร 3 คน
ถูกตัดสินที่: ศาลอาญา กรุงเทพฯ
ถูกตัดสินตามกฎหมาย: ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และมาตรา 33, 83, 91 และมาตรา 8 และ 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550, และพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14(2) และ 16(1)
ตัดสินเมื่อ: 3 เมษายน 2552
คำตัดสิน: จำคุก 20 ปี แต่จำเลยรับสารภาพ จึงลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 10 ปี
ข้าพเจ้าขอประท้วงการตัดสินจำคุก สุวิชา ท่าค้อ ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และขอเรียกร้องให้ปล่อยตัวเขาโดยทันที และให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญาในประเทศไทย เพื่อที่จะยุติการละเมิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของพลเมืองและผู้อยู่อาศัยในประเทศไทย
มีการรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552 ศาลอาญาในกรุงเทพฯ ได้ตัดสินจำคุก นายสุวิชา ท่าค้อ เป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากเขาโพสท์ภาพที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นการละเมิดพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงพระมหากษัตริย์ และรัชทายาท ทางอินเตอร์เนท เมื่อปี 2551 เขาถูกตัดสินว่า กระทำผิดข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และใช้คอมพิวเตอร์ไปในทางที่ผิด ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ระบุข้ างต้น เขาถูกตัดสินว่า กระทำผิดสองกระทง และต้องโทษกระทงละ 10 ปี แต่ได้รับการลดหย่อนโทษกึ่งหนึ่งเนื่องจากรับสารภาพ
ข้าพเจ้ายังได้ทราบด้วยว่า หลังจากที่ตำรวจจับนายสุวิชา เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 ที่บ้านของเขาในจังหวัดนครพนม และนำตัวขึ้นเครื่องบินมากรุงเทพฯ เขาต้องอยู่ในคุกตั้งแต่นั้นมา เนื่องจากศาลปฏิเสธการประกันตัวถึงสองครั้ง
ประเทศไทยเริ่มมีชื่อเสียในช่วงไม่นานมานี้ จากการตั้งข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและข้อกล่าวหาภายใต้พระราชบัญญัติ การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กับบุคคลที่เพียงใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของตน แม้นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันจะอ้างว่า มีความกังวลเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความเห็น และสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย กรณีของสุวิชาก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ของแนวโน้มที่เป็นไปในทางตรงกันข้ามกับการกล่าวอ้างนั้น ข้าพเจ้ายังมีความกังวลเกี่ยวกับกรณีการเข้าค้นสำนักงานของสำนักข่าวอิสระประชาไท และการจับกุม น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเวปไซท์ประชาไท เมื่อเร็วๆนี้ด้วย
ข้าพเจ้าขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทย ดำเนินมาตรการต่างๆเพื่อปล่อย สุวิชา ท่าค้อ โดยไม่ล่าช้า ข้าพเจ้ายังขอเรียกร้องให้มีการถอนข้อกล่าวหาใดๆที่มีต่อ จีรนุช เปรมชัยพร นอกจากนั้น ข้าพเจ้ายังขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ที่ตนมีต่อสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามที่นายกรัฐมนตรีกล่าวอ้าง โดยการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา และยกเลิกกฎหมายการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ (ซึ่งออกมาโดยฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากการแต่งตั้งของรัฐบาลทหาร ไม่ใช่รัฐบาลที่เป็นตัวแทนมาจากการเลือกตั้งของประชาชนไทย) เพื่อที่จะได้ไม่มีคดีเช่นนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต และเพื่อที่ชื่อเสียงด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยจะได้ไม่เสื่อมถอยลงยิ่งกว่านี้
ข้าพเจ้าคาดหวังว่าจะมีการดำเนินการในเรื่องเหล่านี้โดยเร็ว
ขอแสดงความนับถือ
------------------------------
โปรดส่งจดหมายร้องเรียนไปที่:
1. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล
ถ.พิษณุโลก  เขตดุสิต
กรุงเทพฯ 10300
โทรสาร: 02 288 4000 ต่อ 4025
โทรศัพท์: 02 288 4000
E-mail: spokesman@thaigov.go.th หรือ abhisit@abhisit.org
2. นายพีรพันธ์ สาลีรัฐวิภาค
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
ชั้น 22 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค
ถ.แจ้งวัฒนะ
ปากเกร็ด  จ.นนทบุรี 11120
โทรสาร: 02 502 6699/ 6734 / 6884
โทรศัพท์: 02 502 6776/ 8223
E-mail: om@moj.go.th
3. นายกษิต ภิรมย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
442 ถ.ศรีอยุธยา
กรุงเทพฯ 10400
โทรสาร: 02 643 5318
โทรศัพท์: 02 643 5333
E-mail: om@mof.go.th
4. นายชัยเกษม นิติสิริ
อัยการสูงสุด
สำนักงานอัยการสูงสุด
อาคารหลักเมือง ถ.หน้าหับเผย
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
กรุงเทพน 10200
โทรสาร: 02 224 0162/ 1448/ 221 0858
โทรศัพท์: 02 224 1563/ 222 8121-30
E-mail: ag@ago.go.th หรือ oag@ago.go.th
5. ศ.เสน่ห์ จามริก
ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
อาคารบี ชั้น 6-7
120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ
แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
กรุงเทพฯ 10210
โทรสาร: 02 143 9576
โทรศัพท์: 02 141 3800, 02 141 3900
E-mail: interhr@nhrc.or.th หรือ saneh@nhrc.or.th
6. ประธาน
คณะอนุกรรมการกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
อาคารบี ชั้น 6-7
120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ
แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
กรุงเทพฯ 10210
โทรสาร: 02 143 9576
โทรศัพท์: 02 141 3800, 02 141 3900
E-mail: interhr@nhrc.or.th
ขอบคุณ
โครงการร้องเรียนเร่งด่วน
คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (ua@ahrc.asia



---------------------------------------------------
To unsubscribe from this list visit this link
To update your preferences visit this link
------------------------------ ---------------------


Asian Human Rights Commission
19/F, Go-Up Commercial Building,
998 Canton Road, Kowloon, Hongkong S.A.R.
Tel: +(852) - 2698-6339 Fax: +(852) - 2698-6367




Rediscover Hotmail®: Now available on your iPhone or BlackBerry Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น: